หนามโค้ง

หนามโค้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 3,585

[16.4258401, 99.2157273, หนามโค้ง]

หนามโค้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia furfuracea (Prain) Hattink (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mezoneuron furfuraceum Prain, Mezoneuron glabrum sensu Baker, Mezoneurum furfuraceum Prain) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรหนามโค้ง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นวม (ลำปาง), งวม ผักงวม (อุตรดิตถ์), พาย่วม หนามโค้ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของหนามโค้ง

  • ต้นหนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหนามโค้ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก
  • ดอกหนามโค้ง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ
  • ผลหนามโค้ง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

สรรพคุณของหนามโค้ง

  • ฝักมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ฝัก)
  • รสเปรี้ยวฝาดของฝักใช้เป็นยาช่วยกัดเสมหะ (ฝัก)
  • ฝักใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการย่อยอาหาร (ฝัก)
  • ใช้เป็นยาสมานท้อง (ฝัก)

ประโยชน์ของหนามโค้ง

  • ฝักอ่อนใช้ทำเป็นยำผักงวม ซึ่งเครื่องปรุงที่ต้องใช้จะประกอบไปด้วยฝักอ่อนผักงวม 2 กำ, พริกแห้ง 6-7 เม็ด, หอมแดง 4 หัว, ข่า 1 แว่น, ตะไคร้ 1-2 ต้น, ปลาร้าหรือกะปิ, เกลือ, ปลาสด และน้ำมะกรูด ส่วนขั้นตอนการทำนั้นให้โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้ละเอียดก่อน แล้วต้มปลาให้สุก แกะเนื้อครึ่งหนึ่งลงไปโขลกกับน้ำพริก หั่นฝักผักงวมให้เป็นฝอยละเอียด แล้วนำลงไปคลุกเคล้ากับน้ำพริกให้ทั่ว เติมน้ำปลาและเนื้อปลาแกะที่เหลือให้มีน้ำพอเปียก จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำมะกรูด เป็นอันเสร็จ ใช้รับประทานกับข้าวเหนียว

คำสำคัญ : หนามโค้ง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนามโค้ง. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1763&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1763&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เถาตดหมา

เถาตดหมา

เถาตดหมา จัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนล้มลุก มักเลื้อยตามพื้นดิน ลำต้นเล็กและเรียว เถานั้นมีความยาวได้ประมาณ 4 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือมีปีกแคบ ๆ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ในมาดากัสการ์ แอฟริกา ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน และในประเทศมาเลเซีย จนถึงทางตอนบนของออสเตรเลีย ส่วนในประเทศพบขึ้นเป็นวัชพืชทั่วทุกภาค โดยมักพบขึ้นตามที่โล่ง ท้องไร่ ท้องนา ข้างถนน ชายป่า ริมลำธาร หรือชายทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,216

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,467

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,857

ผักหนอก

ผักหนอก

ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 5,078

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,251

กาหลง

กาหลง

ต้นกาหลงนี้จัดเป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร มีเปลือกเรียบสีน้ำตาล มีใบเดี่ยวรูปไข่ออกเรียงสลับกัน โดยปลายใบนั้นจะเว้าลึกเข้ามาถึงเกือบครึ่งใบ โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายเส้นกลางใบเป็นติ่งแหลมๆ และปลายแฉกทั้งสองข้างจะแหลม ผลัดใบช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วจะขึ้นมาใหม่ในช่วงหน้าร้อน หรือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม ส่วนดอกนั้นจะมีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2-3 ดอก มีดอกย่อยสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ บริเวณปลายกลีบมน โคนสอบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวติดกันอยู่ และผลเป็นฝักแบน ขอบฝักจะเป็นสันหนาๆ แต่ปลายและโคนฝักจะสอบแหลม ตลอดจนปลายฝักมีติ่งแหลมๆ ยื่นออกมา โดยต้นกาหลงนี้จะออกผลในเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,555

สับปะรด

สับปะรด

สับปะรด มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ มักจะอยู่ใกล้ ๆ ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเราก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย (สับปะรดศรีราชา ผลใหญ่ เนื้อฉ่ำ สีเหลืองอ่อน), พันธุ์อินทรชิต (หรือพันธุ์พื้นเมือง), พันธุ์ภูเก็ต (ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ), พันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด) เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,984

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,270

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,326

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,290