บัวบก

บัวบก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 2,646

[16.4258401, 99.2157273, บัวบก]

บัวบก ชื่อสามัญ Gotu kola
บัวบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L.) Urb. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
สมุนไพรบัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน
        เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง
        ใบบัวบก มีสารประกอบสำคัญหลายชนิด อย่างเช่น บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีกรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และกรดอะมิโน อย่างเช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น
        ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ประโยชน์ของใบบัวบก
1. บัวบกเป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
2. ใบบัวบกช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
3. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
4. ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
5. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
6. ประโยชน์ของใบบัวบก ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
7. ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน
8. ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย
9. ช่วยทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น
10. ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ
11. เชื่อว่าใบบัวบกมีส่วนช่วยเพิ่มไอคิว ความฉลาด และความสามารถในการเรียนรู้
12. ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง โรคอัลไซเมอร์หรืออาการหลงลืมระยะสั้นได้
13. ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น
14. ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้า
15. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
16. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
17. ช่วยผ่อนคลายความเครียด
18. ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
19. ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
20. ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
21. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
22. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
23. ช่วยบำรุงหัวใจ
24. ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
25. ช่วยทำให้จิตใจสดชื่น อารมณ์แจ่มใส
26. ช่วยทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น
27. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
28. ช่วยบำรุงเสียง
29. ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ด้วยการใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง แล้วจิบกินบ่อย ๆ
30. ช่วยแก้กระหายน้ำ
31. ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน ตัวร้อน
32. ใบบัวบกมีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
33. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
34. ช่วยรักษาโรคดีซ่านจากภาวะร้อนชื้น ด้วยการใช้บัวบก 30 กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
35. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
36. ช่วยรักษาอาหารหืด
37. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม หรือจะใช้บัวบกสด ๆ ทั้งต้นประมาณ 30 กรัมนำมาค้นเอาน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วดื่มกินประมาณ 5-7 วัน
38. ช่วยรักษาโรคลมชัก
39. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
40. ช่วยรักษาอาการเต้านมอักเสบเป็นหนองในระยะแรก ด้วยการใช้บัวบกและเปลือกของลูกหมาก 1 ผล นำมาต้มกับเหล้าดื่ม
41. ช่วยแก้คนเป็นบ้า
42. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด
43. ช่วยลดความดันเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
44. ช่วยรักษาโรคที่มีสมุฏฐานจากเสมหะ
45. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
46. ช่วยแก้ไข้
47. ช่วยห้ามเลือดกำเดา เพราะทำให้เลือดเดิน แต่เลือดจะไม่ออกจากเส้นเลือดและยังทำให้เลือดเย็นอีกด้วย
48. ช่วยแก้อาการช้ำใน บาดเจ็บจากการกระทบกระแทก
49. เป็นพืชที่ย่อยได้ง่าย
50. ช่วยทำให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
51. ช่วยแก้อาการท้องเสีย
52. สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
53. ช่วยแก้อาการเริ่มที่จะเป็นบิด
54. ช่วยรักษาโรคบิดหรือมีมูกเลือดปนเมื่อขับถ่าย
55. ช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผล
56. ใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
57. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
58. แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก
59. ช่วยขับความร้อนชื้นทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
60. ช่วยรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะด้วยการใช้บัวบก 50 กรัมต้มกับน้ำซาวข้าวครั้งที่ 2 แล้วนำมาดื่ม
61. ช่วยรักษาอาการมีหนองออกจากปัสสาวะ
62. ช่วยแก้อาการน้ำดีในร่างกายมากเกินไป
63. ช่วยรักษาโรคม้ามโต
64. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบ
65. แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์
66. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด
67. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
68. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม
69. ใช้บัวบกตำนำมาพอกรักษาความร้อนบวมของโรคไฟลามทุ่ง หรือใช้รักษาอาการด้วยการใช้น้ำคั้นบัวบกนำมาผสมกับแป้งข้าวเหนียวทำเป็นแป้งเหลว พอกบริเวณที่เป็น
70. ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
71. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคเรื้อน โรคสะเก็ดเงิน หิด หัด เป็นต้น
72. ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง
73. ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้เป็นอย่างดีและใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้วย
74. ช่วยรักษาผิวหนังเป็นด่างขาว
75. ใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้
76. บัวบกมีการนำมาผลิตเป็นแคปซูลวางจำหน่าย มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมองเป็นหลัก (Brain tonic)
77. ปัจจุบันมีการนำไปทำเป็นยาเป็นแผนปัจจุบันในรูปแบบผงใช้โรยแผล และในรูปแบบเม็ดรับประทานเพื่อรักษาแผลผ่าตัด แผลสด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือฝีหนองได้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นอีกด้วย
78. ช่วยแก้อาการก้างปลาติดคอ ด้วยการนำบัวบกไปต้มน้ำ แล้วค่อย ๆ กลืนน้ำลงคอ
79. ใบและเถาบัวบกใช้รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาบ ก้อย แกงเผ็ด ยำใบบัวบก ซุปหน่อไม้ เป็นต้น
80. น้ำคั้นจากใบบัวบกนำมาทำเป็นน้ำมันบัวบกใช้ชโลมศีรษะ มีสรรพคุณช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย
81. น้ำใบบัวบกเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นดับร้อนในร่างกายได้สารพัด
82. สารสกัดจากใบบัวบก มีคุณสมบัติช่วยลดการระคายเคืองผิวและปลอดภัยต่อร่างกาย
83. สารสกัดจากใบบัวบกมีการนำมาใช้เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
84. มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาใช้ทำเป็นวัสดุปิดแผล
85. ลบรอยตีนกาตื้น ๆ ด้วยน้ำใบบัวบก ด้วยการนำบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นจนละเอียด แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้สำลีชุบน้ำทาทั่วบริเวณหางตาหรือทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก โดยควรทาทุกวันก่อนนอน
86. มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาผลิตเป็นสบู่ใบบัวบก ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้

