ตำนานพระร่วง

ตำนานพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 15,006

[16.6617782, 99.5870909, ตำนานพระร่วง]

        คำว่าตำนานหมายถึงเรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลังหรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมาไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น
        เรื่องของตำนานถ้าศึกษากันให้ลึกซึ้งจริงจังแล้ว ตำนานหาใช่เพียงปรัมปราคติที่ไร้สาระไม่ หากแต่เป็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยข้อมูลเบื้องต้นของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นหลักฐานเบื้องต้นที่มีคุณค่ามีความหมายเป็นผลผลิตทางประวัติศาสตร์ และเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชนกลุ่มหนึ่ง การศึกษาตำนานจะมีประโยชน์ต่อการสืบค้นหาต้นเค้าทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและทำให้เกิดความภูมิใจในประวัติความเป็นมาและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น
        ถนนพระร่วงเป็นเส้นทางหรือถนนที่สร้างขึ้นเชื่อมระหว่างกำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงสมัยนั้น เป็นเส้นทางโบราณที่ทอดยาวจากแม่น้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร ผ่านเมืองต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร เมืองเพชร (คีรีมาศ) ในจังหวัดสุโขทัยและต่อไปจนจรดลำน้ำน่านที่เมืองศรีสัชนาลัยรวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร ตลอดสองข้างทางถนนพระร่วง จะมีทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นพร้อมทั้งเรื่องราวตำนานต่าง ๆ ที่ได้รับฟังจากคำบอกเล่าของชาวบ้านทั้งสองฝั่งถนน
        ในวันที่ 2 เมษายน 2545 เวลา 09.00 น. คณะสำรวจอันประกอบด้วยว่าที่ร้อยตรีพิทยา คำเด่นงาม อดีตนักโบราณคดี 8 วิทยากรพิเศษและหัวหน้าคณะนายสันติ อภัยราช อาจารย์ 3 ระดับ 8 รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด หัวหน้าคณะวิจัยสำรวจ พร้อมด้วยคณะสำรวจทั้งหมดได้มาประชุมร่วมกันวางแผนการสำรวจเส้นทางถนนพระร่วง ณ ที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และหลังจากที่ได้รับประทานอาหารกลางวันเสร็จเรียบร้อยจึงได้เริ่มออกเดินทางจากประตูสพานโคมไปตามถนนสายกำแพงเพชรสุโขทัยไปทางวัดอาวาสน้อย ผ่านสถานีวิทยุ อสมท. บ่อสามแสนและเลี้ยวขาวเข้าถนนข้างโรงเรียนบ่อสามแสนเดินไปตามทางถนนพระร่วงและในที่สุดพวกคณะสำรวจก็ได้เดินทางมาถึงบริเวณที่เรียกว่าจรเข้ปูน ข้าพเจ้าจึงนึกถึงเรื่องตำนานของจรเข้ปูนขึ้นมาได้ จึงได้เล่าให้เพื่อน ๆ คณะสำรวจฟังดังนี้

