กรุ สปจ.

กรุ สปจ.

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้ชม 4,288

[16.4828178, 99.5242695, กรุ สปจ.]

ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่
1. พระสังกัจจายณ์ เนื้อดิน
2. พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง เนื้อดิน
3. พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม เนื้อดิน
4. พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ เนื้อดิน
5. พระนางพญากำแพง เนื้อดิน
6. พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง เนื้อดิน
7. พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว เนื้อดิน
8. พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง เนื้อดิน
    และพิมพ์อื่นๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กำแพงเพชร กรุพระ

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุ สปจ.. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1211&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1211&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่างๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 19,661

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 12,342

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 24,346

กรุวัดช้างรอบ

กรุวัดช้างรอบ

ที่ตั้งกรุพระวัดช้างรอบ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พระท่ามะปราง พระนางพญากำแพง พระเม็ดมะเคล็ด พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระท่ามะปราง พระลีลากำแพง พระอู่ทองกำแพง พระกลีบบัว พระงบน้ำอ้อยพิมพ์สิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,386

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 17,470

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,523

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,960

กรุวัดพระสิงห์

กรุวัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,503

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 6,216

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,289