งิ้วแดง

งิ้วแดง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 13,508

[16.4258401, 99.2157273, งิ้วแดง]

งิ้ว ชื่อสามัญ Cotton tree, Kapok tree, Red cotton tree, Silk cotton, Shving brush
งิ้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Bombax ceiba L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bombax malabaricum DC., Gossampinus malabarica Merr.) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย BOMBACOIDEAE
สมุนไพรงิ้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า งิ้วบ้าน (ทั่วไป), งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วปง งิ้วปกแดง สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี), งิ้วป่างิ้วปงแดงงิ้วหนาม, นุ่นนาง, ตอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปั้งพัวะ (ม้ง), บักมี้ (จีน) เป็นต้น

ชนิดของต้นงิ้ว
       ต้นงิ้ว หรือ งิ้วป่า จัดเป็นพืชในสกุล Bombax ในประเทศมีรายงานว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่
       ชนิดที่ 1 "งิ้ว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax ceiba L. (กล่าวในบทความนี้)
       ชนิดที่ 2 "งิ้วป่าดอกแดง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax insigne Wall.
       ชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre และยังสามารถแยกออกได้อีก 2 ชนิดย่อย ได้แก่ "งิ้วป่า" (งิ้วป่าดอกขาว) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre var. anceps* (ชื่อวิทยาศาสตร์ไม่แน่ชัด) "ง้าว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps var. cambodiense (Pierre) Robyns

ลักษณะของต้นงิ้ว
        ต้นงิ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ ตามเชิงเขาและไหล่เขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-600 เมตร ซึ่งในปัจจุบันต้นงิ้วจะหาดูได้ยากมาก จะมีปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่ที่เท่านั้น
        ใบงิ้ว ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยประมาณ 3-7 ใบเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว และยาวประมาณ 6-10 นิ้ว ใบสีเขียวไม่มีขน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ก้านช่อใบยาว โคนก้านบวมเล็กน้อย
        ดอกงิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือตามปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูแกมเลือดหมู สีแดง สีแสด และมีที่เป็นสีทองแต่หาได้ยาก ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 ดอก ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็ง ๆ หรือเป็นกลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ส่วนกลีบดอกมีขนาดใหญ่และหนา มี 5 กลีบเป็นรูปขอบขนาน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วนกลับมาทางขั้วของดอก หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เรียงกระจายเป็นวงรอบ สีขาวปนสีชมพู ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน สีชมพู บริเวณปลายเป็นจุดสีเข้มมีความเหนียว ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ[1],[2] โดยจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และจะทิ้งใบก่อนมีดอก
        ผลงิ้ว หรือ ฝักงิ้ว ผลมีลักษณะยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีดำ และถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาวๆ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกล
        สารเคมีที่พบ : เปลือกต้นมีสารที่สกัดด้วยน้ำอยู่ 9.92% ในใบมี condensed tannins ส่วนรากมีโปรตีน, แป้ง, ไขมัน, arabinose, galactose, gum และ tannins ส่วนเปลือก ราก จะมีพวกเกลือแร่ ไขมัน โปรตีน แป้ง และความชื้นอยู่ 7.5% ในเมล็ดมีน้ำมันประมาณ 24-25% และในยางมีเกลือแร่ 8.9%

