เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,353

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา]

        มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน ท้าวไชยศิริจึงสร้างราชธานีใหม่ เรียกนามว่านครไตรตรึงษ์ ท้าวไชยศิริครอง นครไตรตรึงษ์จนทิวงคตเชื้อพระวงศ์ได้ครองราชสมบัติสืบมาอีก 4 ชั่วคนท้าวไตรตรึงษ์ชั่วที่ 4 มีราชธิดาอยู่องค์หนึ่ง มีรูปโฉมงดงามมาก กิตติศัพท์เล่าลือระบือไปในเมืองต่าง ๆ ทราบถึงพระเจ้านครศรีวิชัย จึงใช้ทูตไปทาบทามเพื่อขอนางนั้นเป็นมเหสีแห่งพระชินเสนราชโอรสผู้เป็นยุพราช แต่ท้าวไตรตรึงษ์ไม่มีราชโอรสก็ปรารถนาจะได้เขยมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป จึงตอบว่าถ้าท้าวศรีวิชัยยอมเป็นเมืองขึ้นจึงจะยกพระธิดาให้ท้าวศรีวิชัยก็ไม่ยอมจึงงดกันไป ครั้นเมื่อราวปีฉลู จุลศักราช 675 พ.ศ.1857 พระชินเสนมีความปรารถนาจะใคร่เห็นตัวนางธิดาไตรตรึงษ์ จึงลาพระราชบิดาไปยังเมืองไตรตรึงษ์ แต่ครั้นจะตรงเข้าไปก็เห็นไม่สะดวกด้วย พระบิดากับท้าวไตรตรึงษ์ผิดใจกันอยู่ จึงใช้อุบายแปลงตัวเป็นยาจกเอาฝุ่นและเขม่าทาให้เปื้อนเปรอะ เอารงค์แต้มตัวให้ดู ประหนึ่งว่าเป็นปมปุ่มทั่วไปทั้งตัว นุ่งห่มให้ปอนแล้วก็เข้าไปในเมืองไตรตรึงษ์ ไปอาสารับใช้ผู้เฝ้าสวนหลวงอยู่ เพื่อหาช่องดูตัวนาง อยู่มาวันหนึ่งนางธิดาไตรตรึงษ์ออกไปประพาสสวนหลวง พระชินเสนไปเที่ยวเดินเก็บผลหมาก รากไม้และผักหญ้าอยู่ ได้เห็นตัวนางก็มีความรัก จึงเข้าไปหาและนำผักไปถวาย นางสังเกตดูพระชินเสนเห็นได้ ว่าไม่ใช่คนไพร่จริงจึงให้นางข้าหลวงซักดู พระชินเสนก็ให้การแต่เพียงว่าชื่อนายแสนปม นางสั่งว่าให้หมั่นเก็บผัก ส่งเข้าไปในวัง แล้วก็กลับเข้าวัง  ฝ่ายพระชินเสนกลับไปถึงที่พักแล้ว ไตร่ตรองดูเห็นว่าท่าทางนางจะมีความรักใคร่บ้างแต่ยังไม่แน่ใจ จึง ใช้อุบายเอาเหล็กแหลมจารเป็นหนังสือบนมะเขือเป็นถ้อยค้าเกี้ยวเลียบเคียงเป็นนัย ๆ แล้วน้ามะเขือกับผักอื่น ๆ ส่งไปให้นางฝ่ายนางได้เห็นหนังสือนั้นแล้วก็เขียนตอบใส่ห่อหมากฝากไปให้นายแสนปม พระชินเสนได้รับหนังสือตอบ เข้าใจได้ว่านางสมัครรักใคร่ในตนเป็นแน่แล้ว จึงเข้าไปหานางที่ในวัง และพบปะกันหลายครั้ง จนนางตั้งครรภ์ต่อมาพระบิดาของพระชินเสนประชวร พระชินเสนต้องรีบกลับไปนครศรีวิไชย เมื่อไปถึงพระบิดาโปรดให้เป็นผู้ช่วยว่าราชการ จึงไม่มีโอกาสที่จะไปรับนาง ครั้น ณ วันที่ 2 เดือน 8 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 676 พ.