เทวรูปพระอิศวร

เทวรูปพระอิศวร

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้ชม 3,111

[16.4883772, 99.5201012, เทวรูปพระอิศวร ]

ชื่อ :
         พระอิศวร หรือ พระศิวะ

ประวัติความเป็นมา :
        พระอิศวร หรือ พระศิวะ เทพเจ้าที่สำคัญของศาสนาพราหม์ -ฮินดู พระอิศวรคือเทพแห่งการประสาทพร เทพแห่งพิธีบวงสรวง เทพแห่งเสียงเพลงการร่ายรำ ทรงเป็นผู้บำบัดอาการเจ็บป่วยและขจัดปัดเป่าทุกข์ ทรงมีความกรุณายิ่งกว่าปวงเทพทั้งหลาย เทวรูปพระอิศวรจึงเป็นประติมากรรมชั้นพิเศษสุดที่ทรงคุณค่าแสดงถึงความเชื่อความศรัทธาของบรรพบุรุษ ในด้านประวัติศาสตร์และประติมากรรม การหล่อโลหะในสมัยโบราณ อีกทั้งเป็นที่เคารพของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 510 ปีมาแล้ว
        จากจารึกหลักฐานในสมัยเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้ประดิษฐ์เทวรูปพระอิศวร ที่มีศิลปกรรมอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรแบบบายน จากฐานจารึกระบุมหาศักราช 1432 หรือพุทธศักราช 2053 ว่าได้ประดิษฐานเทวรูปนี้เพื่อให้คุ้มครองมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเมืองกำแพงเพชร ตลอดจนการทำสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งมีการซ่อมแซมวัดวาอาราม และขุดลอกคูคลองชักน้ำส่งไปเลี้ยงที่เมืองบางพาน ปัจจุบันอำเภอพรานกระต่าย ปัจจุบันมีหมู่บ้านชื่อ วังพาน ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปเกือกกลม มีคูคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองและนอกเมืองโดยเฉพาะบริเวณเขานางทอง พบซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยสุโขทัยจำนวนมาก เรื่องของเมืองบางพานมีการกล่าวถึงในศิลาจารึกหลายครั้ง
        ผู้คนในอดีตกาลดินแดนกำแพงเพชรนั้นนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ดังปรากฏเทวสถานเพียงแห่งเดียวในเขตเมืองกำแพงเพชร หรือ ศาลพระอิศวร ที่มีฐานก่อสร้างด้วยศิลาแลง ส่วนพระนามนั้น "อิศวระ" ที่ปัจจุบันคนไทยเขียนผิดเพี้ยนไปเป็น อิศวร ซึ่งไม่ถูกต้อง จากหลักฐานที่ค้นพบในสมัยสุโขทัย คนสุโขทัยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เรียกพระศิวะว่า พระอิศวร และ พระมเหศวร (จากจารึกวัดป่ามะม่วง พ.ศ.1904) พระสทาศีพ (มาจาก พระสทาศิวะ) จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด พ.ศ.1935 อาจจะเรียกพระนามพระศิวะ ว่า อีศะ และ ปรเมสูร น่าจะมาจาก ปรเมศวร จึงเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น
        พระอิศวรเป็นรูปหล่อสำริด เมื่อ พ.ศ. 2426 ได้มีพ่อค้าชาวเยอรมัน ทราบชื่อนายรัสต์มัน Rastmann ได้ลักลอบตัดเศียรและพระกรทั้งสองข้างเพื่อนำออกนอกประเทศ แต่กงศุลเยอรมันจับได้และอายัดไว้ก่อน แล้วแจ้งให้ไทยรับทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีรับสั่งให้หล่อพระเศียรและพระกรเชื่อมติดกับองค์เทวรูปเดิม ต่อมาปี พ.ศ.2430 ได้นำเทวรูป ประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ และในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ย้ายไปประดิษฐานในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย จนล่วงมาในปี พ.ศ.2514 กรมศิลปากรดำเนินการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จึงอัญเชิญเทวรูปพระอิศวรกลับมาประดิษฐาน ณ เมืองกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ : พระอิศวร

ที่มา : เพจรักษ์กำแพง By Mickysun. (2561). https://www.facebook.com/groups/254314207990910/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เทวรูปพระอิศวร . สืบค้น 6 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1271&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1271&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

โอ่งสังคโลก

โอ่งสังคโลก

โอ่งสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) พบที่ วัดช้าง (วัดนาควัชรโสภณ) อำเภอเมืองกำแพงเพชร  มีขนาด สูง 105 เซนติเมตร ปากกว้าง 34 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 4,856

ครกพร้อมสาก

ครกพร้อมสาก

ครกพร้อมสาก  สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) พระครุวิเชียรธรรมดชติ เจ้าอาวาสวัดบาง อำเภอเมือง มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,230

ผอบสำริด

ผอบสำริด

ผอบสำริด  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-22) พบในบริเวณบ้านสรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายบุณส่ง มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 1,571

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช 1700-1800 มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)

 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,194

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,823

หินลับเครื่องมือ

หินลับเครื่องมือ

หินลับเครื่องมือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์(อายุประมาณ 1,500-2,500 ปีมาเเล้ว) พบที่เเหล่งโบราณคดีเขากะล่อน บ้านหาดชะอม ตำบลท่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้เช้าชม 2,472

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางป่าเลไลยก์

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางป่าเลไลยก์

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางป่าเลไลยก์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24-25) 

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,673

พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร)

พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร)

พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร)  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 9 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,415

ภาชนะสำริด

ภาชนะสำริด

ภาชนะสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 7,251

ตลับรูปนกพร้อมฝา

ตลับรูปนกพร้อมฝา

ตลับรูปนกพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 924