บอน

บอน

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้ชม 15,003

[16.4534229, 99.4908215, บอน]

บอน ชื่อสามัญ Elephant ear, Cocoyam, Dasheen, Eddoe, Japanese taro, Taro
บอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia esculenta (L.) Schott[1] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Colocasia esculenta var. aquatilis Hassk.)[6] จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)
บอน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตุน (เชียงใหม่), บอนหอม (ภาคเหนือ), บอนจืด (ภาคอีสาน), บอนเขียว บอนจีนดำ (ภาคกลาง), บอนท่า บอนน้ำ (ภาคใต้), คึ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ขื่อที้พ้อ ขือท่อซู่ คึทีโบ คูชี้บ้อง คูไทย ทีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กลาดีไอย์ (มาเลย์-นราธิวาส), กลาดีกุบุเฮง (มาเลย์-ยะลา), เผือก บอน (ทั่วไป), บอนหวาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นบอน
         ต้นบอน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย[11] โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ
         ใบบอน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนแผ่ออกรอบต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปหัวใจหรือรูปโล่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-35 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ก้านใบออกที่ตรงกลางแผ่นใบ โคนใบแยกเป็นแฉกสองแฉก ด้านหน้าใบเป็นสีเขียว เรียบไม่เปียกน้ำเพราะผิวใบเคลือบไปด้วยไข (Wax) ส่วนด้านหลังใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือม่วงหรือเป็นสีขาวนวล มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ในแต่ละกอจะมีประมาณ 7-9 ใบ ก้านใบยาวออกจากต้นใต้ดิน ก้านใบยึดกับด้านล่างของใบ ก้านใบเป็นสีเขียวแกมม่วงหรือสีเขียวแกมเหลือง ก้านใบยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร
          ดอกบอน ออกดอกเป็นช่อเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ออกจากลำต้นใต้ดิน มีกาบสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวลหุ้มอยู่ ยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ฉ่ำน้ำ (รูปที่ 2 โคนดอกสีเขียวคือดอกเพศเมีย ส่วนสีเหลืองปลายยอดคือดอกเพศผู้) ดอกเป็นกระเปาะสีเขียวเป็นแท่งอยู่ตรงกลาง มีกลิ่นหอมและต่อมาจะกลายเป็นผลเล็ก ๆ จำนวนมากที่ประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบหัวใหญ่
          ผลบอน ผลเป็นผลสดสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดน้อย

สรรพคุณของบอน
1. น้ำจากลำต้นใต้ดินเป็นยาแก้ไข้ (น้ำจากลำต้นใต้ดิน)
2. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง (ราก)
3. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
4. หัวใช้เป็นยาระบาย (หัว)
5. ช่วยขับปัสสาวะ (หัว)
6. หัวมีรสเมาคัน ใช้เป็นยาแก้เถาดานในท้อง กัดฝ้าหนอง (หัว)
7. หัวและน้ำจากก้านใบใช้เป็นยาห้ามเลือด (หัว, น้ำจากก้านใบ)
8. ลำต้นนำมาบดใช้เป็นยาพอกรักษาแผล รวมทั้งแผลจากงูกัด (ลำต้น)
9. น้ำจากลำต้นใต้ดินใช้เป็นยาแก้พิษแมลงป่อง (น้ำจากลำต้นใต้ดิน)
10. ก้านใบมีรสเย็นคัน นำมาตัดหัวท้ายออกแล้วนำไปลนไฟบิดเอาน้ำใช้หยอดแผลแก้พิษคางคก (ก้านใบ)
11. น้ำยางใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (น้ำยาง)
12. ยางใช้เป็นยาช่วยกำจัดหูด (ยาง)
13. ไหล หัว หรือ เหง้านำมาตำผสมกับเหง้าขมิ้น กะปิ ขี้วัว และเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกรักษาฝีตะมอย (ไหล)
14. น้ำคั้นจากก้านใบใช้เป็นยานวดแก้อาการฟกช้ำ (น้ำคั้นจากก้านใบ)
15. หัวช่วยขับน้ำนมของสตรี (หัว)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นบอน
1. ในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดจากใบบอนแห้งด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อหนอง มีเส้นใยช่วยในการดูดซับสารก่อกลายพันธุ์
2. สารสกัดจากรากบอนด้วยเอทิลอะซิเตตมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอก แต่ควรมีการทำการวิจัยต่อไป
3. หัวใต้ดินของต้นบอนมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต
4. น้ำจากก้านใบมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้นและทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ทำให้บวมแดง

