พระกำแพงเม็ดมะลื่น

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 4,351

[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงเม็ดมะลื่น]

           ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย
           พระกำแพงเม็ดมะลื่น จัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียง แห่งเดียว การแตกกรุของพระพิมพ์ทรงนี้มีแตกกรุขึ้นเป็นจำนวนมาก พอๆ กันกับ พระกำแพงลีลาพลูจีบหรืออาจจะน้อยกว่าเสียด้วยซ้ำ และประการที่สำคัญก็คือ เป็นพระที่มีการแตกกรุมาจากฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ครั้งแรกมีการแตกกรุของพระพิมพ์ทรงนี้เพียง7หรือ8องค์ เท่านั้น นับว่ามีน้อยมาก ทั้งๆ ที่พระชนิดอื่นๆ มีเป็นร้อยองค์ 
          พุทธลักษณะ   
          พระ กำแพงเม็ดมะลื่นนี้ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน กรุเก่า ที่แตกกรุจากทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น ขนาดพิมพ์ทรงของพระกำแพงเม็ดมะลื่นวัดได้ขนาด2.5ถึง3.5ซม. พระกำแพงเม็ดมะลื่น ก็เป็นพระตระกูลนางกำแพงเพชรอีกพิมพ์หนึ่ง แต่ที่รูปทรงสัณฐานจะผิดเพี้ยนไปจากพระนางกำแพงเพชรก็ตรงที่พระพิมพ์ทรงนี้ มีปีกกว้างใหญ่ บางองค์ปีกอยู่ในลักษณะเกือบกลีบบัว พุทธลักษณะและเนื้อหาของพระกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระนั่งปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร ประทับนั่งแบบลอยองค์อยู่บนฐานเขียง
           มีลักษณะพิมพ์ทรงคือ 
           พระเกศ มีอยู่สองลักษณะ คือพระบางพิมพ์มีพระเกศเป็นตุ้มแบบพระบูชาเชียงแสนเกศตุ้ม จะเห็นได้อย่างชัดเจน และอีกอย่างหนึ่งมีพระเกศยาว จึงกล่าวได้ว่า พระกำแพงเม็ดมะลื่นนั้นมีพระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้มเกศบัวตูม และพระเกศแบบยาว เข้าใจว่าผู้สร้างพระเครื่องสมัยก่อนคงจะนึกถึงประติมากรรมทางพระเครื่องของ สมัยเชียงแสน ซึ่งกำเนิดก่อนสมัยสุโขทัย จึงมองภาพและรำลึกถึงภาพศิลปะทางพระเครื่องสมัยเชียงแสนว่ามีรูปร่างความ เป็นมาอย่างไร และผู้สร้างพระพิมพ์ทรงนี้คงจะมองการณ์ไกลเพื่อให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ ตีค่าศิลปกรรมทางพระเครื่องเอาเอง เป็นการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาไปในตัวด้วย คนโบราณนั้นฉลาดมาก จึงได้คิดสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นที่มีพระเกศตุ้มเป็นในลักษณะเชียงแสน และศิลปะสุโขทัย โดยสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นที่มีพระเกศตุ้มเป็นในลักษณะเชียงแสน และสร้างพระกำแพงเม็ดมะลื่นอีกพิมพ์หนึ่งเช่นกันที่มีพระเกศแหลมเป็นศิลปะ สุโขทัยนับว่าเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรทีเดียว 
           พระนาสิก พระกำแพงเม็ดมะลื่นในองค์ที่ชัดๆ และงามพอควรจะมีปรากฏพระนาสิกเห็นเป็นเส้นรางๆ เกือบลบเลือน ในองค์ที่ผ่านการใช้มาแล้วจะมองไม่เห็นเลย 
           พระพักตร์ ของพระกำแพงเม็ดมะลื่นจะมีลักษณะพระพักตร์คล้ายกับพระนางกำแพงเพชร และนางกลีบบัว แต่รูปทรงของพระพักตร์จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
           พระขนง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางองค์ แต่พระขนงจะไม่มีปรากฏให้เห็นทั้งสองข้าง โดยมากจะมีปรากฏให้เห็นเพียงข้างเดียวไม่ข้างซ้ายก็ข้างขวา แต่ลักษณะของพระขนง ไม่ค่อยชัดเจนอันเนื่องมาจากบางองค์มีพระเนตรโตเบียดบังไปหมด
           พระเนตร ในพระองค์ที่ชัดๆ จะมีปรากฏพระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่ลักษณะพระของพระเนตรใหญ่ข้างเล็กข้าง ไม่มีความสม่ำเสมอ จึงเอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้ในพระพิมพ์ทรงนี้ ว่าพระเนตรข้างไหนจะใหญ่และเล็กกว่ากัน
           พระโอษฐ์ ก็เช่นกันในพระพิมพ์ทรงนี้ แต่ลักษณะของพระโอษฐ์มักจะรางเลือน ไม่เหมือนพระโอษฐ์ของพระนางกำแพงเพชรซึ่งมีความคมชัดกว่า
           พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏให้เห็นแต่เพียงรำไรในส่วนบนข้างปลายตา (พระเพชร) โดยพระกรรณนั้นลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น และถ้าไม่พิจารณาให้ดีแล้ว จะมองคล้ายเป็นว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นไม่มีพระกรรณ
            พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์ทรงเหมือนพระนางกำแพงพชร และนางกลีบบัว
            พระอังสา ทางด้านซ้ายและด้านขวามีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นน้อยๆ ทั้งสองด้าน แต่การยกขึ้นของพระอังสานั้นมีไม่มาก เพียงแต่ยกให้ได้ส่วนสัดขององค์พระเท่านั้น โดยพระอังสาทั้งสองข้างอยู่ในระดับแถวเดียวกันและชัดเจนกว่าพระตระกูลนาง กำแพงเพชรทั่วๆ ไป
            พระอุระ อยู่ในรูปแบบทรงอกตั้ง ในบางองค์จะเห็นพระอุระดูอวบนูนเด่นชัดเจน แต่ในทางตรงกันข้ามในบางองค์ พระอุระก็ดูตื้นและบอบบาง แต่ก็ยังทรงไว้ซึ่งพระกำแพงเม็ดมะลื่น
            พระสังฆาฏิ ของพระกำแพงเม็ดมะลื่น ทั้งมีปรากฏให้เห็นชัดเจนและไม่มีปรากฏให้เห็น ในบางองค์ที่พระอุระดูลึกก็จะมีปรากฏพระสังฆาฏิ และในองค์ที่ตื้นๆ พระสังฆาฏิจะไม่ค่อยมีปรากฏให้เห็น
            พระพาหา มีแนวโน้มที่เหมือนกับพระนางกำแพงเพชร โดยพระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงข้อศอกแล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนหน้าตักตรงส่วนกลางของพระเพลาพอดี มองดูแล้วคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร ที่มีการทอดพระพาหาเบื้องขวา วางทอดลงสู่เบื้องล่างเกือบจะเป็นแนวดิ่ง แล้ววางพระหัตถ์ขวาทาบอยู่บนพระเพลาทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเข่านอก
            พระเพลา มีลักษณะของการซ้อนพระเพลาแบบพระนางกำแพงเพชรทั่วๆ ไป โดยเป็นลักษณะของพระเพลาขวาทับพระเพลาซ้ายลำ พระองค์ มีทั้งแบบทรงแบบลึกและแบบตื้น และลักษณะพิมพ์ทรงก็มีลักษณะทั้งเชียงแสน และสุโขทัย จึงคิดว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นนั้นมองได้สองลักษณะดังกล่าวข้างต้น
            พระอาสนะ ทำเป็นรูปแบบฐานเขียงหรือฐานหมอน และลักษณะของฐานนั้นจะมีความเขื่องกว่าพระนางกำแพงเพชร และนางกลีบบัวเล็กน้อย   
            ซุ้มเรือนแก้ว และรอยเข็มของพระกำแพงเม็ดมะลื่นไม่มีปรากฏให้เห็น
            ปีก พระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้มีลักษณะของปีกใหญ่และกว้างมากในบางองค์และบางพิมพ์ จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก และลักษณะของขอบปีกซึ่งมีเป็นเส้นนูนนั้น จะมีปรากฏเป็นบางที่เท่านั้นไม่ตลอดทั้งพิมพ์ทรง แต่ในบางองค์ลักษณะของปีกก็ดูราบเรียบ ปีกของพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้บางองค์มีลักษณะเกือบทรงกลม แต่ในบางองค์ก็มีลักษณะทรงเรียวใหญ่ คล้ายกับกลีบบัวใหญ่ๆ ในพระตระกูลนางกำแพงเพชร พิมพ์ทรงเม็ดมะลื่นตั้งแต่ช่วงจากองค์พระไปหาปีกจะมีลักษณะแอ่งกลางเล็กน้อย และที่สำคัญของพระกำแพงเม็ดมะลื่นก็คือ ที่ขอบของปีกจะไม่มีลักษณะของความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
 ด้านหลัง มีลักษณะของการอูมนูนไม่มากก็น้อย แต่ให้เป็นที่น่าสังเกตว่าพระกำแพงเม็ดมะลื่นของแท้ทุกองค์จะมีลักษณะของ ด้านหลังอูมนูนทุกองค์ และนิ้วมือมีปรากฏให้เห็นในบางที ที่เป็นรอยแอ่งๆ ในเนื้อพระ
            พุทธคุณ  พุทธคุณดีในทางโภคทรัพย์เมตตามหานิยม โชคลาภแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีก็เคยเป็นที่ปรากฏเหมือนกัน