สรรพคุณต้นงิ้ว

  1. รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
  2. ยางใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ยาง)
  3. ช่วยแก้โรคมะเร็ง (เมล็ด)
  4. เปลือกต้นช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
  5. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดง 1 กิโลกรัม นำมาล้างให้สะอาดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปใส่ในหม้อต้มยาสมุนไพร เติมน้ำสะอาดลงไป 5 ลิตรและต้มจนเดือด แล้วให้รินเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 มิลลิเมตร) วันละ 2 ครั้งทุกเช้าและเย็น (น้ำงิ้วที่ได้จะมีสีแดงเหมือนน้ำกระเจี๊ยบ) (เปลือกต้น)
  6. ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาแก้พิษไข้ได้ดีมาก (ดอก) ส่วนหนามมีสรรพคุณแก้ไข้ ลดความร้อน ดับพิษร้อน (หนาม) ช่วยแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ (หนาม)
  7. ช่วยระงับประสาท (ดอก)
  8. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ดอก)
  9. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนถอนพิษ (ราก, เปลือกต้น)
  10. ช่วยรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมในคออักเสบ (ใบ)
  11. ช่วยแก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ใบ)
  12. ช่วยรักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (เปลือกต้น, ราก)
  13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ลงท้อง (เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล) บรรเทาอาการท้องเดิน (เปลือกต้น, ดอก)
  14. เปลือกต้นช่วยแก้บิด (เปลือกต้น, ดอก, ยาง) แก้บิดมูกเลือด (ดอก) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าดอกแดงจะใช้แก้บิดเลือด (บิดถ่ายเป็นเลือด) ให้นำดอกมาต้มเป็นน้ำชาผสมกับน้ำตาลทรายแดง ใช้ดื่มตอนท้องว่างวันละ 3 ครั้ง ส่วนดอกเหลืองจะใช้แก้บิดมูก ให้ใช้ดอกเหลืองหรือส้มที่เป็นดอกแห้ง เข้าใจว่าใช้ต้มเป็นน้ำชาดื่ม
  15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง โดยใช้ดอกตากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ยางจากต้น, เปลือกต้น, ดอก)
  16. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (ราก, เปลือกราก)
  17. ช่วยแก้ตัวพยาธิ (ราก, เปลือกต้น, ดอก, ผล)
  18. ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก, ราก)
  19. เมล็ดใช้เป็นยาร่วมกับพิมเสน ใช้รักษาโรคหนองในเรื้อรัง (เมล็ด)
  20. ช่วยแก้ระดูตกหนักหรือออกมากเกินไป (ยาง)
  21. ช่วยแก้อาการตกโลหิต (เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล)
  22. ช่วยแก้ไตพิการ ไตชำรุด ไตอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง นำมาต้มกินต่างน้ำทุกวัน (หรือจะเอาน้ำต้มจากเปลือกไปหมักเพื่อทำเอนไซม์ก็ได้) (เปลือกต้น)
  23. ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต (ผลอ่อน)
  24. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ยาง)
  25. ดอกและรากมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด (ดอก, ราก, เปลือกราก, ยาง) ส่วนเมล็ดมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือดภายใน (ยาง)
  26. รากของต้นอ่อนใช้พอกสมานแผล (เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก) ช่วยฝากสมาน (ยาง)
  27. ใบและยอดอ่อนใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)[7]ส่วนรากช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง (ราก, เปลือกต้น, ดอก, ผล) หนามช่วยแก้ฝีประคำร้อย (หนาม) และยังช่วยดับพิษฝี แก้พิษฝีต่าง ๆ (หนาม,ใบ)[13]
  28. ช่วยรักษาแผล ฝีหนอง (ดอก) หากเป็นแผลที่มีหนอง ให้ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาใช้ชะล้างทำความสะอาดแผล (เปลือกต้น)
  29. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เมล็ด)
  30. ช่วยแก้อาการคัน (ดอก)
  31. ช่วยแก้หัวลำมะลอก (เม็ดที่ขึ้นตามตัวเป็นหนองพุพองมีพิษ), หัวดาวหัวเดือน (เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก มักขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และนิ้วมือนิ้วเท้า) (ใบ)
  32. ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ราก,ใบ,ผล)
  33. ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาระงับอาการปวด (ดอก)
  34. ใบแห้งหรือใบสดนำมาตำใช้ทาแก้อาการฟกช้ำ แก้บวม มีอาการอักเสบ (ใบ, ราก, ดอก, ผล) บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก ด้วยการใช้รากสดนำมาแช่เหล้า ใช้ถูทาหรือตำพอก (ดอก, เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก)
  35. ใช้ทาแก้น้ำร้อนลวก (ดอก)
  36. ช่วยแก้อัมพาต เอ็นอักเสบ (เปลือกต้น)[4]ใช้แก้คนที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว (เปลือกต้น)
  37. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประของประเทศมาเลเซียใช้ใบสดนำมาแช่กับน้ำต้มอาบเพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อย (ใบ)
  38. เมล็ดใช้เป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ (ยาง)
  39. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของงิ้วแดง มีฤทธิ์ในการต้านไทอะมีนและมีผลต่อลำไส้ของหนูตะเภา และช่วยยับยั้งเอดส์

