พุดตาน

พุดตาน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 6,740

[16.4258401, 99.2157273, พุดตาน]

พุดตาน ชื่อสามัญ Cotton rose, Cotton rose hibiscus, Confederate rose, Confederate rose mallow, Dixie rosemallow, Changeable Rose, Changeable rose mallow, Rose of Sharon

พุดตาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus mutabilis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

สมุนไพรพุดตาน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ดอกสามสี สามผิว (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของพุดตาน

  • ต้นพุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ 
  • ใบพุดตาน มีใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปไข่โคนรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเว้าลึกมีแฉก 3-5 แฉก แผ่นใบสีเขียวค่อนข้างหนา ผิวใบมีขนสาก ๆ ใบกว้างประมาณ 9-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร 
  • ดอกพุดตาน มีดอกซ้อนใหญ่สวยงาม ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง เมื่อดอกบานช่วงแรกจะเป็นสีเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดง มีริ้วประดับอยู่ 7-10 อัน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขน ที่กลีบดอกมีทั้งแบบชั้นเดียวและแบบซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวัน โดยในตอนเช้าจะเป็นสีขาว พอกลางวันจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู และตอนเย็นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มหรือสีแดงเข้ม (ดูภาพประกอบในด้านล่างบทความ) ดอกมียอดเกสรตัวเมียสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกพุดตานสามารถออกดอกได้ตลอดปี ในดอกพุดตานจะมีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) โดยสารชนิดนี้จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกเมื่อดอกบาน โดยสีแดงจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ในช่วงที่ดอกมีสีแดงเข้ม โดยจะมีปริมาณเป็น 3 เท่าของตอนที่ดอกยังเป็นสีชมพู
  • ผลพุดตาน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไต มีขนยาว 

โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ใบ (ใบสดหรือใบตากแห้ง), ดอก (เก็บดอกได้ตอนเริ่มบานเต็มที่), ราก (ใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ โดยสามารถเก็บได้ตลอด)

สรรพคุณของพุดตาน

  1. ดอกพุดตานมีรสฉุนและสุขุม สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ อาเจียนเป็นเลือด มีระดูขาว (ดอก)
  2. รากช่วยแก้อาการไอหอบ มีระดูขาว (ราก)
  3. ใบช่วยแก้อาการตาแดงบวม (ใบ)
  4. ใช้เป็นยารักษาคางทูม ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 ใบ นำมาบดให้ละเอียดแล้วเติมไข่ขาวลงไปผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น แล้วนำมาพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม หรืออีกวิธีจะใช้ดอกพุดตานแห้งก็ได้ โดยใช้ประมาณ 3-12 กรัม และใบสดประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการ หรือจะใช้ทาภายนอกด้วยการนำมาบดเป็นผงผสมหรือใช้แบบสด ๆ นำมาตำแล้วพอกก็ได้ (ใบ, ดอก)
  5. ใช้เป็นยารักษาแก้งูสวัด โดยใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 4-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำซาวข้าวลงไป แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ หรืออีกวิธีก็คือการใช้รากพุดตานสดนำมาตำแล้วพอก หรือจะนำรากแห้งมาบดให้เป็นผงผสมแล้วใช้พอกก็ได้ (ใบ, ราก)
  6. รากนำมาต้มน้ำกินหรือนำมาฝนใช้ทา ใช้เป็นยารักษาโรคผื่นคันตามผิวหนัง อาการปวดแสบปวดร้อนตามร่างกาย และรักษาอาการประดงได้ (ราก)
  7. รากพุดตานช่วยแก้ฝีบวม ฝีฝักบัว ฝีหัวแก่ได้ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดินแก้อาการ (ราก)
  8. ช่วยแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้น ด้วยการใช้ก้านและใบสดปริมาณพอสมควรนำมาต้มเอาน้ำ ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น (ใบ)
  9. ใบและดอกพุดตานใช้เป็นยาถอนพิษ แก้พิษบวม รักษาแผลมีหนอง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเข้ากับน้ำมันพืช แล้วนำมาใช้ทาบริเวณแผล หรือจะใช้ใบแห้งผสมกับน้ำผึ้งแล้วใช้ทาแทนก็ได้ (ใบ, ดอก)
  10. ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยต่าง ๆ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)
  11. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยเอว ด้วยการใช้รากสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาหั่นเป็นฝอยผสมรวมกับกระดูกหางหมู แล้วใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่า ๆ กันในปริมาณพอสมควร แล้วนำมาตุ๋นกิน (ราก)
  12. ช่วยรักษาแผลฟกช้ำ แผลที่เกิดจากการหกล้มหรือถูกกระทบกระแทก ด้วยการใช้รากสดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่า ๆ กันในปริมาณพอควรแล้วนำมาต้มกิน และใช้ก้านใบนำมาตำพอก (ราก, ก้านใบ)
  13. ใบสดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Micrococcus pyogenes var. aureus, Escherichia coli ได้เช่นเดียวกับต้นหมอน้อย (Murraya koregiyn) (ใบ)
  14. สารสกัดจากก้านและใบสดใช้เป็นยาชาที่ผิวและเป็นยาชาเฉพาะที่ในการผ่าตัดเล็กและใหญ่ได้ โดยไม่มีผลข้างเคียงในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด (ใบ) (ข้อมูลจากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน)

ประโยชน์ของพุดตาน

  • ดอกพุดตานมีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ซึ่งเป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • ต้นพุดตานสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน หรือใช้ปลูกบังกำแพง หรือในที่ที่มีทิวทัศน์ไม่สวยงาม หรือเหมาะสำหรับปลูกในสวนไทย
  • ผงบดละเอียดของเปลือกและรากใช้เป็นแป้งผัดหน้าของคนตั้งแต่เหนือจรดใต้แหลมมลายู
  • รากและลำต้นมีเนื้อไม้สีเหลืองแข็ง ลายละเอียด สามารถใช้ตกแต่งทำเป็นด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างสวยงาม ส่วนก้านสามารถนำมาใช้ทำความสะอาดฟันได้

คำสำคัญ : พุดตาน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดตาน. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1756&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1756&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ส้มเช้า

ส้มเช้า

ส้มเช้าเป็นพืชที่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีขนาดของต้นเตี้ยและเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูงได้ไม่เกิน 1.5 เมตร ชนิดนี้ต้นหรือปลายต้นมักมีรูปร่างแปลก หงิกคล้ายดอกหงอนไก่ เป็นชนิดที่มีใบน้อย นิยมนำมาปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับ ส่วนอีกชนิดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 5 เมตร ออกใบมากกว่าชนิดแรก

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 5,440

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,746

จุกโรหินี

จุกโรหินี

ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,570

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,460

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,441

แสลงใจ

แสลงใจ

ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,429

มหาหงส์

มหาหงส์

ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,633

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 16,672

โสก

โสก

ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,091

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,002