โหราบอน

โหราบอน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,371

[16.4258401, 99.2157273, โหราบอน]

โหราบอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Typhonium giganteum Engl.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรโหราบอน มีชื่อเรียกอื่นว่า ยวี่ไป๋ฟู่ ตู๋เจี่ยวเหลียน ไป๋ฟู่จื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโหราบอน

  • ต้นโหราบอน จัดเป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีอายุได้หลายปี โหราบอนเป็นพืชที่ไม่มีลำต้น แต่มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก ลักษณะเป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก
  • ใบโหราบอน มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น ก้านใบยาวและอวบน้ำ ก้านใบมีลักษณะตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย ในต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 2-4 ใบ ในระยะเวลา 1-2 ปี จะมีการแตกใบ 1 ใบ ใบอ่อนมักจะม้วนงอ ส่วนใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น
  • ดอกโหราบอน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวแทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีลักษณะกลมยาวคล้ายรูปทรงกระบอก มีเนื้อนิ่ม ดอกเป็นสีม่วงมีแต้มเล็กน้อยและมีลายเส้นตรง มีกาบใบสีม่วงอ่อนห่อหุ้มอยู่ ภายในดอกจะพบผล
  • ผลโหราบอน ผลจะอยู่ภายในดอก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดง 

สรรพคุณของโหราบอน

  1. หัวใต้ดินมีรสเบื่อเมา เผ็ดชุ่มเล็กน้อย มีพิษมาก เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมชื้น (หัว)
  2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นลมตะกัง (หัว)
  3. ใช้เป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองลำคอที่ติดเชื้อวัณโรค (แผลที่ยังไม่แตก) โดยใช้หัวสด นำมาปอกเปลือกออกแล้วนำมาตำให้แตก ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 ครั้ง (หัว)
  4. ใช้เป็นยาแก้โรคปากคอ คอตีบ เจ็บคอ (หัว)
  5. หัวใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้บาดทะยัก (หัว)
  6. หัวใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดตามข้อ (หัว)
  7. หัวมีสรรพคุณเป็นยาแก้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อน แก้ตกใจง่าย แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต (หัว)
  8. ใช้เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ที่ทำให้ตาหรือปากเบี้ยว ให้ใช้หัวโหราบอนแห้งที่กำจัดพิษออกแล้ว 60 กรัม, แมงป่องตากแห้ง 30 กรัม และหนอนใบหม่อน 30 กรัม นำมารวมกันบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ด เม็ดละ 3 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)

ข้อควรระวังในการใช้โหราบอน

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
  • ไม่ควรนำหัวโหราบอนสด ๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษมารับประทานหรือใช้เป็นยา

กรรมวิธีการกำจัดพิษโหราบอน

  • ให้นำหัวโหราบอนมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ โดยให้เปลี่ยนน้ำที่แช่ทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อแช่ครบ 1 สัปดาห์จึงนำหัวโหราบอนมาแช่กับน้ำสารส้ม (ในอัตราส่วนหัวโหราบอน 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม) เป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้นให้เทน้ำสารส้มออก ใส่น้ำสะอาดลงไป แช่จนกว่าน้ำจะไม่มีรสเบื่อเมาเผ็ด แล้วจึงนำหัวที่ได้มานึ่งกับขิง (ในอัตราส่วน 50 ต่อ 12) หรือในบางตำราจะนึ่งพร้อมกับชะเอมด้วย หลังจากนึ่งจนสุกแล้วจึงนำหัวที่ได้มาหั่นเป็นแผ่น ๆ แล้วนำไปตากให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้ประโยชน์ทางยา

ขนาดและวิธีใช้โหราบอน

  • ให้ใช้ยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษแล้วเท่านั้น โดยให้ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือหากจะใช้ยาผง ก็ให้ใช้เพียงครั้งละ 3-5 กรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโหราบอน

  • หัวและทั้งต้นพบเมือก, Alkaloids (บางชนิดที่พบเป็นพิษ), Glucorin D, Glutamic acif, B-sitosteryl-D-glucoside, Saponin เป็นต้น

คำสำคัญ : โหราบอน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). โหราบอน. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1775

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1775&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,201

เคี่ยม

เคี่ยม

ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,674

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,967

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มาจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น ผักขึ้นฉ่าย มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน หรือ "Chinese celery" ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบค่อนข้างแก่ ส่วนสรรพคุณก็จะคล้ายๆ กัน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,832

กระชับ

กระชับ

ต้นกระชับเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านของมันมีขนขึ้นประปราย ใบกระชับมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบจักเว้าเป็น 3-5 แฉก ริมขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา เนื้อใบบาง พื้นผิวหลังและใต้ท้องใบหยากสาก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ดอกกระชับมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันดอกเพศผู้มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ส่วนปลายท่อกลีบจะเป็นหยัก 5 หยัก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,384

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,857

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,395

รากสามสิบ

รากสามสิบ

รากสามสิบ จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม สามารถเลื้อยปีนป่ายต้นไม้อื่นขึ้นไปได้ แตกแขนงเป็นเถาห่างๆ ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เถามีขนาดเล็กเรียว กลม เรียบ ลื่น และเป็นมัน เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม หนามมีลักษณะโค้งกลับ  บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อ และกิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ มีเหง้าและรากอยู่ใต้ดิน ออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ลักษณะของรากออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดโตกว่าเถามาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,594

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,874

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,618