ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 3,516

[16.4258401, 99.2157273, ไฟเดือนห้า]

ไฟเดือนห้า ชื่อสามัญ Bastard ipecacuanha, Butterfly Weed, Blood Flower, Milkweed, Silkweed
ไฟเดือนห้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Asclepias curassavica L. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรไฟเดือนห้า มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า คำแค่ (แม่ฮ่องสอน), บัวลาแดง (เชียงใหม่), ค่าน้ำ เด็งจ้อน (ลำปาง), ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์), ดอกไม้เมืองจีน ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี), เทียนแดง (ภาคกลาง), เทียนใต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เหลียนเซิงกุ้ยจื่อฮวา จิงเฟิ่งฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของไฟเดือนห้า
       ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร และอาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน ไฟเดือนห้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป
       ใบไฟเดือนห้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-13 เซนติเมตร
       ดอกไฟเดือนห้า ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 7-20 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง ยาวเกือบ 1 เซนติเมตร กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
        ผลไฟเดือนห้า ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงยาวคล้ายรูปกระสวย ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่แบนและมีขนยาวสีขาว เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร และกระจุกขนยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร

สรรพคุณของไฟเดือนห้า
1. เมล็ดมีรสขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาบำรุงให้ร่างกายอบอุ่น (เมล็ด)
2. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุไฟ (ต้น)
3. ใช้เป็นยาขับพิษเลือดในเดือนอยู่ไฟ (เมล็ด)[1]แก้เลือดทำพิษในเรือไฟ (การติดเชื้อที่มดลูกหลังการคลอดบุตร) (ต้น)
4. ช่วยแก้โรคหัวใจอ่อน (ต้น, เมล็ด)
5. ต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวเย็นหมดสติ ไข้ตรีโทษ (อาการไข้กระหายน้ำ เหงื่อออกมา ซึม เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย บางครั้งมีอาการอาเจียนเป็นสีเหลืองปนเลือด) (ต้น)
6. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมากไม่รู้ตัว (เมล็ด)
7. รากมีรสเผ็ด เป็นยาสุขุม มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน (ราก, ทั้งต้น)
8. ช่วยแก้เต้านมอักเสบ ด้วยการใช้เมล็ดไฟเดือนห้าประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น (ราก, เมล็ด)
9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้บิด รักษาแผลในลำไส้ กระเพาะอาหาร รวมถึงแผลในมดลูก (ทั้งต้น)
10. ใบสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ พยาธิไส้เดือน (ใบ)
11. ใช้เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ต้น, เมล็ด)
12. ตำรับยาแก้อาการปวดประจำเดือน ระบุให้ใช้รากไฟเดือนห้าสด 35 กรัม และเมล็ดพริกไทย 10 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1]ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยา
      แก้ปวดประจำเดือนเช่นเดียวกัน (เมล็ด)
13. ช่วยรักษาหนองใน (ใบ)
14. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ ห้ามเลือด (เมล็ด, ใบ, ทั้งต้น)
15. ใช้รักษาแผลสด แก้อาการฟกช้ำ เนื่องจากถูกกระแทกหรือหกล้ม ด้วยการใช้ดอกไฟเดือนห้าแห้งและเมล็ด อย่างละเท่ากัน นำมารวมกันบดเป็นผง ใช้โรยลงบนบาดแผล (ดอก, เมล็ด)[1]ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ฟกช้ำจากการหกล้มได้เช่นกัน (ราก)
16. ใช้รักษาฝีหนองภายนอก ด้วยการใช้เมล็ดประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
17. เมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน กลากเกลื้อน (เมล็ด)
18. ใบใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อน แก้พิษฝี (ใบ)
19. รากใช้เป็นยารักษากระดูกร้าว หรือกระดูกหัก (ราก)
20. ตำรับยารักษามะเร็งชนิดต่างๆ ของหมอสมหมาย ทองประเสริฐ จะประกอบไปด้วยพืชสมุนไพร 5 ชนิด และชิ้นส่วนของสัตว์อีก 5 ชนิด อันได้แก่ ไฟเดือนห้า, ข้าวเย็น
      เหนือ, ลิ้นงู, หญ้าสาบกา, หลอดเถื่อน สำหรับชิ้นส่วนของสัตว์นั้นไม่ได้บอกไว้ จากการวิจัยพบว่าหากไม่ใช้ชิ้นส่วนสัตว์จะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลงประมาณ
      10% (ซึ่งจะไม่ใช้ก็ได้) และหากแยกใช้โดด ๆ ประสิทธิภาพในรักษาก็จะไม่ดีเท่าที่ควร แต่หากรวมพืชทั้ง 5 ชนิด ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ
      ส่วนสูตรของสถาบันมะเร็งแห่งชาติและองค์การเภสัชที่นำมาใช้จะแตกต่างไปจากนี้ครับ แต่ก็ยังมีส่วนประกอบของไฟเดือนห้าเป็นส่วนประกอบหลักเหมือนเดิม แต่อย่างไร
      ก็ดีสมุนไพรตำรับนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งแต่อย่างใด คงมีเพียงแต่ข้อมูลจากประสบการณ์การใช้สมุนไพรตำรับนี้ในคลินิกของนายแพทย์
      สมหมายเท่านั้น