คำเตือนและคำแนะนำ
1. การรับประทานใบบัวบกคุณควรพิจารณาพื้นฐานของร่างกาย อย่ามองแต่สรรพคุณเพียงอย่างเดียว
2. บัวบกไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะเย็นพร่อง หรือขี้หนาว ท้องอืดบ่อย ๆ
3. การรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ธาตุในร่างกายเสียสมดุลได้ เพราะเป็นยาเย็นจัด แต่ถ้ารับประทานในขนาดที่พอดีแล้วจะไม่มีโทษต่อร่างกายและได้ประโยชน์สูงสุด
4. การดื่มน้ำบัวบกติดต่อกันทุกวัน ให้ดื่มแค่วันละประมาณ 50 มิลลิลิตร
5. การกินเพื่อเป็นยาบำรุงต้องกินตามขนาดที่ระบุไว้ ถ้ากินใบบัวบกสด ๆ ในปริมาณน้อย เช่น วันละ 2-3 ใบทุกวันก็ไม่เป็นอะไร หรือจะกินน้ำคั้นบัวบกแก้ช้ำในหรือร้อนใน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ก็ได้
6. ถ้ากินเป็นผัก จิ้มครั้งละ 10-20 ใบต่อสัปดาห์ไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้ากินติดต่อกัน 10 วันอาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้
7. การเก็บใบบักบกอย่าเก็บมาเฉพาะใบ เพราะจะทำให้ได้ตัวยาสมุนไพรมาไม่ครบ ให้ถอนมาทั้งต้นและราก เพราะในส่วนของรากจะมีตัวยาสมุนไพรอยู่ด้วย
8. ไม่ควรนำใบบักบกไปตากแดดเพื่อทำให้แห้ง เพราะจะทำให้สูญเสียตัวยาสมุนไพรซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้ โดยให้ผึ่งลมตากไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อแห้งแล้ว ให้นำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิทป้องกันความชื้น

คำสำคัญ : บัวบก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บัวบก. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1648

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1648&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,868

โคกกระสุน

โคกกระสุน

ต้นโคกกระสุน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 160 เซนติเมตร เป็นพืชจำพวกหญ้าที่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้นมา มีขนตามลำต้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทรายที่ค่อนข้างแห้ง มีการระบายน้ำดี เจริญงอกงามได้ดีในช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามทางรถไฟ ตามที่รกร้าง ตามสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,810

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,469

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,653

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,241

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,167

ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,303

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,967

หมาก

หมาก

หมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 27,745

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,728