ตำนานเมืองพลับพลา
        กล่าวกันว่าบริเวณเมืองพลับพลานี้ครั้งหนึ่งได้มีผู้เดินทางไปตามถนนพระร่วงเช่นเดียวกับคณะสำรวจชุดนี้นั่นแหละ ได้พบกับชีปะขาวผู้หนึ่งยืนอยู่บริเวณนั้น ชาวบ้านเข้าไปถามก็ไม่ยอมพูดด้วย แม้จะซักถามหลายครั้งหลายครา ชาวบ้านผู้นั้นจึงได้นำเรื่องไปบอกพระยาพานซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางพานในสมัยนั้น พระยาพานจึงได้เดินทางตามแนวถนนพระร่วงมาหาชีปะขาวด้วยตนเอง ชีปะขาวจึงยอมพูดว่าอยากจะเข้าเฝ้าพระเจ้าศรีธรรมาโศก เจ้าเมืองกำแพงเพชร เพราะมีข่าวที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชรที่จะทูลให้ทราบ พระยาพานจึงรีบไปเข้าเฝ้าพระเจ้าศรีธรรมโศกเพื่อบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้น พระเจ้าศรีธรรมโศกจึงมีรับสั่งให้ปลูกพลับพลาขึ้นที่กลางป่าริมถนนพระร่วงที่ชีปะขาวยืนอยู่นั้น แล้วจึงเสด็จออกไปเชิญชีปะขาวผู้นั้นขึ้นมาบนพลับพลา และถามว่าเป็นผู้ใด และมีข่าวสำคัญอะไรมาบอก ชีปะขาวบอกว่าตนคือองค์อมรินทร์ทราธิราช การที่มานี้มีข่าวมาบอกเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชรจะเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยกันอย่างหนัก ให้รีบสร้างเทวรูปพระเป็นเจ้าทั้ง 3 อันได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ขึ้นประดิษฐานไว้ที่อันควร เมื่อกล่าวจบชีปะขาวก็อันตรธานหายไปทันที พระเจ้าศรีธรรมาโศกพอรู้ว่าองค์สมเด็จพระอมรินทราธิราชได้จำแลงพระองค์ลงมาบอกข่าวสำคัญเช่นนั้น ก็รีบเสด็จกลับเข้าไปในเมืองกำแพงเพชรและทำตามที่ชีปะขาวบอกไว้ทุกประการ
        ต่อมาเมื่อเกิดเจ็บไข้ขึ้นจริง ๆ ดังคำทำนาย จึงได้ใช้น้ำมนต์สรงเทวรูปเป็นยารักษาโรคได้ ส่วนตำบลที่ปลูกพลับพลาก็เลยถูกเรียกว่าเมืองพลับพลาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ขณะที่เล่าเรื่องนี้พวกเราในคณะสำรวจยังไม่สามารถตั้งสมมติฐานได้ว่าเมืองพลับพลามีจริงหรือไม่และอยู่ตรงไหนกันแน่ เพราะไม่มีหลักฐานใด ๆ ปรากฏเลย ส่วนพระเจ้าทั้ง 3 ที่พระเจ้าศรีธรรมโศกสร้างไว้ปัจจุบันเหลือเพียงพระอิศวรเท่านั้น
คณะสำรวจได้เดินเท้าสำรวจบนเส้นทางถนนพระร่วงต่อไป โดยเข้าสู่บ้านดงขวัญ ลัดเลาะไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านวังพาน ตลอดเส้นทางจะพบเห็นซากวัตถุโบราณต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ และจากการที่ได้พูดคุยกับชาวบ้านไปเรื่อย ๆ จึงได้ทราบตำนานเกี่ยวกับพระร่วงโดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับการที่พระร่วงใช้อิทธิฤทธิ์สร้างถนนพระร่วงและการวิ่งเล่นว่าวของพระร่วงในหมู่บ้านต่าง ๆ หลายแห่งมีลักษณะเรื่องราวคล้าย ๆ กัน ต่างกันแต่ละสถานที่เท่านั้น จึงยกยอดไปเล่าเสียที่เดียวเลยก็คืออำเภอพรานกระต่าย ๆ
        สำหรับหมู่บ้านวังพานนี้ คณะสำรวจได้เดินทางบนถนนลูกรังที่สมบูรณ์ดีมาก เพราะเส้นทางถนนพระร่วงบางแห่งจะทับกับเส้นทางถนนสายที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งเป็นลูกรัง เป็นเส้นทางคมนาคมของชาวบ้าน โดยเส้นทางจะผ่านเขานางพันและมีแยกไปเขานางทองไปทับกับถนนเส้นพรานกระต่ายวังพาน ส่วนทางเขานางพันจะผ่านหมู่บ้านวังพาน บ้านวังพานเก่า ไล่คดเคี้ยวมาทางเหนือ จรดถนนสายพรานกระต่ายเขา คีรีส เรื่อยมาจนถึงวัดพรานกระต่ายใต้ซึ่งปัจจุบันไม่มีวัดแล้ว ผ่านไปจนเกือบถึงวัดไตรภูมิ และวัดพรานกระต่ายเหนือ (วัดเค่าและร้างไปแล้ว) ในที่สุดบนเส้นทางถนนพระร่วงช่วงนี้มีสถานที่สำคัญหลายแห่งที่ประกอบกันเป็นตำนานเล่าสืบทอดกันมาเช่นบริเวณเขานางทอง (ปัจจุบันเป็นวัดชื่อวัดเขานางทองมีพระจำพรรษาอยู่จำนวนหนึ่ง) นางทองนี้เชื่อกันว่าเป็นชื่อมเหสีของพระร่วง ตามตำนานเล่าว่านางทองนี้ถูกพระยานาคกลืนเข้าไป พระร่วงตามมาถึงที่เขานี้ได้ล้วงนางทองออกมาจากพระยานาค แล้วเลยได้นางทองเป็นมเหสี  บนเขานางทองจะมีร่องรอยเจดีย์เก่า ๆ และรอยพระพุทธบาท แต่ปัจจุบันไม่เหลือแล้วเพราะในอดีตชาวบ้านไม่รู้เอาศิลาพระพุทธบาทที่กระเทาะออกมาเป็นส่วน ๆ มาทำหินลับมีดบ้าง อย่างอื่น ๆ บ้าง แต่บางส่วนทางพิพิธภัณฑ์ได้นำมาเก็บไว้ นอกจากนี้ก็ยังมีถ้ำ ในอดีตมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก แต่ปัจจุบันไม่เหลือแล้ว เป็นอาหารของชาวบ้านสูญพันธุ์ไปหมด ปากถ้ำก็ชำรุดหินพังทับลงมา เขาเล่ากันว่าใต้ดินบริเวณนั้นมีพระนอนองค์เท่ากับพระนอนจักรศรี จังหวัดสุโขทัย และคนปั้นเป็นคน ๆ เดียวกันโดยปั้นองค์นี้ก่อนแล้วเลยไปปั้นที่จังหวัดสิงห์บุรี บริเวณบนเขานางทองยังมีที่อีกแห่งเรียกที่ตากผ้าอ้อม บริเวณนั้นจะไม่มีต้นไม้หรือหญ้าขึ้นเลย เป็นหินศิลาแลง เขาเล่าว่ามเหสีพระร่วงคือนางทองใช้บริเวณนี้ตากผ้าอ้อม
จากเขานางทองคณะสำรวจก็เดินเท้ามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเขาอีลูกหนึ่งชื่อเขานางพันเชื่อกันว่านางพันเป็นชื่อสนมหรือเมียน้อยของพระร่วง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพรานทองศิริมงคล มีพระจำพรรษาอยู่เช่นกันมีศาลาวัดอยู่บนยอดเขาส่วนหมู่บ้านที่เรียกกันว่าบ้านวังพานเก่า บริเวณนี้ชาวบ้านเล่าว่าเป็นวังเก่ามีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ บริเวณนี้จะเป็นวัดเก่าเป็นวัดร้าง ซึ่งปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์ได้มากั้นเขตไว้เป็นที่สาธารณะบริเวณนี้จะมีซากอิฐเก่า ๆ ชาวบ้านเคยไถนาแล้วได้พระเรียกว่าพระอู่ทอง ซึ่งคาดว่าเป็นพิมพ์สมัยทวาราวดี นอกจากนี้ก็ยังเคยได้พระวังพานเป็นต้น ภายในบริเวณวังเก่าจะมีอ่างเก็บนี้หรือบึงใหญ่ที่เคยเล่าว่าเป็นที่อยู่ของพญาจรเข้ใหญ่ที่เคยมาคาบเอานางทองไป (ดูตำนานจรเข้ปูน) จากวังพานการเดินทางของคณะสำรวจค่อนข้างสบายขึ้นเพราะแนวถนนพระร่วงชัดเจน และบางช่วงก็เป็นถนนที่ชาวบ้านช่วยเดินทางติดต่อกันอยู่แล้ว ช่วงนี้จะผ่านมาทางตำบลเขาคีรีส จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมจึงชื่อเขาคีรีสก็ได้คำตอบจากชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นดังนี้ และในที่สุดคณะสำรวจก็เข้าสู่อำเภอพรานกระต่าย ซึ่งผู้เขียนคุ้นเคยดีเพราะเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่โรงเรียนพานกระต่ายพิทยาคมมานานพอควร จึงรู้ถึงตำนานถ้ำกระต่ายทองหรืออาจจะเรียกตำนานพรานกระต่ายก็ได้ จึงได้นำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้

