พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้ชม 1,818

[16.4880015, 99.520214, พระพุทธรูปปางมารวิชัย]

ลักษณะ                
           พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเรียบ ลักษณะพระพักตร์แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมของช่างฝีมือกำแพงเพชรโดยเฉพาะ คือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม พระขนงโก่งต่อกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตรเรียวและเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย ขอบพระโอษฐ์ด้านบนบาง ฝีพระโอษฐ์ล่างหนาเต็มอิ่ม อมยิ้มเล็กน้อยแฝงพระเมตตาก่อให้เกิดความรู้สึกสงบร่มเย็นต่อผู้พบเห็น พระกรรณยาว ปลายพระกรรณโค้งงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาเล็ก พระอุษณีษะทำเป็นต่อมนูนใหญ่ทรงมะนาวตัด พระรัศมีรูปเปลวเพลิง ส่วนยอดของเปลวรัศมีชำรุดหักไปเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นหระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรบนพระอังสาซ้ายได้ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายชายจีวรตัดตรง พระหัตถ์ซ้ายวางหงายเหนือพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระสงฆ์ ปลายนิ้วพระหัตถ์ชี้ลงเบื้องล่างเพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยานว่า ในชาติก่อนๆ พระองค์ได้สั่งสมบำเพ็ญบารมีมาเพียงพอที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้ แม่พระธรณีจึงบีบมวยผมหลั่งน้ำออกมาไหลท่วมเหล่ามาร

การเดินทาง
         
  ตั้งอยู่ระหว่างโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม กับพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)  ฝั่งตรงข้ามกับวัดพระธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ภายในเขตเมืองเก่ากำแพงเพชร

ราคา/ค่าเข้าชม/ค่าทำเนียม             
            ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ยกเว้นนักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ นักบวชทุกศาสนา คนพิการ และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

วันและเวลาทำการ             
            09.00 น.-16.00 น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ 
            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

คำสำคัญ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพุทธรูปปางมารวิชัย. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=335&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=335&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

หุ่นจำลองรูปมวยปล้ำ

หุ่นจำลองรูปมวยปล้ำ

หุ่นจำลองรูปมวยปล้ำ  ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 860

ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด

ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด

ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรตที่ 21-22)

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,904

ขันสำริด

ขันสำริด

ขันสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่วัดคงหวาย จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 3,111

โอ่งสังคโลก

โอ่งสังคโลก

โอ่งสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) พบที่ วัดช้าง (วัดนาควัชรโสภณ) อำเภอเมืองกำแพงเพชร  มีขนาด สูง 105 เซนติเมตร ปากกว้าง 34 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 4,833

กระเบื้องเชิงชาย

กระเบื้องเชิงชาย

กระเบื้องเชิงชาย ศิลปะอยุธยา  (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,391

พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา ขนาด สูงฐาน 1.55 เซนติเมตร อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ สำริด ประวัติ องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกายพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 17,161

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด กว้าง 2.70 เมตร สูง 3.30 เมตร อายุสมัย สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ อิฐ ฉาบปูน  ประวัติพระพุทธรูปองค์นี้ ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง พระกรรณทั้งสองข้างยาว ปลายงอนออก เม็ดพระศกเป็นก้นหอย พระอุษณีษะเป็นรูปมะนาวตัด พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงแบบพระองค์ ชายสังฆาฏิจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ขัดสมาธิราบ ประทับนั่งบนอาสนาดอกบัว

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 930

กระปุกดินเผา

กระปุกดินเผา

กระปุกดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,729

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชร

ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 789

เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน

เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน

เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,488