ประโยชน์ของบอน
1. ไหลและหัวใต้ดินนำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นอาหารได้ ส่วนใบอ่อนและก้านใบอ่อน สามารถนำมาใช้ทำอาหารประเภทต้มได้ เช่น แกงส้ม แกงกะทิ แกงบอน เป็นต้น หรือจะนำมาลอกจิ้มน้ำพริกรับประทาน แต่ต้องทำให้สุกก่อนจึงจะไม่คัน โดยนำมาต้ม
     2-3 ครั้ง แล้วคั้นเอาน้ำทิ้งหรือนำไปเผาไฟก่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร (เวลาปอกเปลือกควรสวมถุงมือและสับเป็นท่อน ๆ ก่อนนำไปต้ม) นอกจากนี้ก้านบอนยังนำมาดองได้อีกด้วย
2. ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ใบบอนมาต้มให้หมูกิน หรือจะใช้ก้านใบนำมาสับผสมเป็นอาหารหมู
3. ใบบอนมีคุณสมบัติพิเศษคือไม่เปียกน้ำ เพราะมีขี้ผึ้งเคลือบผิวใบอยู่ จึงนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการห่อของได้ เช่น การใช้ห่อข้าวหมาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำมาใช้ตักน้ำดื่มยามไม่มีภาชนะได้อีกด้วย
4. ต้นบอนสามารถทำรายได้ให้กับชาวบ้านด้วยการตัดก้านบอนมาลอกเปลือกแล้วตากให้แห้ง ส่งขายเป็นสินค้าส่งออกอย่างหนึ่ง
5. ใบบอนดูแล้วมีความสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบนะครับ อีกทั้งต้นบอนยังช่วยรักษาฝายชั่ง แม่น้ำลำคลอง ไม่ให้ถูกกัดเซาะจากคลื่นได้อีกด้วย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับบอน
1. วิธีการเลือกบอน ให้เลือกใช้ต้นอ่อนพันธุ์สีเขียวสดและไม่มีสีขาวนวลเคลือบอยู่ตามแผ่นใบและก้านใบ โดยบอนสีเขียวสดจะเรียกว่า "บอนหวาน" (ชนิดคันน้อย) ส่วนชนิดที่มีสีซีดกว่าและมีสีขาวนวลกว่าจะเรียกว่า "บอนคัน" (ชนิดคันมาก) ส่วนที่นำมาใช้
    แกงคือ หลี่บอน เป็นยอดอ่อนหรือใบอ่อนของบอนที่อยู่ใกล้กับโคนต้น
2. ก่อนการปอกเปลือกก้านบอนถ้าไม่ใส่ถุงมือ ก็ให้ทามือด้วยปูนแดงที่กินกับหมากให้ทั่วทั้งมือก่อน เวลาปอกควรล้างบอนให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
3. ห้ามล้างด้วยน้ำเย็น แล้วนำไปต้มใส่ในน้ำเดือดและคั้นน้ำทิ้งประมาณ 2-3 ครั้งก่อนนำไปประกอบอาหาร แต่บางคนอาจนำไปเผาก่อนก็ได้ หรือจะนำไปปรุงกับเครื่องปรุงที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขามเปียก มะดัน ส้มป่อย น้ำมะกรูด เป็นต้น หรือจะนำมาขยำกับ
     เกลือเพื่อให้ยางบอนออกมากที่สุดเพื่อช่วยดับพิษคันหรือช่วยทำลายผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ที่มีอยู่มากในต้นบอน
4. การนึ่งบอนต้องนึ่งให้สุก จับดูแล้วมีลักษณะนิ่มจนเละ เพราะถ้าบอนไม่สุก เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการระคายคอได้
5. ในการปรุงแกงบอน หากไม่ใช้น้ำมะขามเปียก ก็ให้ใช้น้ำส้มป่อยแทนก็ได้
6. แม่ครัวสมัยก่อนจะถือเคล็ดด้วยว่า หากปรุงอาหารด้วยบอนอยู่นั้น ห้ามใครเอ่ยถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความคันเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการคันขึ้นมาจริง ๆ ทั้งผู้ปรุงและผู้รับประทาน