ตำนานพรานกระต่าย
        พรานกระต่ายเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ภาคเหนือของจังหวัด มีฐานะเป็นอำเภอมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยได้รับจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี 2438 เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของจังหวัดกำแพงเพชรมีมณฑลนครเป็นหน่วยปกครองส่วนภูมิภาคอีกชั้นหนึ่ง ชื่ออำเภอ “พรานกระต่าย” มีประวัติความเป็นมาเป็นตำนานเล่าขนานกันมาหลายชั่วคนดังนี้
ประมาณปี พ.ศ. 1420 พรานกระต่ายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพานมีมหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบันทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองพานนั้นเจริญรุ่งเรืองมา เพราะตั้งอยู่ในในที่ราบลำน้ำใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชรไปสู่ที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมเมืองใหญ่และเป็นแหล่งนี้อันอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง ปัจจุบันมีเมืองเก่าแก่ทรุดโทรมอยู่ในป่ารกเป็นคันเมือง คูเมือง (วัดเก่าหลายแห่ง) หมู่บ้านในอดีตยังเป็นหมู่บ้านในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น วัดโคก บ้านวังไม้พาน และบ้านจำปีจำปา เป็นต้น สัญลักษณ์แห่งความเจริญสูงสุดก็คือการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองสัมฤทธิ์ไว้ที่วัดนางทองบนเขานางทองใกล้เมืองพาน? ชื่อ? “นางทอง” เป็นชื่อของพระมเหสีพระร่วง มีถนนจากสุโขทัยผ่านอำเภอพรานกระต่ายไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า “ถนนพระร่วง”
        กล่าวกันว่าในปี พ.ศ. 1800 เศษ พระร่วงครองสุโขทัย ทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางและมั่นคง จึงดำริที่จะสร้างเมืองหน้าด่านขึ้นทุกทิศซึ่งได้รับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่าออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดี กลุ่มนายพรานจึงได้กระจายกันออกสำรวจเส้นทางต่าง ๆ จนกระทั่งมาถึงบริเวณแห่งนี้ได้พบกระต่ายป่าขนสีเหลืองเปล่งปลั่งด้วยทองสวยงามมาก นายพรานจึงกราบถวายบังคมทูลขอราชอนุญาตจากพระร่วงเจ้าไปติดตามจับกระต่ายขนสีทองตัวนี้มาถวายเป็นราชบรรณาการถวายแด่พระมเหสีพระร่วง นายพรานจึงกลับไปติดตามกระต่ายป่าตัวสำคัญ ณ บริเวณที่เดิมที่พบกระต่ายได้ใช้ความพยายามดักจับหลายครั้ง แต่กระต่ายตัวนั้นก็สามารถหลบหนีไปได้ทุกครั้ง นายพรานมีความมุมานะที่จะจับให้ได้จึงไปชักชวนเพื่อนฝูงนายพรานด้วยกันมาช่วยกันจับแต่ยังไม่ได้จึงอพยพลูกหลานพี่น้อง และกลุ่มเพื่อนฝูงต่าง ๆ มาสร้างบ้านถาวรขึ้นเพื่อผลที่จะจับกระต่ายขนสีทองให้ได้ กระต่ายก็หลบหนีเข้าไปในถ้ำ ซึ่งหน้าถ้ำมีขนาดเล็กนายพรานเข้าไปไม่ได้แม้พยายามหาทางเข้าเท่าไรก็ไม่พบจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นหน้าถ้ำเพื่อเฝ้าคอยจับกระต่ายขนสีทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งต่อมาหมู่บ้านได้ขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงได้เรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านพรานกระต่าย” และเป็นชื่ออำเภอในเวลาต่อมา
ในปัจจุบันถ้ำที่กระต่ายขนสีทองหนีเข้าไปซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำกระต่ายทอง” ได้รับการบูรณะใหม่เพื่อทำให้เป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นและประชาชนก็เห็นความสำคัญของสถานที่นี้จึงได้ช่วยกันดูแลรักษาตกแต่งบริเวณให้สะอาดเพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญสำหรับหมู่บ้านสมกับเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญอำเภอพรานกระต่ายที่ว่า  “เอกลักษณ์ภาษาถิ่น หินอ่อนเมืองพาน ตำนานกระต่ายทอง เห็นโคนดองรสดี”

