มะกา

มะกา

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 9,468

[16.4258401, 99.2157273, มะกา]

มะกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia ovata Decne. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
สมุนไพรมะกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้องแกบ (เชียงใหม่), ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น), ซำซา มะกาต้น (เลย), มัดกา มาดกา (หนองคาย), มาดกา (นครราชสีมา), กอง กองแกบ (ภาคเหนือ), ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
หมายเหตุ : ข้อมูลจาก The Plant List ระบุว่าสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

ลักษณะของมะกา
        ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย
        ใบมะกา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น
         ดอกมะกา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง
         ผลมะกา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

สรรพคุณของมะกา

  1. แก่นมีรสขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น) ส่วนเปลือกต้นมีรสฝาดขม เป็นยาแก้กระษัย แก้พิษกระษัย (เปลือกต้น) ส่วนอีกข้อมูลระบุให้ใช้ใบมะกาเป็นยาแก้โรคกระษัย ด้วยการใช้ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด และรากต้นเสาให้ อย่างละเท่ากัน นำมาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร แล้วใส่เกลือทะเล 1 กำมือ ใช้น้ำยารับประทาน (ใบ)
  2. ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)
  3. ทั้งห้าส่วนเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)
  4. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
  5. ช่วยฟอกโลหิต (แก่น) ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
  6. รากและใบเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ) ส่วนใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)
  7. ใบมีรสขมขื่น สรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้ ถ่ายพิษตานซางในเด็ก (ใบ)
  8. ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิต (ใบ)
  9. ใบที่ตายนำมานึ่งมวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือนำมาต้มดื่มเป็นยาขับเสมหะ (ใบ) ส่วนแก่นก็เป็นยาขับเสมหะเช่นกัน (แก่น) 
  10. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  11. เมล็ดทำให้ฟันแน่น (เมล็ด)
  12. ช่วยชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ (ใบ)
  13. ช่วยขับลม (ใบ, ทั้งห้า)
  14. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
  15. เปลือกต้นใช้กินเป็นยาสมานลำไส้ (เปลือกต้น)
  16. ใบสดนำมาปิ้งไฟ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน (ใบ) ด้วยการใช้ใบแห้งปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 15-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอนเป็นยาระบาย (ใบ)
  17. ช่วยระบายอุจจาระธาตุ (แก่น)
  18. ช่วยคุมกำเนิด ช่วยขับระดู แก้มุตกิดของสตรี (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไตพิการ (แก่น)
  20. ช่วยบำรุงน้ำดี (ใบ)
  21. ช่วยบำรุงน้ำเหลือง ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ)
  22. เปลือกต้นมีรสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
  23. ช่วยแก้เหน็บชา (ใบ)

หมายเหตุ : ใบสดไซ้ท้องทำให้คลื่นเหียน ต้องนำมาปิ้งไฟให้พอกรอบเสียก่อนแล้วจึงนำไปใช้ มักใช้ใบยาต้ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะกา

  • จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยท้องผูก ด้วยการใช้ใบแห้งในขนาด 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แล้วแช่ไว้นาน 10-20 นาที ใช้ดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลดี แต่มีอาการข้างเคียงคือ ปวดท้อง คลื่นไส้
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ

 

คำสำคัญ : มะกา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกา. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1682

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1682&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ยางนา

ยางนา

ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,547

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,832

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,385

กระไดลิง

กระไดลิง

ต้นกระไดลิงเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบกระไดลิงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 7,690

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,577

สะเดา

สะเดา

สะเดามีสรรพคุณบำรุงธาตุไฟ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และแก้ไข้ อีกทั้งรสขมของสะเดายังช่วยเรียกน้ำย่อย และช่วยให้ขับน้ำดีตกลงสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้อุจจาระละเอียดขับถ่ายคล่อง และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,739

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,619

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,303

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,759

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,246