จันทนา

จันทนา

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 3,352

[16.4258401, 99.2157273, จันทนา]

จันทนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna hoaensis Pit. จัดอยู่ในจัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรจันทนา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า จันทน์ขาวจันทน์ตะเบี้ยจันทน์ตะเนี้ย (ภาคตะวันออก, เขมร), จันทน์หอม (ระยอง), จันทนา จันทน์ใบเล็ก (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ทนา เป็นต้น

ลักษณะของจันทนา
       ต้นจันทนา
 จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง 2-5 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้น เนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทนามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงของจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-400 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ชอบดินร่วนซุยและทนแล้งได้ดี
       ใบจันทนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนมีหางแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 24 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเป็นมัน หลังใบและท้องใบเกลี้ยง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบปลายเรียวแหลม
,        
ดอกจันทนา ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกประมาณ 8-12 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายจะแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนปลายกลีบม้วนลง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองติดอยู่ข้างในผนังหลอด
        ผลจันทนา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี สีเขียวเข้มและฉ่ำน้ำ พอแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนประมาณ 1-2 เมล็ด

สรรพคุณของจันทนา
1. แก่นช่วยรักษาโรคเลือดลม (แก่น) หรือจะใช้แก่นจันทนาผสมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยา ซึ่งประกอบไปด้วย แก่นจันทนา แก่นจันทน์แดง กระดูกหมาดำ งาช้าง รากชะอม รากชุมเห็ดเทศ
    รากผักหวานบ้าน รากมะกอกเผือก รากมะกอกฟานซ้อม รากมะลืมดำ รากมะลืมแดง รากหญ้าขัด และหัวถั่วพู โดยนำมาฝนกับน้ำข้าวเจ้า ใช้รับประทานเป็นยารักษาโรคเลือดลม แต่ถ้า
    เป็นมากจนตัวแดงหรือแดงเป็นลูกตำลึงสุกก็ให้นำมาทาด้วย (แก่น)
2. ช่วยบำรุงเลือดลม (แก่น)
3. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (แก่น)
4. แก่นหรือเนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยบำรุงประสาท (แก่น) ช่วยทำให้เกิดปัญญาและราศี (แก่น)
5. ช่วยบำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว (แก่น)
6. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์ (แก่น)
7. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (แก่น)
8. ช่วยบำรุงตับและปอด (แก่น)
9. ช่วยแก้ปอด ตับ และดีพิการ (แก่น)
10. ช่วยแก้ลม (แก่น)
11. แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้ (แก่น) แก้ไข้ร้อน แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี แก้ไข้กำเดา (แก่น)
12. ช่วยแก้อาการเหงื่อตกหนัก (แก่น)
13. ชวยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (แก่น)
14. ช่วยขับพยาธิ (แก่น)
15. ช่วยบำรุงผิวหนัง บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น (แก่น)
16. จันทนาจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเบญจโลธิกะ" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา),
      แก่นจันทน์แดง, แก่นจันทน์ชะมด, ต้นเนระพูสีไทย, และต้นมหาสะดำ โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน ช่วยกล่อมพิษทั้งปวง (แก่น)
17. จันทนาจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดจันทน์ทั้งห้า" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง ได้แก่ แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์เทศ และ
      แก่นจันทน์ชะมด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น)
18. จันทนาจัดอยู่ในรับยาพระโอสถนารายณ์ คือตำรับยา "มโหสถธิจันทน์" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรจันทน์ทั้งสอง ได้แก่ จันทน์แดงและจันทน์ขาว (เข้าใจว่าคือแก่น
      จันทนา) ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีก 13 ชนิด โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อน หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของ
      แก่นหรือเนื้อไม้)
19. จันทนายังปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) คือ ตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่น
      จันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับยาอีก โดยตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (ไม่ระบุ
      ส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่นหรือเนื้อไม้)
20. จันทนายังปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาจันทน์ลีลา" ซึ่งเป็นตำรับยาที่ส่วนผสมของจันทน์ขาว (เข้าใจว่าหมายถึงแก่นจันทนา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับยา โดยเป็นตำรับยาที่ช่วย
      บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของแก่น)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของจันทนา
สารสกัดของแก่นจันทนาด้วยแอลกอฮอล์ไม่เป็นพิษต่อหนูในความเข้มข้น 10 กรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว

