ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้ชม 2,392

[16.4737853, 99.6996718, ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า]

        พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น ตอนนี้โดนขโมยต้นไป 1 ต้น ลูกหลานพ่อมาอยู่ก็ได้บูชา กราบไหว้ บวงสรวงทุกบุญเดือน 6 ก่อนที่จะลงมือทำไร่นาทำการเกษตรกรรม เพราะว่าเป็นขวัญ เป็นกำลังใจ ให้พ่อปู่วังหว้าได้ดูแลพืชพรรณ ธัญหาร ให้พี่น้องชาวบ้านประชาชนอยู่ดีก่ินดี มีขวัญและกำลังใจ จึงมีการบวงสรวงในวันพุธ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ศาลพ่อปู่วังหว้าเรียกกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แตก่อนนี้คือวังหว้า เป็นหนองน้ำ (คลองวังหว้า หรือคลองวังกัน) เรียกตามชื่อคลอง ปัจจุบันได้มีการบูรณะหลังใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ให้กับสถานที่ทีคนไปบวงสรวง แต่ก่อนที่ตรงนี้เป็นที่ของผู้ใหญ่แหลม ผู้ใหญ่ทา สีเห็ม ได้อุทิศให้เป็นที่สถิติ เป็นที่ส่วมรวม หมู่ 4 ศาลพ่อปู่วังหว้าเกิดก่อนประเพณีบุญบั้งไฟ แต่ก่อนสถานที่ตรงนี้ พม่าเคยมาตั้งทัพ รวบรวมเสบียงเพื่อจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

คำสำคัญ : ศาลพ่อปู่วังหว้า พ่อปู่วังหว้า

ที่มา : เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล. (2560). เส้นทางวัฒนธรรมไทยอีสาน. กำแพงเพชร: เทศบาลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1265&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1265&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

วันนี้เป็นวันพระ มีญาติโยมมาทำบุญกันเต็มศาลา ปกติพอฉันเสร็จพระมักใช้เณรให้เป็นคนล้างจาน เณรเจ็บใจมาเรื่อย วันนี้คิดจะเอาคืน พอฉันเสร็จเณรจึงยกมือขึ้นพนมแล้วสวดกรวดน้ำว่า “ยถาวริวโหน ยัดห่าหลายคน ให้กูล้างคนเดียว” พระได้ยินก็สวดตอบมาทันทีว่า “สัพพีตีโยม เสียงดังโครม เณรหัวแตก” เณรสวนมาว่า “เณรเตะพระ เณรชนะ พระหัวแตก” วันนั้นพระกับเณรช่วยกันล้างจานจนเลือดสาด

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,399

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดของชาวบ้านไตรตรึงษ์

“ศรีวันนี้ก็วันลาภวันดี ศรีวันพระยาวัน ฉันจะเรียกมิ่งขวัญ ขวัญมาเกิดมาแม่มา ขวัญอย่าไปเป็นตะเข็บอยู่ใต้ขอน ขวัญอย่าไปเป็นแมงชอนอยู่ใต้ไม้ ขวัญอย่าไปอยู่ในน้ำเป็นเพื่อนปลา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ในนาเป็นเพื่อนข้าว ขวัญแม่อย่าไปเอาพุ่มไม้ต่างเรือน ขวัญแม่อย่าไปเอาแสงเดือนต่างไต้  ขวัญแม่อย่าไปเอาเรไรต่างมโหรี มาเถิดมาแม่มาขวัญเอยขวัญแม่อย่าไปเที่ยวชมเขาลำเนาไพร ให้แม่กลับมา ขวัญแม่อย่าไปอยู่ที่เชิงตะกอน ขวัญแม่อย่าไปนอนอยู่ป่าช้า มาเถิดแม่มา

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,698

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,352

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,491

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

"พระร่วง" เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม มีนิสัยคะนองชอบเล่นเบี้ยเล่นว่าว เล่นไก่ เจ้าชู้ โดยไม่ถือ พระองค์ชอบเสด็จไปในท้องถิ่นทุรกันดารและเมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ ก็มักจะเกิดเป็นตำนาน ขึ้นมากมาย กล่าวกันว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญญาธิการรู้ทั้ง บังเหลื่อมรู้จบไตรเทพวิทยาคม อีก ทั้งมีวาจาสิทธิ์ จากตำนานโบราณกล่าวว่า พระร่วงได้เดินทางมาถึงบริเวณเขาไก่เขี่ย พระองค์ ได้ไก่ป่าวตัวหนึ่งเมื่อเดินมาถึงบริเวณสถานที่ร่มรื่นพระองค์เกิดหิวจึงตั้งใจจะกินไก่ตัวนี้เสีย จึงได้สาป บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำพุร้อนเพื่อที่จะได้นำน้ำร้อนมาลวดไก่และถอนขนเมื่อถอนขน เสร็จไม่มี น้ำเย็น จึงสาปน้ำเย็นขึ้น จึงเกิดมีบ่อน้ำร้อน และน้ำเย็นขึ้นบริเวณใจ กลางบึงสาปนั้น หรือจากข้อสันนิษฐาน กล่าวว่า พระองค์คงสาปน้ำร้อนน้ำเย็นเพื่อทำความสะอาดไก่หรือที่เรียกว่าให้น้ำไก่ แล้วพระองค์ก็ได้เดินทางต่อไปกลายเป็น "บ่อน้ำร้อนบึงสาป" เขาไก่เขี่ย ดังได้กล่าวแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,940

ตำนานพระซุ้มกอ

ตำนานพระซุ้มกอ

มีกูไว้แล้วจะไม่จน คือ ถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง เบญจภาคี คือ การนำเอาพระเครื่องที่เป็นพระเครื่องชั้นยอดมารวมกัน 5 องค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในวงการพระเครื่องยุคแรก ที่วงการพระรู้จักท่านในนามปากกา " ตรียัมปวาย " เป็นผู้บัญญัติจัดตั้งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พระเบญจภาคี 5 องค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 8,474

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 8,454

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,142

นิทานเรื่อง หมากับแมวทำไมไม่ถูกกัน

นิทานเรื่อง หมากับแมวทำไมไม่ถูกกัน

กาลครั้งหนึ่ง เศรษฐีเลี้ยงหมากับแมวไว้ด้วยกันบนบ้าน เศรษฐีมีเพชรเม็ดหนึ่งแล้วถูกโจรขโมยขึ้นไปบนยอดเขา แมวจึงได้จับหนูมาจะกิน หนูร้องขอชีวิต บอกว่าจะให้ทำอะไรก็ยอม แมวเลยให้ไปเอาเพชรบนยอดเขามาคืน หนูทำได้สำเร็จ แมวกับหมาก็นำไปคืนให้เศรษฐีพร้อมกัน เศรษฐีชมเชยทั้งสองว่าเลี้ยงไว้ไม่เสียดายข้าวสุก ต่อมาเศรษฐีเดินทางทางเรือ เผลอทำเพชรตกน้ำอีก แมวก็เลยจับปลาไว้ ปลาร้องขอชีวิต แมวจึงให้ปลาไปคาบเพชรใต้น้ำขึ้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 11,474

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,414