ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 34,963

[16.4258401, 99.2157273, ว่านลูกไก่ทอง]

ว่านลูกไก่ทอง ชื่อสามัญ Golden Moss, Chain Fern.

ว่านลูกไก่ทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cibotium barometz (L.) J.Sm. จัดอยู่ในวงศ์ CIBOTIACEAE

สมุนไพรว่านลูกไก่ทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ว่านไก่น้อย (ทั่วไป), แตดลิง (ตราด), ขนไก่น้อย (เลย), หัสแดง (นครราชสีมา), นิลโพสี (สงขลา, ยะลา), กูดเสือ โพลี (ปัตตานี), กูดผีป่า กูดพาน ละอองไฟฟ้า เฟินลูกไก่ทอง เฟิร์นลูกไก่ทอง (ภาคเหนือ), หัสแดง (ภาคใต้), เกาแช กิมซีม้อ กิมม๊อเกาจิก (จีนแต้จิ๋ว), จินเหมาโก่วจี๋ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านลูกไก่ทอง

  • ต้นว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร
  • ใบว่านลูกไก่ทอง ก้านใบเป็นสีเทามีความแข็งแรงมาก ส่วนที่โคนจะมีขนสีทองยาวขึ้นปกคลุมอยู่ ลักษณะของตัวใบใหญ่รีแหลมเป็นรูปขนนก 3 ชั้น ยาวได้ถึง 2 เมตร ตัวใบส่วนล่างรีแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ใบส่วนบนค่อย ๆ เล็กลง ปลายสุดเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเทาคล้ายกับมีแป้งเคลือบอยู่ ส่วนอับสปอร์จะเกิดที่ริมใบ มีลักษณะกลมโต แต่ละรอยหยักของตัวใบจะมีอับสปอร์อยู่ประมาณ 2-12 กลุ่ม เยื่อคลุมอับสปอร์เป็นสีน้ำตาล และใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร

สรรพคุณของว่านลูกไก่ทอง

  1. ตำรับยาบำรุงกำลังและกระดูก ระบุให้ใช้เหง้าแห้งของว่านลูกไก่ทอง, โกฐเชียง, รากหง่วงจี้เน็ก และโป่งรากสนเอาเปลือกออก อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ด ใช้กินกับเหล้าครั้งละประมาณ 50 เม็ด (เหง้า)
  2. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาระบายและช่วยย่อย เหมาะสำหรับเป็นยาของผู้สูงอายุ (เหง้า)
  3. เหง้าใช้เป็นยาขับพยาธิ (เหง้า)
  4. ตำรับยาแก้ปัสสาวะมาก ระบุให้ใช้เหง้าแห้งของว่านลูกไก่ทอง, ลูกบักกวย, เปลือกต้นโต่วต๋ง และเปลือกรากโงวเกียพ้วย อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เหง้า)
  5. แก้ปัสสาวะไม่รู้ตัวหรือช้ำรั่ว ปัสสาวะกะปริบกะปรอยเป็นสีเหลือง สำหรับผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ใช้เหง้าแห้ง 15 กรัม, ราพังทึ้งก้วง 15 กรัม, รากเชียวจั้ง 15 กรัม, และใบไต่แม้กวยมึ้ง 15 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูกิน (เหง้า)
  6. ส่วนสตรีที่มีอาการตกขาวมากผิดปกติ ให้ใช้เหง้าที่เอาขนออกแล้ว, เต็งย้ง (เขากวางอ่อนนึ่งด้วยน้ำส้ม แล้วเผา), แปะเกี่ยมสด นำมาบดให้เป็นผง ใช้ต้นหนาดใหญ่ต้มกับน้ำส้มสายชูผสมข้าวเหนียว นำไปต้มแล้วบดให้เหนียว ผสมทำเป็นยาเม็ด ใช้กินตอนท้องว่างครั้งละประมาณ 50 เม็ด (เหง้า)
  7. ใช้รักษาอาการน้ำกามเคลื่อน (เหง้า)
  8. ช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น (เหง้า)
  9. ใช้เป็นยาบำรุงตับและไต (เหง้า)
  10. ใช้รักษาบาดแผลสด แผลจากปลิงดูด สุนัขกัด ถูกของมีคมบาดทุกชนิด เหยียบตะปู ช่วยห้ามเลือดจากแผลสด ทำให้เลือดแข็ง หรือใช้หลังการถอนฟัน ด้วยการใช้ขนจากเหง้าที่ตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงใช้โรยลงบนบาดแผล (ผงที่บดจากขนจะมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ดีที่สุด) (ขนจากเหง้า)
  11. เหง้ามีรสขม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก รักษาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย รักษาแขนขาอ่อนไม่มีแรง ทำให้หลังและขาที่อ่อนเพลียแข็งแรง แก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากลมชื้น แก้อัมพฤกษ์ แก้เหน็บชา (เหง้า)
  12. ใช้รักษาขาบวม หลังจากฟื้นไข้ ด้วยการนำเหง้ามาต้มเอาน้ำใช้ชะล้าง แล้วให้กินอาหารอ่อน ๆ ครั้งละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป (เหง้า)
  13. ตำรับยารักษาอาการปวดขา ปวดเอว ระบุให้ใช้เหง้าแห้งประมาณ 60 กรัม และเมล็ดฝอยทอง 30 กรัม นำมาดองกับเหล้าไว้ 3 วัน แล้วนำไปตากให้แห้ง นำมารวมกันบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นยาเม็ด (ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว) ใช้กินตอนท้องว่างก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละประมาณ 30 เม็ด ส่วนตำรับยารักษาอาการปวดเอวอีกตำรับ ระบุให้ใช้เหง้าแห้ง, ลูกบักกวย, เปลือกต้นโต่วต๋ง และเปลือกรากโงวเกียพ้วย อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เหง้า)
  14. ตำรับยาแก้ปวดน่อง ปวดเอว อัมพฤกษ์ ระบุให้ใช้เหง้า 15 กรัม, ไหฮวงติ้ง 12 กรัม, มะละกอจีน 12 กรัม, หงู่ฉิก 10 กรัม, กิ่งหม่อน 10 กรัม, สกต๋วง 10 กรัม, โต่วต๋ง 10 กรัม, ฉิ่งเกา 10 กรัม และกิ่งอบเชยอีก 6 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำหรือดองกับเหล้ากินเป็นยา (เหง้า)
  15. ตำรับยารักษาอาการปวดข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ โรครูมาติสซั่ม แขนและขาไม่มีแรง ระบุให้ใช้เหง้าแห้ง, ต้นและรากนังด้งล้าง, รากอบเชยญวน, รากพันงู, รากซกต๋วง, เปลือกต้นโต่วต๋ง, และใบพวงแก้วมณี นำมาแช่กับเหล้าใช้กินเป็นยา (เหง้า)

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ให้ใช้เหง้าครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนขนให้นำมาบดเป็นผง ใช้โรยบนบาดแผลภายนอกตามต้องการ

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการปัสสาวะขัด ปากขม ลิ้นแห้ง ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านลูกไก่ทอง

  • ในเหง้าว่านลูกไก่ทอง จะประกอบไปด้วยแป้งประมาณ 30% มีสารจำพวกแทนนิน และยังพบสารที่สกัดจากแมทธิวแอลกอฮอล์ คือ Kaempferol
  • จากการทดลองกับสุนัขและกระต่ายทดลอง พบว่า ขนจากเหง้าที่นำมาบดให้เป็นผง มีฤทธิ์ห้ามเลือดในแผลสด บาดแผลของเนื้อเยื่อ แผลเป็น และบาดแผลของตับและม้าม เพราะมีผลทางกายภาพ ทำให้เกิดเม็ดเลือดเร็วขึ้น ส่วนผงที่บดจากขนจะมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ดีที่สุด มีฤทธิ์คล้ายกับปฏิกิริยาที่เกิดกับ Gelatin และฟองน้ำ จึงนิยมใช้ผงล้วน ๆ มาโรยลงบนบาดแผล และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ เนื้อเยื่อก็จะค่อย ๆ ดูดซึมผงจนหมดในที่สุด