ความเป็นพิษของต้นบอน
         น้ำยางและลำต้นหากสัมผัสผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการคันและปวดแสบปวดร้อน แล้วต่อมาจะเกิดอาการอักเสบ บวมและพองเป็นตุ่มใส หากนำมาเคี้ยวหรือรับประทานสดจะทำให้เกิดอาการคันคออย่างรุนแรง เนื่องจากผลึกของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ทำให้เกิดน้ำลายมาก ทำให้บวมบริเวณลิ้น ปาก เพดาน และใบหน้า ทำให้พูดจาลำบาก หากมีอาการเป็นพิษรุนแรงจะทำให้พูดไม่ได้ ลิ้นหนัก คันปาก ลำคอบวมและอักเสบอย่างรุนแรง

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). บอน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=21

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=21&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มาจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น ผักขึ้นฉ่าย มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน หรือ "Chinese celery" ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบค่อนข้างแก่ ส่วนสรรพคุณก็จะคล้ายๆ กัน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,833

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,258

ติ้วขาว

ติ้วขาว

ต้นติ้วขาว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้นมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,488

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,300

กระชาย

กระชาย

กระชายนั้นเป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น อวบน้ำ สามารถแตกรากและหน่อได้ดี รูปทรงกระบอก ปลายเรียว บริเวณผิวมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ โคนใบมนแหลม ขอบเรียบ ส่วนดอกกระชายนั้นเป็นช่อเชิงลด โดยแต่ละดอกจะมีใบประดับอยู่ 2 ใบ สีขาวหรือชมพูอ่อน และผลของกระชายนั้นมักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่อาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า หรือเมนูผัดต่างๆ แถมยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ในอาหารได้ดีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,975

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,879

ข่อย

ข่อย

ลักษณะเป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือกลาง เปลือกขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ หรือรูปรี โนสอบ ขอบใบหยัก ดอกสีเหลืองแกมเขียวออกเป็นช่อสั้น ผลเป็นผลสดทรงกลมเมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ ประโยชน์ เปลือกต้น แก้ท้องร่วง บิด รำมะนาด ปวดฟัน โรคผิวหนัง รักษาแผลเมล็ดบำรุงธาตุเจริญอาหาร ขับลม  แก่น ม้วนบุหรี่สูบรักษาริดสีดวงจมูก เปลือกต้ม ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,713

ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้ (Lemon Grass) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เยี่ยงเฮื้อ และภาคอีสานเรียก สิงไค เป็นต้น ซึ่งตะไคร้นั้นเป็นพืชสมุนไพรที่กำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย อิน พม่า ศรีลังกา อินโดนีเซีย และไทย โดยนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ รับประทาน นับเป็นสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนนิยมปลูกในบ้าน เรียกได้ว่าเป็นพืชผักสวนครัวก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นทั้งยารักษาโรคแถมยังมีวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายอีกมากมายเลยทีเดียว โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบในอาหารของไทยอย่างต้มยำที่หลายๆ คนชอบรับประทานกัน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,681

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,745

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,016