ตำนานพระร่วง
        โครงการร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจเส้นทางถนนพระร่วงกำแพงเพชร – สุโขทัยสำรวจตลอดระยะเวลา 5 วัน ( วันที่ 2 – 6 เมษายน ) ในการเดินทางสำรวจเส้นทาง นอกจากผู้เขียนจะได้รับทราบเกี่ยวกับแนวเส้นทางของถนนพระร่วงจากการบอกเล่าของชาวบ้านหแล้วได้ทราบตำนานต่างๆ ของพระร่วงอีกพอสมควร จะได้กล่าวดังต่อไปนี้
        กล่าวกันว่าพระยาอภัยคามณีเจ้าเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูนปัจจุบัน) ได้ไปจำศิลบนเขาหลวงในขณะเดียวกันก็ได้มีนางนาคตนหนึ่งซึ่งจำแลงตัวเป็นมนุษย์ ได้มาเที่ยวเล่นบนเขาหลวง (ปัจจุบันมีปล่องนางนาคอยู่) เกิดสมัครรักใคร่ ได้อภิรมย์สมรสอยู่ด้วยกันนานถึง 7 วัน จึงได้แยกจากกัน นางนาคได้กลับไปเมืองบาดาลและเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา เมื่อจวนจะคลอดลูกเห็นว่า ถ้าคลอดลูกในเมืองบาดาลทารกต้องตาย เพราะมีเชื้อมนุษย์ปนอยู่ จึงได้ขึ้นมายังเขาหลวงอีกครั้ง แล้วคลอดลูกเป็นชายทิ้งไว้ในถ้ำใหญ่บนเขาหลวง พร้อมด้วยแหวนและผ้าห่มของที่พระยาอภัยคามณีประทานให้นางนาคไว้ ต่อมามีตายายคู่หนึ่งซึ่งเป็นพรานป่า ได้ไปพบทารกนั้นและได้พามาเลี้ยงไว้ โดยตายายได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า “พระร่วง” เกิดอัศจรรย์ที่ตัวเด็กอย่างมามาย โดยเฉพาะในด้านวาจาสิทธิ์ พูดคำไหนจะเป็นดังเช่นคำพูดนั้น ตายายกลัวเด็กจะเหงาจึงได้นำเอาไม้ทองหลางมาแกะสลักเป็นตุ๊กตา ตั้งชื่อว่า “พระลือ” ให้เล่นเป็นเพื่อนพระร่วง และด้วยวาจาสิทธิ์ของพระร่วง ตุ๊กตาก็เกิดมีชีวิต ตายายเลยเลี้ยงไว้ทั้งคู่เป็นเพื่อนเล่นกัน จากการที่เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ ปรากฏที่ตัวเด็กชายร่วงอย่างผู้มีบุญ ความทราบถึงพระยาอภัยคามณี จึงตรัสเรียกไปทอดพระเนตร เมื่อทราบเรื่องจากสองตายายที่ไปพบและทอดพระเนตรเห็นชองที่อยู่กับตัวเด็ก ก็ทราบว่าเป็นราชบุตรที่เกิดด้วยนางนาค จึงประทานนามว่า “อรุณกุมาร” ส่วนกระลือให้ชื่อว่า “ฤทธิ์กุมาร” ทั้งสองเติบโตมาด้วยกันและเมื่องเข้าวัยหนุ่มพระยาอภัยคามณีจึงสู่ขอราชธิดาเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยให้อภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร และได้ครองเมืองศรีสัชนาลัยและกรุงสุโขทัยในเวลาต่อมา ส่วนพระลือก็ได้สมรสกับราชธิดาพระยาเชียงใหม่และได้ครองเมืองเชียงใหม่เช่นเดียวกันกับพระร่วง ทั้งสองอาณาเขตมีเจ้าเมืองเป็นพี่น้องกัน บ้านเมืองก็เป็นพันธมิตรสืบต่อกันมา กล่าวกันว่าอรุณกุมารหรือพระร่วงเป็นเชื้อมนุษย์กับพญานาคระคนกัน จึงมี อิทธิฤทธิ์กล่าวเป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย

