ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 9,327

[16.4821705, 99.5081905, ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ]

       ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆ จะน่าดูกว่ามาก    
       ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ มีผู้ถามมาว่า พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ
       การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุดังนี้
       1. การสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน
       2. สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุ ต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด
       3. ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆจะน่าดูกว่ามาก
       เมื่อเป็นดังที่ว่านี้แล้ว ขอแนะนำให้ดูพิมพ์เป็นประการแรก จากนั้นจึงพิจารณาเนื้อ และธรรมชาติ คำแนะนำก็คือว่าท่านต้องแม่นพิมพ์ และพยายามดูพระแบบเดียวกันหลายๆลักษณะ ถ้ามีโอกาสได้ดูพระแท้ๆ ก็ส่องพิจารณาจดจำไว้ พระแท้จะเป็นครูของเรามากกว่าตำราเล่มใด

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ. สืบค้น 30 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1175&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1175&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 39,152

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 11,705

พระอู่ทองวังพาน

พระอู่ทองวังพาน

พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,612

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด... 

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,004

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,441

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 11,895

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,826

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,615

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,334

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 37,615