ศ. 1857 พระราชธิดาท้าวไตรตรึงษ์ประสูติพระโอรสโหรท้านายว่าจะได้เป็นพระยามหากษัตริย์ทรงเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ท้าวไตรตรึงษ์ผู้เป็นตา อยากทราบว่าใครเป็นบิดาแห่งหลาน ถามพระธิดาก็ไม่ให้การอย่างไรทั้งสิ้น ถามพวกข้าหลวงก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไร คงเป็นแต่โจษกันว่าตั้งแต่ได้เสวยมะเขือซึ่งนายแสนปม ถวายแล้วก็ทรงครรภ์ ท้าวไตรตรึงษ์ทรงไตร่ตรองดูก็คิดว่าผู้ชายถ้าไม่เป็นคนดี ที่ไหนจะบังอาจลอบลักสมัครสังวาสกับพระธิดาเช่นนั้นได้ จึงคิดหาวิธีที่จะหาบิดาแห่งกุมาร โดยปรึกษากับมหาราชครูเป็นที่ตกลงพร้อมกันว่าให้ป่าวประกาศให้บรรดาทวยลูกเจ้าลูกขุน และทวยราษฎรมาพร้อมกันยังหน้าพระลานให้ถือขนมนมเนย ติดมือมาแล้วอธิษฐานว่าถ้าผู้ใดเป็นบิดาพระกุมาร ขอให้พระกุมารรับของจากมือผู้นั้น กิตติศัพท์คำประกาศทราบไปถึงพระชินเสน จึงให้เตรียมรี้พลสกลโยธาเป็นทัพใหญ่ ตั้งพระทัยว่าอย่างไร ๆ ก็ต้องรับพระธิดามาให้ได้
        พอใกล้ถึงนครไตรตรึงษ์ก็สั่งให้ทัพหยุดพักอยู่แล้ว สั่งอุบายแก่ขุนพลไว้เสร็จแล้วพระชินเสนจึงแปลงเป็นนายแสนปมถือข้าวเย็นก้อนหนึ่งเข้าไปยังพระลาน ครั้นถึงเวลากำหนด ท้าวไตรตรึงษ์ก็ออกยังหน้าพระลานให้เชิญพระนัดดาออกมาและพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้วก็ให้อุ้มพระนัดดาไปเที่ยวดูคน พระกุมารก็ไม่รับของ ๆ ใครสักคนเดียว จนกระทั่งนายแสนปมชูก้อนข้าวเย็นให้จึงได้รับ ท้าวไตรตรึงษ์เห็นหลานรับก้อนข้าวเย็นของนายแสนปมเป็นการผิดคาดคะเนทั้งรู้สึกอับอายแก่ธารกำนัลว่าพระธิดาเล่นชู้กับคนเลวเช่นนั้น ขับพระธิดาออกจากพระนครโดยทันที และด่าว่านายแสนปมต่าง ๆ นายแสนปมจึงกล่าวว่าถึงขับไล่ก็ไม่วิตกเมืองจะสร้างอยู่เองใหม่ สักเท่านี้ก็ได้ ทั้งไม่มีความเกรงกลัวใครเลยเพราะพอตีอินทเภรีขึ้นรี้พลก็จะมีมาเหมือนน้ำมหาสมุทร ท้าวไตรตรึงษ์สำคัญว่านายแสนปมพูดอวดดีจึงท้าให้ตีกลอง แสนปมก็ตีกลองอินทเภรีขึ้น 3 ลำ ขณะนั้นขุนพลแห่งนครศรีวิไชยได้ยินเสียงกลองก็ให้พลโห่ร้องขึ้นตามที่พระชินเสนได้ตรัสสั่งไว้ ไตรตรึงษ์ตกใจตะลึงหมดท่ามิรู้ที่จะท้าประการใดต่อไป แลเห็นถนัดว่าเสียท่าเขาแล้วก็ได้แต่จ้ายอมท้าวเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะวิงวอนงอนง้อพระชินเสนให้เขาอยู่เขาก็คงไม่อยู่ พระชินเสนก็คงเป็นอันได้รับนางและบุตรกลับไปนครศรีวิไชย 
        นิทานเรื่องนายแสนปม ถือเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ท้าให้ผู้คนทั้งหลายเชื่อกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นราชบุตรของนายแสนปมและเป็นรัชทายาทครองเมืองเทพนคร ต่อมาได้ 6 ปี พระเจ้าอู่ทองทรงย้ายราชธานี ใหม่ซึ่งมีความบริบูรณ์พูนสุขกว่าเมืองเทพนคร โดยทรงเห็นว่าตำบลหนองโสน มีชัยภูมิเหมาะสมดี พระเจ้าอู่ทองจงสั่งเคลื่อนย้ายไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

