ผักกาดนอ

ผักกาดนอ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 1,996

[16.4258401, 99.2157273, ผักกาดนอ]

ผักกาดนอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rorippa indica (L.) Hiern (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nasturtium montanum Wall. ex Hook. f. & Thomson, Rorippa montana (Wall. ex Hook. f. & Thomson) Small) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
สมุนไพรผักกาดนอ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักกาดนก ผักกาดน้ำ ผักกาดน้ำดอกเหลือง (ไทย), เหล็กเต่าเช่า (จีนแต้จิ๋ว), ซกไก้ช่าย ลู่โต้วเฉ่า ฮั่นช่าย (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของผักกาดนอ
        ต้นผักกาดนอ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ 1 ปี สูงได้ประมาณ 25-60 เซนติเมตร ลำต้นอ่อนไหว เกลี้ยงไม่มีขน ตามกิ่งก้านเป็นเหลี่ยมสีเขียวอมม่วงแดง พบขึ้นได้ทั่วไปตามข้างทาง พื้นที่ชายขอบป่า และบริเวณใกล้ริมลำธาร
       ใบผักกาดนอ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบที่โคนต้นมีก้านใบมน ไม่มีก้านใบ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรี รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยัก ไม่สม่ำเสมอ ส่วนบริเวณยอดต้นขอบใบจะเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-12 เซนติเมตร
       ดอกผักกาดนอ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลีบดอก 4 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน
       ผลผักกาดนอ ผลออกเป็นฝักบริเวณยอดต้น ลักษณะของฝักเป็นรูปกลมยาว มีขนาดยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด

สรรพคุณของผักกาดนอ
1. ทั้งต้นมีรสขมเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
2. ตำรับยาแก้ร้อนใน ไข้หวัดตัวร้อน จะใช้ผักกาดนอ 35 กรัม และน้ำนมราชสีห์ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)
3. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไอร้อนในปอด ด้วยการใช้ต้นผักกาดนอสด 70 กรัม และกวยแฉะ 10 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)
4. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบ หลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
5. ใช้เป็นยารักษาปากลิ้นเปื่อย เป็นแผลมีฝ้า (ทั้งต้น)
6. ใช้เป็นยาขับลมชื้น (ทั้งต้น)
7. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ด้วยการใช้ต้นสด 70 กรัม นำมาต้มใส่น้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย รับประทานเป็นยา (ทั้งต้น)
8. ช่วยแก้ตับอักเสบ ดีซ่าน บวมน้ำ (ทั้งต้น)
9. ใช้เป็นยาแก้ไขข้ออักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)
10. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฝีหนอง (ทั้งต้น)

ขนาดและวิธีใช้
       การใช้ตาม [1] ยาแห้งใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้านำมาใช้ภายนอกให้กะปริมาณตามความเหมาะสม

ข้อควรระวัง
       ไม่ควรนำผักกาดนอมาผสมเข้ายากับคนทีสอ เพราะจะทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้มีอาการมือเท้าและแขนขาชาได้ ส่วนคนที่ธาตุไฟอ่อน ตัวเย็น เลือดเย็น ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักกาดนอ
1. ในต้นพบสาร Rorifone ส่วนในเมล็ดพบน้ำมัน เป็นต้น
2. น้ำต้มที่ได้จากผักกาดนอ มีฤทธิ์ละลายเสมหะของกระต่ายที่ทดลองได้ แต่ไม่มีผลแก้ไอและไม่มีผลต่อคน ถ้าหากจะให้ได้ผลดี ต้องให้คนรับประทานวันละ 200-300
    มิลลิกรัม ติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน จึงจะเห็นผลในการแก้ไอและขับเสมหะได้ดี
3. สารที่สกัดได้จากผักกาดนอ สามารถยับยั้งเชื้อในหลอดทดลองได้หลายชนิด เช่น เชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัด เชื้อ Columbacillus ของลำไส้ และเชื้อ Staphelo coccus,
    Steptro coccus กับเชื้อ Coccus ในปอดที่ทำให้ปอดอักเสบได้ด้วย

ประโยชน์ของผักกาดนอ
     ยอดอ่อนนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร

คำสำคัญ : ผักกาดนอ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกาดนอ. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1668&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1668&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเขือดง

มะเขือดง

ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,603

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,856

ผกากรอง

ผกากรอง

ผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อนและภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 10,355

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,421

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน

ต้นตะขาบหิน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามพื้นที่ป่าทั่วไป โดยจะกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,663

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 1,876

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,322

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง

ถั่วลิสง (Peanut, Groundnut, Monkeynut, Arachis) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือและอีสานเรียก ถั่วดิน ส่วนประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเรียก ถั่วคุด เป็นต้น ซึ่งถั่วลิสงนั้นจัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทางทวีปอเมริกาใต้ มีทั้งสายพันธุ์ป่าซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 ชนิดด้วยกัน และสายพันธุ์สำหรับปลูกซึ่งจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวเรียกว่า Hypogaea โดยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,626

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,555

มะนาวผี

มะนาวผี

มะนาวผี มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-3 เมตร และอาจมีความสูงของต้นได้ถึง 6 เมตร ลักษณะของลำต้นและกิ่งค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นตื้นๆ ตามยาวของลำต้น มีหนามยาวหนึ่งอันตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,153