ตำนานพระร่วงเล่นว่าว
        พวกเราได้เดินเข้าไปตามเส้นทางถนนพระร่วงได้พบปะกับชาวบ้านหลาย ๆ ท่านได้เล่าถึงพระร่วงซึ่งเป็นผู้สร้างถนนสายนี้ว่า พระร่วงได้ใช้เท้าเกลี่ยดินเพียงสามครั้งเท่านั้นก็ได้ถนนสายนี้ขึ้นมา พระร่วงเป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการเล่นว่าวมาก ตลอดเส้นทางบนถนนสายนี้ชาวบ้านได้เล่าถึงการเล่นว่าวของพระร่วงคล้าย ๆ กันในหลาย ๆ หมู่บ้านที่คณะสำรวจเดินผ่าน จะต่างกันก็เพียงสถานที่ที่พระองค์เล่นว่าวเท่านั้น ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างที่อำเภอพรานกระต่ายก็แล้วกัน ในช่วงที่พระร่วงได้ครองราชอยู่ที่กรุงสุโขทัยวันหนึ่งพระองค์คิดถึง นางทองผู้เป็นมเหสีอยู่ที่เมืองพาน จึงได้เสด็จมาหาซึ่งในตอนนั้นนางทองเริ่มตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยากทานมะดัน (ผลไม้ชนิดหนึ่ง) พระร่วงจึงเสด็จไปหามะดันเพื่อนำมาให้ มเหสีรับประทานในระหว่างทางนึกสนุกอยากเล่นว่าวขึ้นมาขณะนั้นเดินทางมาถึงวัดโพธิ์ (วัดเก่าอยู่ใกล้ ๆ วัดไตรภูมิในปัจจุบัน) จึงได้ไปเอาเชือกเพื่อมาเล่นว่าวและได้แช่ปอที่หนองกะโพ (โผล่) พอปอเหนียวดีแล้วจึงได้ออกวิ่งเล่นว่าววิ่งไปสะดุดเขาสว่างล้มลงบริเวณใกล้ ๆ โรงพยาบาลพรานกระต่ายในปัจจุบันบริเวณที่ล้มกลายเป็นหนองน้ำ 2 แห่ง จากนั้นได้เก็บดอกโสนที่หนองโสนเข็ม รู้สึกเหนียวตัว เลยวักน้ำล้างที่หนองกระหำขึ้นไปเก็บดอกซ่าเหล้ากลายเป็นหนองซ่าเหล้าแล้ววิ่งว่าวเรื่อยมาหยุดนั่งเล่นว่าวที่หนองหินบริเวณนั้นยังมีรอยหินที่พระร่วงนั่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หัวหินกอง” และจากการที่พระร่วงวิ่งมาไกลพอสมควรจึงเหนื่อยได้เข้าไปขอน้ำชาวบ้านแถว ๆ หนองหัววัวบริเวณนั้นกันดาลน้ำมากประกอบกับไม่รู้ว่าเป็นพระร่วงจึงไม่ยอมให้น้ำ แต่ให้โยนน้ำในบ่อเอง พระร่วงจึงเอาปอเชือกว่าวมาโพงน้ำแต่ไม่ได้จึงโกรธมากกระทืบเท้าสามทีบริเวณตาน้ำจนตาน้ำตันไปหมดและสาปไม่ใช้มีน้ำ ชาวบ้านบริเวณนั้นจึงหาน้ำได้ยากมาก ต้องขุดบ่อลงไปลึกมากจึงจะมีโอกาสได้น้ำ (ในปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลได้สร้างห้วยแม่บงกักเก็บน้ำไว้และน้ำระบบชลประทานมาช่วยจึงแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำลงไปได้) และในที่สุดพระร่วงก็ได้วิ่งว่าวมาถึงคลองแห่งหนึ่งซึ่งมีลูกมะดันมากจึงได้เก็บเอามาเพื่อจะให้นางทองกิน ชาวบ้านเรียกคลองนั้นว่า “คลองมะดัน” ในเวลาต่อมา และในที่สุดพระร่วงก็ได้วิ่งว่าวมาถึงคลองแห่งหนึ่งซึ่งมีลูกมะดันมากจึงได้เก็บเอามาเพื่อจะให้นางทองกิน ชาวบ้านเรียกคลองนั้นว่า “คลองมะดัน” ในเวลาต่อมา หลังจากที่คณะสำรวจเส้นทางถนนพระร่วง บรรลุจุดมุ่งหมายแล้วคือ เดินทางถึงเมืองเก่าจังหวัดสุโขทัยโดยเดินทางเข้าทางทิศตะวันออกเหมือนสมัยพระมหาสามีสังฆราช ต่อมาข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเยี่ยมอาจารย์ประทีป สุดโสภา จึงได้ทราบตำนานขึ้นมาอีก 1 เรื่องคือ ตำนานพระร่วงส่วยน้ำ ซึ่งจะได้เล่าต่อไป