คำสำคัญ : นิยายปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ปงป กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานท้าวแสนปม

ตำนานท้าวแสนปม

ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา  ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจน มาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 17,779

นิทานพื้นบ้าน เรื่องทำไมคนถึงกินข้าว 3 มื้อ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องทำไมคนถึงกินข้าว 3 มื้อ

มนุษย์รู้จักทำไร่ทำนาเลี้ยงชีพมาหลายพันปีแล้ว โดยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ปีไหนฝนแล้งก็จะเหนื่อยยากอดอยากมากกว่าปีอื่นๆ เพราะข้าวตาย พระอิศวรมองลงมาจากสวรรค์ รู้สึกสงสารชาวนามาก เลยใช้ให้ควายลงไปโลกมนุษย์ไปบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้ ให้กินข้าว 3 วันมื้อหนึ่ง จะได้ไม่ต้องลำบากปลูกข้าวได้พอกิน” ควายรับปากดิบดีว่าจะไปบอกตามที่สั่ง พอไปถึงทุ่งนาเห็นหนองน้ำใหญ่น่าลงไปเล่นตามสัญชาติญาณของควายที่ชอบนอนแช่ในปลัก นอนแช่น้ำเย็นสบายจนบ่ายคล้อยก็นึกขึ้นได้ว่าพระอิศวรใช้มาส่งข้าว จำได้แค่ว่าอะไรสามๆ เลยบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้พระอิศวรให้กินข้าววันละ 3 มื้อ จากที่ลำบากอยู่แล้วยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ พอกลับไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรทวนถามว่าไปบอกเขาว่าอย่างไร ควายตอบว่า “ก็ตามที่พระองค์สั่งพระเจ้าค่ะ ให้กินวันละสามมื้อ” “ไอ้โง่เอ๊ย ! ชาวนายิ่งเดือดร้อนเข้าไปใหญ่ ข้าสั่งให้กินสามวันมื้อ” แต่ก็แก้ไขคำพูดไม่ได้แล้ว จึงสั่งให้ควายไปช่วยชาวนาไถนาปลูกข้าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 5,010

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,491

นิทานเรื่อง หมาจอมขี้เกียจ

นิทานเรื่อง หมาจอมขี้เกียจ

มีหมาท้องแก่ตัวหนึ่ง มีนิสัยขี้เกียจมาก ขี้เกียจแม้กระทั่งไปหากิน มันเข้าไปนอนในโพรงจอมปลวก จอมปลวกก็ก่อขึ้นทุกวัน จนปิดสนิทไม่มีทางออก หมาท้องแก่ตัวนี้ก็เลยออกลูกในจอมปลวกนั่นเอง นานเข้ามันก็เกิดอาการหิว จนหิวจัดๆ แล้วมันก็กินลูกมันทีละตัวจนหมด มันก็เลยไม่มีอะไรให้กินอีก หมาตัวนี้จึงหันมาเจอหางตัวเองมันก็เริ่มกันหางตัวเอง ต่อมาก็กินขา และกินเนื้อตัวเองจนเหลือแต่ไส้ มันไม่รู้จะกินอะไรอีก หันไปทางไหนก็ไม่มีอะไรให้กินเลยมันคิดจะกินหูตัวเอง แต่อย่างไรมันก็กินไม่ได้ มันเลยอดตาย

