จันทนา

จันทนา

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 3,210

[16.4258401, 99.2157273, จันทนา]

จันทนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna hoaensis Pit. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรจันทนา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า จันทน์ขาวจันทน์ตะเบี้ยจันทน์ตะเนี้ย (ภาคตะวันออก, เขมร), จันทน์หอม (ระยอง), จันทนา จันทน์ใบเล็ก (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ทนา เป็นต้น

ลักษณะของจันทนา
       ต้นจันทนา
 จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงของจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-400 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ชอบดินร่วนซุยและทนแล้งได้ดี
       ใบจันทนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 24 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม
,        
ดอกจันทนา ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกประมาณ 8-12 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายจะแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายกลีบม้วนลง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองติดอยู่ข้างในผนังหลอด
        ผลจันทนา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี สีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ พอแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนประมาณ 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของจันทนา
1. แก่นช่วยรักษาโรคเลือดลม (แก่น) หรือจะใช้แก่นจันทนาผสมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยา ซึ่งประกอบไปด้วย แก่นจันทนา แก่นจันทน์แดง กระดูกหมาดำ งาช้าง รากชะอม รากชุมเห็ดเทศ
    รากผักหวานบ้าน รากมะกอกเผือก รากมะกอกฟานซ้อม รากมะลืมดำ รากมะลืมแดง รากหญ้าขัด และหัวถั่วพู โดยนำมาฝนกับน้ำข้าวเจ้า ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคเลือดลม แต่ถ้า
    เป็นมากจนตัวแดงหรือแดงเป็นลูกตำลึงสุกก็ให้นำมาทาด้วย (แก่น)
2. ช่วยบำรุงเลือดลม (แก่น)
3. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (แก่น)
4. แก่นหรือเนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยบำรุงประสาท (แก่น) ช่วยทำให้เกิดปัญญาและราศี (แก่น)
5. ช่วยบำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว (แก่น)
6. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์ (แก่น)
7. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (แก่น)
8. ช่วยบำรุงตับและปอด (แก่น)
9. ช่วยแก้ปอด ตับ และดีพิการ (แก่น)
10. ช่วยแก้ลม (แก่น)
11. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้ (แก่น) แก้ไข้ร้อน แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี แก้ไข้กำเดา (แก่น)
12. ช่วยแก้อาการเหงื่อตกหนัก (แก่น)
13. ชวยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (แก่น)
14. ช่วยขับพยาธิ (แก่น)
15. ช่วยบำรุงผิวหนัง บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น (แก่น)
16. จันทนาจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเบญจโลธิกะ" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา),
      แก่นจันทน์แดง, แก่นจันทน์ชะมด, ต้นเนระพูสีไทย, และต้นมหาสะดำ โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน ช่วยกล่อมพิษทั้งปวง (แก่น)
17. จันทนาจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดจันทน์ทั้งห้า" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์เทศ และ
      แก่นจันทน์ชะมด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น)
18. จันทนาจัดอยู่ในรับยาพระโอสถนารายณ์ คือตำรับยา "มโหสถธิจันทน์" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรจันทน์ทั้งสอง ได้แก่ จันทน์แดงและจันทน์ขาว (เข้าใจว่าคือแก่น
      จันทนา) ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีก 13 ชนิด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อน หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของ
      แก่นหรือเนื้อไม้)
19. จันทนายังปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) คือ ตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่น
      จันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับยาอีก โดยตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (ไม่ระบุ
      ส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่นหรือเนื้อไม้)
20. จันทนายังปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาจันทน์ลีลา" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับยา โดยเป็นตำรับยาที่ช่วย
      บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของจันทนา
สารสกัดของแก่นจันทนาด้วยแอลกอฮอล์ไม่เป็นพิษต่อหนูในความเข้มข้น 10 กรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว

ประโยชน์ของจันทนา
1. แก่นของจันทนาสามารถนำมาใช้ในการทำมาทำเป็นธูปหอมได้
2. เนื้อไม้หรือแก่นใช้บดหรือฝนผสมกับน้ำ นำไปปรุงแต่งเป็นเครื่องหอมได้

คำสำคัญ : จันทนา

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จันทนา. สืบค้น 30 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1594&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1594&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ

ข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,350

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,666

บุก

บุก

บุก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุหลาย ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,862

ขจร

ขจร

ต้นขจร หรือ ต้นสลิด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,201

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 14,400

บอนส้ม

บอนส้ม

บอนส้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นตามที่ชื้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบบอนส้ม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ประมาณ 60 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,115

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,386

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,456

เห็ด

เห็ด

หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 14,157

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,512