ขนาดและวิธีใช้
        การใช้ตาม [1] เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนรากให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือตำคั้นเอาน้ำรับประทานหรือใช้ภายนอกนำไปตำพอกแผลบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง
        รากและดอกหากใช้มากเกินไปจะเกิดพิษ โดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเกิดจากสาร Asclepiadin ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของไฟเดือนห้า
      - สารสำคัญที่พบ ได้แก่ Ascurogenin, Asclepin, Calotropin, Curassvicin เป็นต้น
      - จากการทดลอง พบว่าสาร Ascurogenin, Asclepin และ Curassicin มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจของกระต่ายทดลอง ทำให้หัวใจของกระต่ายมีการบีบตัวแรงขึ้น
      - ยางจากต้นไฟเดือนห้ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด
      - สาร Calotropin มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งในโพรงจมูกที่อยู่นอกตัวของสัตว์ทดลอง

ประโยชน์ของไฟเดือนห้า
       - นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นกลุ่มหลาย ๆ ต้น ตามบ้าน ตามสำนักงาน และตามสวนสาธารณะทั่วไป เพราะดอกมีสีสันสวยงามเจิดจ้าน่าชม
       - ขนที่หุ้มเมล็ดสามารถนำไปใช้ยัดหมอนแทนการใช้นุ่น ทำให้หมอนนุ่มหนุนนอนได้สบายไม่แพ้การยัดนุ่นแม้แต่น้อย

คำสำคัญ : ไฟเดือนห้า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไฟเดือนห้า. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1667

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1667&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ  ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก  กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ  ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ   ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,022

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,324

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,697

โสก

โสก

ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,880

เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง

หากเอ่ยถึงเห็ดเหมันต์ หลายคนอาจเริ่มขมวดคิ้วเข้าหากันและสงสัยว่ามันคือเห็ดอะไร แต่หากพูดถึงเห็ดเข็มทอง เชื่อว่าแทบทุกคนต้องร้องอ๋อรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะในปัจจุบันเรียกว่าเห็ดชนิดนี้เป็นที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติดีอร่อยกรุบกรอบในปาก และยังสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,616

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 28,050

มะขาม

มะขาม

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดต้นและแข็งแรงมาก ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ ใบเป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีอยู่ ประมาณ 10-18 คู่ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายกิ่งและโคนใบมนสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆอยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบสีเหลืองและมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว ผลเมื่อดอกล่วงแล้วจะติดผลซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาวซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งเปลือกนอกเปราะ เป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆเป็นสีเหลืองอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัดซึ่งจะหุ้มเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลมผิวเปลือกเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,332

น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,133

จอก

จอก

ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,917

กัดลิ้น

กัดลิ้น

ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,776