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : เอนก เจกะโพธิ์. (2551, สิงหาคม). พระกำแพงเม็ดมะลื่น. ลานโพธิ์, 1004(1).

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงเม็ดมะลื่น. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1159&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1159&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,223

กรุวัดกระโลทัย

กรุวัดกระโลทัย

ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 3,693

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,046

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,824

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 147,898

กรุ สปจ.

กรุ สปจ.

ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,278

พระสามพี่น้อง

พระสามพี่น้อง

ถ้ากล่าวถึงพระสามพี่น้องนั้น มีอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกันพระพุทธรูปบางองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระสามพี่น้อง เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเดียวกัน บ้างก็เรียกเพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันเช่นพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา แต่พระสามพี่น้องที่กล่าวถึงนี้ เชื่อว่าสร้างโดยชายพี่น้องสามคน คนหนึ่งเกิดวันพุธ จึงสร้างพระปางอุ้มบาตร ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อบ้านแหลม อีกคนเกิดวันพฤหัสจึงสร้างพระปางสมาธิ คือหลวงพ่อโสธร แต่อีกคนไม่ได้สร้างพระประจำวันเกิดแต่สร้างพระเกตุ หรือพระปางมารวิชัย ซึ่งพระปางมารวิชัยองค์นี้แหละที่มีถึงสามวัดที่อ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำวัดของตนเอง คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ซึ่งบางคนก็เลยรวมเรียกแบบถนอมน้ำใจเหมารวมหมดเลยว่าพระห้าพี่น้อง

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,175

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,470

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,737

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 32,277