อังกาบหนู

อังกาบหนู

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 4,121

[16.4258401, 99.2157273, อังกาบหนู]

อังกาบหนู ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis L. จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

สมุนไพรอังกาบหนู มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เขี้ยวแก้ง เขี้ยวเนื้อ อังกาบ มันไก่ เป็นต้น

ลักษณะของอังกาบหนู

  • ต้นอังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน
  • ใบอังกาบหนู หรือ ใบอังกาบเหลือง มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบจรดกับก้านใบ ที่ปลายมีติ่งแหลม ขอบใบมีขนแข็ง แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มกระจายอยู่ด้านล่าง ก้านใบมีความยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร 
  • ดอกอังกาบหนู (อังกาบดอกเหลือง) ออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง (ออกหนาแน่นที่ช่วงปลายกิ่งคล้ายช่อเชิงลดสั้น) มีใบประดับดอกลักษณะเป็นรูปแถบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ใบประดับย่อยเป็นหนาม ติดทน มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกันอยู่ มีขนาดไม่เท่ากัน คู่นอกจะมีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่ปลายเป็นติ่งหนาม กลีบคู่ในรูปไข่ ปลายแหลมยาว กลีบดอกลักษณะคล้ายรูปปากเปิด หลอดกลีบยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ดอกอังกาบหนูมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีส้มหรือเหลือง กลีบด้านบนมี 4 กลีบ มีความยาวเท่ากัน หลอดกลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ส่วนกลีบล่างจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบบนเล็กน้อย มีเกสรตัวผู้ 2 ก้าน ติดอยู่ที่โคนกลีบดอก ยื่นเลยปากหลอดกลีบเล็กน้อย อับเรณูมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน 2 ก้าน มีขนาดเล็ก มีรังไข่เป็นรูปไข่ มีความประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีช่องอยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลอยู่ 2 เม็ด ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะเรียวยาว ยาวกว่าเกสรตัวผู้ ยอดเกสรเป็น 2 พู ไม่ชัดเจนนัก 
  • ผลอังกาบหนู ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล รูปไข่แกมรูปขอบขนาน มีความประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ที่ปลายเป็นจะงอย ด้านในมีผลมีเมล็ดแบน ลักษณะคล้ายรูปไข่ มีความยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร และมีขนคล้ายไหมแบนราบ

สรรพคุณของอังกาบหนู

  1. ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก)
  2. รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ)
  3. ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก)
  4. ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)
  5. ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
  6. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ)
  7. ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก)
  9. ใช้แก้พิษงู (ใบ)
  10. ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ)
  11. รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก)
  12. รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)
  13. ทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนูใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ (ทั้ง 5 ส่วน)
  14. ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม (ใบ)
  15. มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง (ราก)
  16. สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป (ราก)

ประโยชน์ของอังกาบหนู

  • น้ำคั้นจากใบสามารถใช้ทาแก้ส้นเท้าแตกได้ (ใบ)
  • ประโยชน์ของอังกาบดอกเหลือง โดยทั่วไปแล้วจะนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับสวน เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม แต่ในปัจจุบันอังกาบดอกเหลืองนั้นหายากมาก เท่าที่เคยเห็นมาก็มีแต่สวนนงนุชพัทยา แต่ก็นานแล้วนะครับ หรือถ้ามีที่ไหนช่วยแนะนำด้วยนะครับ

คำสำคัญ : อังกาบหนู

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อังกาบหนู. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1778

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1778&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,351

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,729

ไมยราบ

ไมยราบ

ไมยราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa Pudica L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE และมีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ หญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด เป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,537

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,254

นุ่น

นุ่น

ต้นนุ่น จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ลำต้นสูงใหญ่เปลาตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เมตร ตรงยอดแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเป็นสีเขียวและมีหนามขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณโคนต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในแถบอันดามัน และมีปลูกมากในเขตร้อนทั่วไปเพื่อใช้ปุยจากผลนำมาทำหมอนและที่นอน ชอบขึ้นตามริมลำธาร พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,364

ตำลึง

ตำลึง

ลักษณะของตำลึงต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน  ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,408

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,582

กระเบาน้ำ

กระเบาน้ำ

สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,099

ลำดวน

ลำดวน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อต้นลำต้น  เรียบเกลี้ยงไม่มีขน สูงประมาณ 3 – 8 เมตร  ใบเป็นไม้ใบเดียว ออกเรียงสลับกันไปตามลำดับต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี หรือรูปแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวข้น ส่วนด้านล่างนั่นมีสีอ่อนกว่า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว ดอกเป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แต่กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกกว้างก้านดอกยาว 1 นิ้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,828

ตองกง

ตองกง

ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,619