ประโยชน์ของงิ้ว

  1. เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้ง ใช้โรยในขนมจีนน้ำเงี้ยวรับประทาน หรือจะใช้ปรุงเป็นแกงแคทางภาคเหนือก็อร่อยเช่นกัน อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยมีธาตุแคลเซียมสูงถึง 429 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งสูงกว่านมที่มีแคลเซียมอยู่ประมาณ 123 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
  2. เกสรตัวผู้แห้งยังสามารถนำมาใช้แต่งสีของแกงส้มหรือแกงกะหรี่เพื่อช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทานมากขึ้นได้อีกด้วย
  3. ดอกสดใช้ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกและแกงส้ม
  4. ดอกใช้ผสมกับข้าวโพดทำเป็นขนมแผ่นรับประทานได้
  5. ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
  6. รากอ่อนใช้เป็นยาและใช้เป็นอาหารเมื่อยามขาดแคลน ดอกและยางใช้ทำเป็นยารักษาโรค
  7. ใช้ปลูกไม้ประดับในสนามกว้าง ๆ ทั่วไป ต้นงิ้วมีรูปทรงของลำต้นที่สวยงาม สูงเด่นดูสง่า เรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี สามารถเพาะปลูกได้ง่าย เป็นไม้ผลัดใบทั้งต้นให้ดอกสีแดงหรือสีเหลืองทั้งต้น ดอกมีขนาดใหญ่ สีสันสดใสสวยงาม
  8. ต้นงิ้วเป็นไม้เนื้ออ่อน สีขาวหรือเหลืองอ่อน เสี้ยนหยาบ ไม่ทนทานมากนัก ผุและเปื่อยได้ง่าย นิยมนำมาใช้ทำหีบและลังสำหรับใส่ของ ใช้ทำไม้อัด ไม้จิ้มฟัน ก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ทำของเล่นเด็ก ใช้ทำเยื่อกระดาษก็ได้ ส่วนชาวกระเหรี่ยงแดงจะใช้เนื้อไม้สำหรับสร้างบ้าน หรือนำมาแปรรูปทำไม้แบบหรือไม้ต่อโลงศพ ปราสาทเผาศพ
  9. เปลือกต้นให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้ โดยจะมีความเหนียวมากแต่จะแข็งและหยาบ จึงเหมาะที่จะใช้มัดของใหญ่ ๆ
  10. ปุยนุ่นของฝักหรือผลแก่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ด้วยการนำมาใช้ยัดเบาะ ฟูก หมอน ฯลฯ
  11. ใช้ทำชนวนตู้เย็น เข้าใจว่าคือเส้นใยหรือยุ่ยจากฝัก
  12. น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร ใช้ทำสบู่ได้
  13. ชาวเหนือและชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะนำเปลือกงิ้วแดงมาทำสี โดยจะให้สีน้ำเงิน ใช้สำหรับย้อมสีจำพวกผ้าฝ้ายได้

คำสำคัญ : งิ้วแดง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). งิ้วแดง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1589

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1589&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 2,040

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,499

ยี่หร่า

ยี่หร่า

ยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 36,369

มะกอกน้ํา

มะกอกน้ํา

ต้นมะกอกน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บริเวณริมน้ำและลำห้วย ปัจจุบันนิยมปลูกกันทั่วไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง มีรูอากาศเป็นแนวยาว เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตื้น ๆ ตามความยาวของลำต้น ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นหรือบริเวณริมน้ำ 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 16,332

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,724

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,137

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,307

กระชับ

กระชับ

ต้นกระชับเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านของมันมีขนขึ้นประปราย ใบกระชับมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบจักเว้าเป็น 3-5 แฉก ริมขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา เนื้อใบบาง พื้นผิวหลังและใต้ท้องใบหยากสาก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-5 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ดอกกระชับมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันดอกเพศผู้มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ส่วนปลายท่อกลีบจะเป็นหยัก 5 หยัก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,417

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 876

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 10,433