บวบขม

บวบขม

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 2,279

[16.4258401, 99.2157273, บวบขม]

บวบขม ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes cucumerina L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
สมุนไพรบวบขม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะนอยจ๋า (ภาคเหนือ), นมพิจิตร (ภาคกลาง), เล่ยเซ (เมี่ยน) เป็นต้น

ลักษณะของบวบขม
        ต้นบวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น
        ใบบวบขม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก แผ่นใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวใบสากมือ มีขนทั้งสองด้าน แต่ขนด้านล่างจะยาวกว่าด้านบน เส้นใบเป็นร่องลึกเห็นได้ชัด เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 เส้น ก้านใบเล็กและมีขน ยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร 
         ดอกบวบขม ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ก้านดอกเล็กคล้ายเส้นด้ายและมีขนเล็กน้อย กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร กลีบยาว 1.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเส้น 3 เส้น กลีบอยู่ชิดกัน มีเกสรเพศผู้ 3 อัน เป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง โดยจะออกตามซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 3-12 มิลลิเมตร กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน ดอกเพศผู้ รังไข่เป็นรูปยาวรีและมีขนยาวนุ่ม ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร[1],[3],[4]
          ผลบวบขม ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ หัวท้ายแหลม ผลกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ผิวผลเป็นสีเขียวมีตุ่มเล็ก ๆ ขรุขระเล็กน้อย มีจุดประสีขาวทั่วผล ลายสีเขียวเข้มตามความยาวของผล ผลมักงอเล็กน้อย มีรสขม ภายในมีเมล็ดอ่อนสีขาวจำนวนมากอัดแน่นกันเป็นแถว เมื่อแก่เป็นสีดำรูปหยดน้ำ แบน มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร

สรรพคุณของบวบขม
1. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ เถา ผล หรือทั้งต้นบวบขม เข้าตำรับยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ (เถา, ผล, ทั้งต้น)
2. น้ำต้มจากเถาหรือต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ (เถา)
3. เถานำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดไข้ หรือจะใช้ใบหรือรากนำมาต้มกับน้ำกินก็ได้ ส่วนเมล็ดสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (เถา, ราก, ใบ, เมล็ด)
4. ผลมีรสขมมาก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ส่วนเถาและเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำเช่นกัน (เถา, ผล, เมล็ด)
5. เถามีรสขม นำมาคั้นเอาน้ำกินจะทำให้อาเจียน ส่วนราก ผล และเมล็ด ก็มีสรรพคุณช่วยทำให้อาเจียนเช่นกัน (เถา, ราก, ผล, เมล็ด)
6. ช่วยขับเสมหะ (เมล็ด)
7. รากนำมาต้มกินเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ราก)
8. ผลแห้งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้รังหรือใยบวบขมแบบแห้ง นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือหั่นให้เป็นฝอยผสมกับเส้นยาสูบเล็กน้อยมวนเป็นบุหรี่สูบฆ่าเชื้อริดสีดวงจมูกทั้งที่เพิ่งเป็นใหม่ ๆ และเป็นมากขนาดหายใจออกมามีกลิ่นเหม็น (ผล)
9. น้ำต้มจากรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ราก)
10. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (เมล็ด)
11. ผลแห้งนำมาต้มกับน้ำตาลเป็นยาช่วยย่อย (ผล)
12. ใบมีรสขมเย็น นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาระบาย แต่ถ้าใช้มากจะทำให้อาเจียน ส่วนน้ำต้มจากราก เถา ผลและยอดอ่อนก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน (ราก, เถา, ใบ, ผลและยอดอ่อน)
13. ราก ผล และเมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง น้ำต้มจากรากในขนาด 60 มิลลิลิตร จะเป็นยาถ่ายอย่างแรงและรบกวนทางเดินอาหารมาก (ราก, ผล, เมล็ด)
14. ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ราก, ผล, เมล็ด)
15. เมล็ดมีรสขมเย็น มีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี และใช้ได้ดีกับคนไข้ธาตุพิการ (เมล็ด)
16. เถาใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หนองให้ตก (เถา)
17. ผลใช้เป็นยาแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (ผล)
18. เถาใช้ร่วมกับต้นผักชี น้ำผึ้ง และต้น Gentian กินเป็นยาแก้อาการอักเสบต่าง ๆ ฟอกเลือด ขับประจำเดือน และใช้กับคนไข่ท่อน้ำดีอักเสบ (เถา)
19. ตำรายาไทยจะใช้ผลสดเป็นยาพอกศีรษะ แก้คัน แก้รังแค และฆ่าเหา โดยนำมาขยี้ฟอกศีรษะเส้นผมหลังสระผม หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยล้างน้ำออก โดยให้ฟอกทุกครั้งหลังสระผม จะช่วยขจัดรังแคแก้อาการคันศีรษะได้ดีมาก (ผล)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบวบขม
1. ผลมีรสขมเพราะมีสารชื่อ "คิวเคอร์บิตาซิน" ในปริมาณมาก โดยคิวเคอร์บิตาซินเป็นสารขมที่เป็นลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์นี้ เป็นสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนที่มีออกซิเจนจำนวนมาก คิวเคอร์บิตาซินหลักในบวบขมจะเป็นคิวเคอร์บิตาซิน บี ซึ่งมีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องปากและจมูก (KB cell) เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด ER positive และ ER negative
2. สารสกัดทั้งต้นและผลด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
3. น้ำคั้นและสารสกัดจากผลบวบขมด้วยอีเทอร์ มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง

ประโยชน์ของบวบขม
1. ผลใช้ประกอบอาหาร เช่น ใช้ใส่ในแกง
2. เส้นใยใช้แทนฟองน้ำสำหรับล้างจาน

คำสำคัญ : บวบขม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บวบขม. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1642

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1642&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บัวบก

บัวบก

บัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,647

ฝรั่ง

ฝรั่ง

ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,909

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญเป็นไม้พุ่ม เป็นดอกไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกกลางแจ้งในดินที่มีอาหารเพียงพอและระบายน้ำได้ดี โดยมีลำต้นตั้งตรง ความสูงของลำต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ มีการแตกกิ่งก้านตั้งแต่บริเวณโคน มีหนามแหลมขึ้นมามากตามลำต้นและกิ่ง และความยาวของหนามนี้จะไม่เท่ากัน หนามอ่อนสีน้ำตาลแกมแดง เมื่อหนามแก่จะกลายเป็นสีเทา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปทรงไข่ โคนมน ปลายแหลม และขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,905

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,378

กกดอกขาว

กกดอกขาว

ลักษณะทั่วไป  เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม   ลำต้น  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน  ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ  5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,192

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,121

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,461

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,040

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 9,096

อังกาบหนู

อังกาบหนู

อังกาบหนู หรือ ต้นอังกาบเหลือง เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร มักพบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,121