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,950

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

ตำนานบ่อน้ำพุร้อน

"พระร่วง" เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่ม มีนิสัยคะนองชอบเล่นเบี้ยเล่นว่าว เล่นไก่ เจ้าชู้ โดยไม่ถือ พระองค์ชอบเสด็จไปในท้องถิ่นทุรกันดารและเมื่อเสด็จไปในที่ต่างๆ ก็มักจะเกิดเป็นตำนาน ขึ้นมากมาย กล่าวกันว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญญาธิการรู้ทั้ง บังเหลื่อมรู้จบไตรเทพวิทยาคม อีก ทั้งมีวาจาสิทธิ์ จากตำนานโบราณกล่าวว่า พระร่วงได้เดินทางมาถึงบริเวณเขาไก่เขี่ย พระองค์ ได้ไก่ป่าวตัวหนึ่งเมื่อเดินมาถึงบริเวณสถานที่ร่มรื่นพระองค์เกิดหิวจึงตั้งใจจะกินไก่ตัวนี้เสีย จึงได้สาป บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำพุร้อนเพื่อที่จะได้นำน้ำร้อนมาลวดไก่และถอนขนเมื่อถอนขน เสร็จไม่มี น้ำเย็น จึงสาปน้ำเย็นขึ้น จึงเกิดมีบ่อน้ำร้อน และน้ำเย็นขึ้นบริเวณใจ กลางบึงสาปนั้น หรือจากข้อสันนิษฐาน กล่าวว่า พระองค์คงสาปน้ำร้อนน้ำเย็นเพื่อทำความสะอาดไก่หรือที่เรียกว่าให้น้ำไก่ แล้วพระองค์ก็ได้เดินทางต่อไปกลายเป็น "บ่อน้ำร้อนบึงสาป" เขาไก่เขี่ย ดังได้กล่าวแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,940

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

มีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืมจริงๆ เรื่องอะไรจำได้ประเดี๋ยวเดียวก็ลืม วันหนึ่งชายคนนี้ถือมีดเดินเข้าไปในป่าจะไปตัดต้นไม้ เดินไปซักพักก็เกิดปวดท้องขี้ขึ้นมา หาที่เหมาะๆ ได้แล้ว ก็เอามีดฟันติดไว้กับต้นไม้ แล้วก็นั่งขี้ พอลุกขึ้น เห็นมีดเล่มหนึ่งอยู่ที่ต้นไม้ ลืมไปว่าเป็นมีดของตัวเอง ดีใจมาก หยิบมีดมาแล้วพูดว่า “วันนี้โชคดีแต่เช้าเลย เจอมีดของใครก็ไม่รู้” พอจะเดินกลับ ก็เหยียบขี้ของตัวเองอีก โมโหมาก ตะโกนด่าว่า “อ้ายคนไหนมาขี้ไว้ ป่าตั้งกว้างใหญ่ไม่อายใครเลย” จากนั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมมีดของตัวเอง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,600

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

มีครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และลูกสี่คน พ่อกับแม่ไปทำงานหาของกินมาได้ก็ไม่พอให้ลูกๆ ทั้งสี่คนกิน เพราะทั้งสี่คนกินจุ แม่จึงได้พ่อพาลูกๆ ไปปล่อย เพราะเลี้ยงไม่ไหว คนแรกให้น้ำไปกินแล้วก็ทิ้งไว้ คนที่สองให้ผลไม้ คนที่สามให้ข้าว คนที่สี่น้องสุดท้องให้อ้อย คนที่สี่เป็นคนที่กินจุที่สุด จึงเริ่มกินอ้อยตั้งแต่ออกเดินทาง แล้วคายทิ้งไปตามทาง พอถึงที่หมายพ่อบอกว่าให้รออยู่ แล้วจะกลับมารับ รอจนเช้าพ่อก็ไม่มารับ จึงเดินตามซากอ้อยที่คายไว้ตามทาง ลูกคนสุดท้องจึงกลับบ้านถูก

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,327

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพ่อตากับลูกเขย

มีพ่อกับลูกเขยอยูํบ้านด้วยกัน วันหนึ่งลูกเขยไปหาปลามาได้ เอาไปปิ้ง แล้วก็กินแต่หนังปลา เหลือเนื้อปลาไว้ให้พ่อตา พอพ่อตากลับมาก็ถามวำ “ทำไมเหลือแต่เนื้อปลาไม่มีหนัง ”ลูกเขยบอกวำ “กินหนังหมดแล้ว ” พ่อตาก็เลยบอกว่า “วันหลังอย่ากินหนังนะเดี๋ยวพ่อมากิน” วันต่อมาลูกเขยได้เผือกมา จึงเอามาต้ม แล้วกินเนื้อหมด เหลือแต่หนังไว้ให้พ่อตากิน

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 5,745

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,658

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,353