ประโยชน์ของจันทนา
1. แก่นของจันทนาสามารถนำมาใช้ในการทำมาทำเป็นธูปหอมได้
2. เนื้อไม้หรือแก่นใช้บดหรือฝนผสมกับน้ำ นำไปปรุงแต่งเป็นเครื่องหอมได้

คำสำคัญ : จันทนา

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จันทนา. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1594

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1594&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระทิง

กระทิง

ต้นกระทิงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งในระยะต่ำ ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย เปลือกสีเทาเข้มเกือบดำค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็กๆ ทั่วไป มียางสีเหลืองอมเขียวซึมออกมาจากร่องของเปลือกที่แตก ใบกระทิงใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,955

ชะคราม

ชะคราม

ชะครามไม้ล้มลุก หลายปี ลำต้นเกลี้ยง กิ่งก้านเล็กสีน้ำตาลแดง แตกแขนงที่โคนต้น สูง 30-100 ซม. ใบชะครามเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ อวบน้ำ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบยาว 5-4 ซม. กว้าง 0.5-1.5 มม. ปลายใบแหลม เมื่อแก่ใบจะมีทั้งสีเขียวและสีแดงหรือบริเวณที่แล้งจัดจะมีใบสีม่วง ดอกชะครามช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 4-15 ซม. ดอกสมบุรณ์เพศออกเป็นกระจุกๆละ2-3 ดอก ใบประดับ ยาว 2-5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปหอก วงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานสีเขียวอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,216

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,528

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว (Green Bean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมุม ส่วนภาคกลางเรียก ถั่วทอง หรือถั่วเขียว และเชียงใหม่เรียก ถั่วจิม เป็นต้น ซึ่งถั่วเขียวนี้จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว โดยเปลือกนอกจะมีสีเขียวต่างจากเนื้อเมล็ดข้างในที่มีสีเหลือง เป็นพืชที่ปลูกงอกง่ายแต่มีวงจรชีวิตสั้น ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเอเชียกลางและอินเดีย โดยในประเทศไทยเราได้มีการศึกษาและพบถั่วเขียวในถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน สมัยหินกลาง อายุประมาณ 10,000 ปีเลยทีเดียว จึงนับเป็นพืชที่มีมาหลายชั่วอายุคนแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 15,302

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,900

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,564

ปีบ

ปีบ

ปีบ (Cork Tree, Indian Cork) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก กาดสะลอง, กาซะลอง, ก้องกลางดง เป็นต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่มีดอกและใบสวย พร้อมกลิ่นที่หอมชื่นใจ มักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามข้างทางเพื่อให้ร่มเงา และดอกปีบนั้นยังถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของปราจีนบุรีอีกด้วย และด้วยความที่เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ผู้คนจึงได้มีการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการพยาบาลไทย ตลอดจนนำมาทำเป็นเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พบมากตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ, ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,891

พุดตาน

พุดตาน

พุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,136

จำปา

จำปา

ต้นจำปานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ มีการแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่บริเวณเปลือกมีสีเทาแกมขาว กลิ่นฉุน โดยต้นจำปานั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และตอนกิ่ง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวใหญ่สีเขียวเป็นมัน คล้ายรูปทรงรีแกมขอบขนาน โคนสอบ ปลายแหลม เนื้อใบบาง สำหรับใบอ่อนนั้นจะมีขน ส่วนในใบแก่จะเกลี้ยงปราศจากขน โดยดอกนั้นเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแกมแสด กลิ่นหอมแรง จะออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานพร้อมส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ 

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,673

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,048