ตำนานพระร่วงส่วยน้ำ
        เรื่องพระร่วงในพงศาวดารเหนืออีกเรื่องหนึ่งนั้น เรียกว่า “เรื่องพระร่วงส่วยน้ำ”ว่ามีชายชาวเมืองละโว้คนหนึ่งชื่อ “คงเครา” เป็นนายกองคุมคนส่วยน้ำสำหรับตักน้ำในทะเลชุบศร ส่งไปถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เสวย ณ เมืองขอม อยู่มานายคงเครามีลูกชายคนหนึ่งให้ชื่อว่า “ร่วง” เด็กร่วงนั้นเกิดเป็นผู้มีบุญด้วย “วาจาสิทธิ์” คือถ้าว่าให้อะไร เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้นตั้งแต่เกิด แต่ไม่รู้ตัวว่ามีฤทธิ์เช่นนั้นมาจนได้อายุ 11 ปี วันหนึ่งพายเรือไปในทะเลชุบศร เรือทวนน้ำ เด็กร่วงพายเรือจนเหนื่อยจึงอกปากว่า “นี่ทำไม น้ำไม่ไหลไปทางโน่นมั่ง” พอขาดคำลงน้ำก็ไหลกลับไปอย่างว่า เด็กร่วงก็รู้ตัวว่ามีวาจาสิทธิ์แต่ปิดความไว้มิให้ผู้อื่นรู้ ครั้งนายคงเคราตาย พวกไพร่พร้อมใจกันยกนายร่วง ขึ้นเป็นนายกองส่วยน้ำแทนพ่อ พอประจวบเวลานักคุ้มข้าหลวงขอม คุมเกวียนบรรทุกกล่องสานสำหรับใส่น้ำเสวยมาถึงเมืองละโว้ สั่งให้นายร่วงเกณฑ์ไพร่ตักน้ำเสวยส่วยตามเคย นายร่วงเห็นว่า กล่องน้ำที่ทำมานั้นหนักนัก จึงสั่งให้ไพร่สายชะลอม ก็เป็นเช่นว่า นักคุ้มข้าหลวงเห็นเช่นนั้นก็กลัวฤทธิ์นายร่วง รีบรับชะลอมกลับไปเมืองขอม ทูลพระเจ้าปทุมสุริยวงค์ว่า มีผู้วิเศษเกิดขึ้นที่เมืองละโว้ ก็ทรงพระวิตกกลัวว่าจะเป็นขบถ จึงแต่งกองทหารให้มาจับตัวนายร่วง แต่นายร่วงได้ยินข่าวรู้ตัวก่อน จึงหนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปยังเมืองเหนือ ไปบวชเป็นภิกษุอยู่ ณ วัดแห่งหนึ่งในเมืองสุโขทัย คนจึงเรียกกันว่า “พระร่วง” เพราะเหตุที่บวชเป็นพระ ฝ่ายทหารขอมมาถึงเมืองละโว้ รู้ว่านายร่วงรู้ตัวหนีขึ้นไปอยู่เมืองสุโขทัย มิรู้ว่าไปบวชเป็นพระ จึงดำดินลอดปราการเข้าไปในเมือง เผอิญไปโผล่ขึ้นในลานวัดที่พระร่วงบวชอยู่ เวลานั้นพระร่วงกำลังลงกวาดลานวัด เห็นเข้าก็รู้ว่าขอม แต่ขอมไม่รู้จักพระร่วง ถามว่ารู้หรือไม่ว่า นายร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน พระร่วงก็ลั่นวาจาสิทธิ์สาปว่า “สู่อยู่ที่นั้นเถิด รูปจะไปบอกนายร่วง “ พอว่าขาดคำ ขอมก็กลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ตรงนั้น ด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วง ชาวเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญ เมื่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยสิ้นพระชนม์ พวกเสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันเชิญพระร่วงขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า “ พระเจ้าศรีจันทราธิบดี”