ประโยชน์ของว่านลูกไก่ทอง

  1. ในบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงที่เกิดโรคติดต่อ เช่น สุนัข หมู วัว ควาย ฯลฯ ให้นำขนของว่านชนิดนี้ไปแช่กับน้ำให้สัตว์ที่ป่วยกิน จะทำให้สัตว์หายป่วย
  2. ใบแก่สามารถนำมาใช้ฟอกย้อมสีได้
  3. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป มีขนสีทองมองเห็นเด่นชัด ดูสวยงามแปลกตา

ในด้านของความเชื่อนั้นถือว่าว่านลูกไก่ทองเป็นว่านมหามงคล จัดเป็นว่านกายสิทธิ์ชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ติดบ้าน เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านการช่วยป้องกันภัยต่าง ๆ อีกทั้งยังถือเป็นว่านเสี่ยงทายอีกด้วย ถ้าหากต้นว่านลูกไก่ทองเจริญเติบโตขึ้นและได้ยินเสียงไก่ร้องในตอนกลางคืนดึกสงัด (เสียงร้อง “จิ๊บ ๆ” บางตำราว่าร้อง “กุ๊ก ๆ”) ก็สามารถทำนายทายทักโชคชะตาของผู้ปลูกและครอบครัวได้ว่าจะมีโชคลาภมหาศาล จะนำพาโชคลาภเงินทองมาให้ในไม่ช้า แต่ก็มีข้อควรระวังว่าหากปลูกไว้ในบ้านหรือหน้าบ้าน ห้ามเดินข้าม ห้ามปัสสาวะรด และห้ามล้างมือใส่ เพราะจะทำให้ว่านเสื่อมไม่เป็นมงคลอีกต่อไป

คำสำคัญ : ว่านลูกไก่ทอง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ว่านลูกไก่ทอง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1749&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1749&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักโขม

ผักโขม

ลักษณะทั่วไป ต้นพืชล้มลุกอายุปีเดียว มีระบบรากแก้ว ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง ลำต้นเรียบและมันมีรอยแตกเป็นร่องยาว สีเขียวเป็นมัน สีม่วง และสีแดงปนเขียว ทรงพุ่มสูงประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ รูปร่างค่อนข้างจะเป็นสามเหลี่ยม หรือรูปไข่ฐานใบกว้าง ปลายใบค่อนข้างมน มักจะมีรอยหยักเล็กน้อย บริเวณปลายใบขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็กมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบคือประมาณ 4-10 ซม. ดอกเป็นช่อแบบ Spike ออกตามปลายยอดและตามซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดแยกคนละดอกอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีม่วงปนเขียว ไม่มีก้านดอกย่อย จึงเห็นติดอยู่เป็นกระจุกรอบแกนกลางช่อดอก ซึ่งยาวประมาณ 10-20 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียวคล้ายใบรองรับอยู่ แต่มีขนาดสั้นกว่ากลีบดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกหลอมรวมกัน (perianth)  มี 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 3 อันมผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม แก้พิษแมงป่อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ไข้หวัดต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,636

กระเจานา

กระเจานา

ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,588

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,159

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,448

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 25,589

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,463

กระจับนก

กระจับนก

ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,232

จำปา

จำปา

ต้นจำปานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ มีการแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่บริเวณเปลือกมีสีเทาแกมขาว กลิ่นฉุน โดยต้นจำปานั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และตอนกิ่ง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวใหญ่สีเขียวเป็นมัน คล้ายรูปทรงรีแกมขอบขนาน โคนสอบ ปลายแหลม เนื้อใบบาง สำหรับใบอ่อนนั้นจะมีขน ส่วนในใบแก่จะเกลี้ยงปราศจากขน โดยดอกนั้นเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแกมแสด กลิ่นหอมแรง จะออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานพร้อมส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ 

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,407

จิกนม

จิกนม

ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,443

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,511