มะเขือพวง

มะเขือพวง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 3,661

[16.4258401, 99.2157273, มะเขือพวง]

มะเขือพวง ชื่อสามัญ Turkey berry, Devil's fig, Wild eggplant, Pea eggplant, Pea aubergine, Shoo-shoo bush

มะเขือพวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum ficifolium Ortega, Solanum mayanum Lundell) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

สมุนไพรมะเขือพวง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะเขือละคร (นครราชสีมา), มะแว้งช้าง (สงขลา), มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ), หมากแข้ง (ภาคอีสาน), เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้) เป็นต้น

มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน

สำหรับในประเทศไทยบ้านเรานั้นรู้จักมะเขือพวงมานานแล้ว โดยนิยมนำผลมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน แกงเนื้อ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ด เป็นต้น

มะเขือพวงมีสารโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะสารนี้อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายได้

สรรพคุณของมะเขือพวง

  1. สารโซลาโซดีน (Solasodine) ในมะเขือพวงช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้
  2. มะเขือพวงมีสาร ทอร์โวไซด์ เอ, เอช (Torvoside A, H) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสได้มากกว่าอะไซโคลเวียร์ถึง 3 เท่า
  3. มะเขือพวงมีสารทอร์โวนินบี (Torvonin B) ซึ่งเป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการขับเสมหะ
  4. มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่
  5. สารเพกทินในมะเขือพวงมีคุณสมบัติช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินและอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
  6. ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส ( Syphilis) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อ Treponema pallidum (ใบสด)
  7. สารต่อต้านอนุมูลอิสระในมะเขือพวงช่วยป้องกันความเสื่อมและช่วยชะลอความแก่
  8. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  9. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  10. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  11. ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
  12. ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ง่วงนอน
  13. ใช้เป็นยาระงับประสาท (ใบสด)
  14. ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
  15. ช่วยทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น
  16. ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
  17. ช่วยขับเหงื่อ (ใบสด)
  18. แก้อาการชัก (ใบสด)
  19. แก้อาการหืด (ทั้งต้น)
  20. ช่วยแก้พิษในร่างกาย ด้วยการนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงแล้วนำมาต้มดื่ม (ราก)
  21. ช่วยป้องกันภาวะเลือดแข็งตัว
  22. ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารจะช่วยบำรุงสายตา
  23. แก้อาการปวดฟัน ชาวมาเลเซียนำเมล็ดมะเขือพวงไปเผาให้เกิดควัน แล้วสูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน (เมล็ด)
  24. น้ำคั้นใบสดช่วยลดไข้ (ใบสด)
  25. ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ รวมไปถึงอาการไอเป็นเลือด
  26. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการภูมิแพ้
  27. สารสกัดจากมะเขือพวงมีผลยับยั้ง Platelet activating factor (PAF) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด
  28. ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
  29. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้ เพื่อป้องกันสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร
  30. ช่วยในการย่อยอาหาร
  31. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีสารเพกทินที่ทำหน้าที่ดึงน้ำไว้ได้จำนวนมาก เพื่อเพิ่มปริมาณของอุจจาระ จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายง่ายขึ้นมาก
  32. ช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร
  33. ช่วยในการขับปัสสาวะ (ผล, ใบ)
  34. มะเขือพวงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยา แอลกอฮอล์ และความเครียด
  35. ช่วยบำรุงตับ
  36. ช่วยบำรุงไต ช่วยป้องกันและรักษาอาการเป็นพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมที่ใช้รักษามะเร็งได้
  37. ใบสดใช้แก้ปวด ปวดข้อ (ใบสด)
  38. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ
  39. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้น้ำสกัดจากลำต้นมะเขือพวง (ต้น)
  40. ช่วยรักษาฝีบวมมีหนอง
  41. ใบสดใช้พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น ช่วยทำให้ฝียุบ (ใบสด)
  42. ช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อนตามผิวหนัง (ต้น)
  43. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ใบสด)
  44. ในแคเมอรูนใช้ใบสดในการช่วยห้ามเลือด (ใบสด)
  45. ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้
  46. มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ป้องกันการอักเสบเฉียบพลัน
  47. ช่วยรักษารอยเท้าแตก ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณรอบเท้าแตก (ราก)
  48. ช่วยแก้โรคตาปลา ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นตาปลา (ราก)

คำสำคัญ : มะเขือพวง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือพวง. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1701

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1701&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักชีล้อม

ผักชีล้อม

ต้นผักชีล้อม จัดเป็นพืชล้มลุกที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นผิวดิน ลำต้นกลวงอวบน้ำ ผิวภายนอกเป็นร่อง ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ขายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเม็ด การแยกไหลและการปักชำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 1-3 ชั้นเรียงสลับ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรีแคบหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นผลเดี่ยว ผลแห้งแก่แล้วแตกเป็นสองส่วน ลักษณะของผลค่อนข้างกลมเป็นสัน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 18,635

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,532

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,759

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,307

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,527

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,962

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,166

กระเจี๊ยบมอญ

กระเจี๊ยบมอญ

ต้นกระเจี๊ยบมอญเป็นไม้ล้มลุก สูง 5-2 เมตร มีขนทั่วไป ใบกระเจี๊ยบมอญเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 เซนติเมตร ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้นดอกกระเจี๊ยบมอญมีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 เซนติเมตร หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,162

มะขามเทศ

มะขามเทศ

สำหรับประโยชน์ของมะขามเทศนั้นมีมากมาย เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เส้นใย เป็นต้น และยังถือว่ามะขามเทศนั้นเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งด้วย เพราะคนโบราณนิยมนำมาใช้รักษาโรคปากนกกระจอกเทศนั่นเอง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,434

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,589