 

ภาพโดย : https://images.thaiza.com/37/37_201104211114541..jpg

 

คำสำคัญ : ตำนาน นิทาน วรรณกรรมพื้นบ้าน

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NG.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ตำนานพระร่วง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=155&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=155&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

มีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืมจริงๆ เรื่องอะไรจำได้ประเดี๋ยวเดียวก็ลืม วันหนึ่งชายคนนี้ถือมีดเดินเข้าไปในป่าจะไปตัดต้นไม้ เดินไปซักพักก็เกิดปวดท้องขี้ขึ้นมา หาที่เหมาะๆ ได้แล้ว ก็เอามีดฟันติดไว้กับต้นไม้ แล้วก็นั่งขี้ พอลุกขึ้น เห็นมีดเล่มหนึ่งอยู่ที่ต้นไม้ ลืมไปว่าเป็นมีดของตัวเอง ดีใจมาก หยิบมีดมาแล้วพูดว่า “วันนี้โชคดีแต่เช้าเลย เจอมีดของใครก็ไม่รู้” พอจะเดินกลับ ก็เหยียบขี้ของตัวเองอีก โมโหมาก ตะโกนด่าว่า “อ้ายคนไหนมาขี้ไว้ ป่าตั้งกว้างใหญ่ไม่อายใครเลย” จากนั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมมีดของตัวเอง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,602

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,392

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 807

ตำนานบ้านสลกบาตร

ตำนานบ้านสลกบาตร

เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อเกวียนเพื่อหยุดพักให้วัว ควายกินน้ำกินหญ้า และพักหุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลอง ชายโนนและชายคลอง ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่บนโนนอย่างหนา มีคลองน้ำไหลอยู่ในโนน ผู้ที่อพยพมาเป็นสภาพพื้นที่ เกิดความพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้พวกเขาสามารถที่จะบุกเบิกหักร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินอยู่อยู่อาศัยได้ จึงได้ปรึกษาหารือกันและตกลงกันว่า จะยึดพื้นที่ผื่นนี้เป็นท่ี่ทำไร่ ทำนาและทำกินโดยแบ่งกันไม่ไกลกันนัก แบ่งไปเป็นสัดส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 3,512

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 8,456

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

ณ เชิงเขาแหํงหนึ่ง มีกระท่อมอยูํหลังหนึ่ง ซึ่งมีตากับยายอาศัยอยูํ 2 คน มีอาชีพทำไรํทำนาอยูํบนเชิงเขา อยูํมาวันหนึ่งมีพระธุดงค์ได้มาปักกลดอยูํใกล้บ้านตากับยาย ตากับยายเลยคิดวำจะทำอะไรให้พระฉันดี ยายก็คิดวำผลไม้บนเชิงเขาก็ไมํคํอยมี กลัวพระจะฉันไมํอิ่ม ก็เลยคิดวำที่บ้านมีไกํอยูํ 1 ตัว และแมํไกํตัวนี้ได้มีลูกอีก 7 ตัว ยายจึงคิดจะทำแกงไกํถวายพระ แมํไกํได้ยินเข้าจึงร้องไห้ แล้วเอาปีกโอบลูกไกํทั้ง 7 ตัวไว้ แล้วบอกกับลูกวำ ลูกเอยพรุํงนี้เช้าแมํต้องตายแล้ว แล้วแมํไกํได้สอนลูกไกํทั้ง 7 ตัว วำให้รักกันให้มากๆ พอรุํงเช้ามาตาก็ก่อไฟไว้เพื่อที่เตรียมจะแกงไก่ พอลูกไกํเห็นตากำลังเชือดคอแมํไกํ ลูกไกํเห็นดังนั้นจึงเสียใจกระโดดเข้ากองไฟตายตามแมํไกํทั้ง 7 ตัว ตาจึงได้ทำแกงไก่ถวายพระด้วยความที่ลูกไกํมีใจประเสริฐนึกถึงแม่ตัวเองตลอดเวลา จึงไปเกิดเป็นดาวลูกไกํ ทั้ง 7 จนถึงปัจจุบันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 34,978

