แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้ชม 809

[16.4569421, 99.3907181, แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม]

        พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง
        เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่า เมื่อผู้ใดขึ้นนั่ง มักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย
        จนกระทั่งเจ้าของท่านสุดท้าย ต้องนำมาถวายวัดสว่างอารมณ์ และนำไปประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดสว่างอารมณ์ หลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาส รูปที่ 2 วัดสว่างอารมณ์ เล่าว่า ภิกษุที่ได้เป็นมหาเปรียญ (ภิกษุสามเณรที่สามารถเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ 3 ประโยคขึ้นไปจนถึง 9 ประโยค เรียกว่า พระเปรียญ) จะสามารถนั่งได้ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครกล้าทดลองนั่งมาจนทุกวันนี้ น่าพิศวงจริงๆ

คำสำคัญ : แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1424&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1424&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,143

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,364

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,049

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,307

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง แม่เป็นคนชอบทำบุญ จะใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน อยู่มาวันหนึ่ง แมํไม่ว่างออกมาใส่บาตร จึงบอกให้ลูกสาวไปใส่บาตรแทนลูกสาวยังเด็กตื่นมาไมํทันล้างหน้าล้างตาก็รีบไปใสํบาตร ขี้มูกขี้ตาเกรอะกรัง พอพระเห็นเข้าก็รังเกียจเอาฝาบาตรเคาะหัวจนเป็นรอยแผลเป็นที่หน้าผาก ผ่านมาหลายปีพระก็สึก สํวนเด็กคนนั้นก็โตเป็นสาวสวย เลยมาชอบกันอดีตพระเห็นแฟนสาวมีแผลเป็น ที่หน้าผากก็ถามวำหน้าผาก น้องเป็นอะไร แฟนสาวบอกวำไมํรู้ไอ้พระบ้าที่ไหนเอาฝาบาตรมาเคาะหัว อดีตพระก็เลยจำได้ ขำกันทั้งคูํ อยำงนี้แหละเขาเรียกวำจุดไต้ตำตอ

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 1,217

ตำนานท่อทองแดง

ตำนานท่อทองแดง

ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ ท่อทองแดง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,056

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,731

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,392

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

ตาจุ้ยกับตาจันทร์เป็นชาวบ้านหนองปรือ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนรักกันมากเป็นคนขี้ยาและติดฝิ่นด้วยกัน สมัยนั้นเป็นป่าดิบดงดำ วันหนึ่งตาจุ้ยกับตาจันทร์ชวนกันมาตัดหวายที่ชายดง ตาจุ้ยตัดหวายได้เส้นหนึ่ง ยาวสวยมาก ขากลับบ้านตาจุ้ยเดินลากหวายตามทางมา ตาจันทร์กะหยอกเพื่อนเลํน จึงแกล้งใช้มีดฟันหวายผิดๆ ตาจุ้ยบอกวำ “ถ้ามึงฟันหวายกูขาด กูฟันหัวมึงขาด” เผอิญตาจันทร์ฟันโดนหวายขาดจริงๆ เกิดการทะเลาะกัน ตาจุ้ยฟันตาจันทร์ ตาจันทร์ก็ฟันตาจุ้ย ต่อสู้กันอยำงดุเดือด ปรากฏวำฟันกันตายทั้งคูํ ชาวบ๎านเลยตั้งชื่อบริเวณนี้วำบ้านดงตาจุ้ยดงตาจันทร์ แตํทุกวันนี้เรียกวำ “บ้านดงตาจันทร์” ่อย่างเดียว

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,110

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,583