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

วันหนึ่งลูกเขยชวนพ่อตาไปโค่นต้นตาล ฝ่ายลูกเขยก็พูดว่า “เอ้าพ่อ ! พ่อฟันข้างนอกก่อนเลยฟันเปลือกมันก่อนนะพ่อนะ เดี๋ยวแก่นมันผมฟันเอง” ฝ่ายพ่อตาก็ฟันใหญ่เลยแล้วก็บ่นอีก “โอ๊ยขนาดเปลือกมันยังแข็งขนาดนี้นะเนี่ยไอ้หนู แล้วแก่นมันเอ็งจะฟันไหวรึ มันจะขาดให้เอ็งรึ” พอพ่อตาฟันเสร็จแล้วไอ้ลูกเขยก็ฟันบ้าง แต่มันฟันฉวบๆ เลย ก็ต้นตาลนะมันจะมีอะไรล่ะ ข้างในนะ ไอ้ที่ว่าแก่นแข็งๆ นะมันอยู่ข้างนอกรอบต้นมันนี่ ฝ่ายพ่อตาเห็นลูกเขยตัวก็ยังชมมันอีกว่า “เอ่อไอ้หนูเอ็งนี่แรงดีว่ะ ขนาดพ่อฟันแค่เปลือกมันยังหมดแรงเลยวะ”

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,811

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีกระต่ายตัวหนึ่งหากินอยู่ริมบึง และมีจระเข้อยู่ในบึงอีก 1 ตัว คอยจ้องกินเหยื่อ จระเข้มองเห็นเจ้ากระต่ายมาใกล้ๆ จึงรีบคลานขึ้นจากน้ำ อ้าปากงับกระต่ายอย่างรวดเร็ว กระต่ายตกใจมาก คิดเพียงว่าต้องหาทางออกจากปากจระเข้ให้ได้ จึงออกอุบายถามจระเข้ว่า “ไหนๆ ข้าจะตายแล้ว บอกหน่อยทีเถอะว่าหวยงวดนี้ออกอะไร” จระเข้ไม่ทันคิดจึงอ้าปากบอกว่า “55” กระต่ายได้โอกาสกระโจนออกจากปากเอาขาหลังถีบลิ้นจระเข้ขาด ส่วนจระเข้รีบงับไว้ได้เพียงหางกระต่าย จระเข้จึงไม่มีลิ้นและกระต่ายมีหางสั้นกุดจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 11,487

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

มีชาวนาครอบครัวหนึ่ง มีบ้านอยู่กลางทุ่งนาของฉัน วันหนึ่งเกิดมีหมาเข้ามาลักขโมยข้าวขอในบ้านชาวนากิน ชาวนากลับจากทำนาพอดี พบหมากำลังจะกินอาหารที่อยู่ในครัว จึงวิ่งไล่จับหมาตัวนั้นได้ ด้วยความโมโห ชาวนาจึงจุดไฟที่หางหมาตัวนั้น เจ้าหมาก็ตกใจมาก วิ่งหนีเข้าไปในทุ่งนาของชาวนาที่กำลังเหลืองใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ไฟที่หางหมาจึงไหม้ต้นข้าวและลุกลามไหม้ไปทั้งทุ่งนาของชาวนาจนไม่เหลือสักต้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,686

นิทานพื้นบ้าน เรื่องการเอาเปรียบ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องการเอาเปรียบ

พํอกับลูกสาวถ่อเรือไปด้วยกัน พ่อเป็นคนถ่อ ลูกเป็นคนถือท้ายเรือ กลับถึงบ้านบ่นให้แม่ฟังวำ “แม่มึงเอ๊ย ใช้แต่พ่อถ่อเรือคนเดียว มันไม่ช่วยมั่งเลย ” แม่ก็ถามลูกสาวว่า “มึงไมํช่วยพ่อถ่อเรือมั่งเรอะ ” ลูกสาวตอบวำ “ทำไมจะไมํชํวยละแม่ พ่อถ่อฉันก็ถือท้าย พอฉันถือท้ายพ่อก็ถ่อแล้วจะเอายังไงอีกล่ะ”

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 4,591