กำจาย

กำจาย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,108

[16.4258401, 99.2157273, กำจาย]

กำจาย ชื่อสามัญ Teri Pods
กำจาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia digyna Rottler จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
สมุนไพรกำจาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระจาย ขี้คาก (แพร่), มะหนามจาย (ตาก), หนามหัน (จันทบุรี), หนามแดง (ตราด), จิงจ่าย งาย ฮายปูน (นครศรีธรรมราช), ฮาย (สงขลา), งาย (ปัตตานี), ขี้แรด (ภาคกลาง), ฮาย ฮายปูน (ภาคใต้), มะเบ๋น (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ตาฉู่แม สื่อกีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะของกำจาย
        ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม[1] ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและตามชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบได้มากที่จังหวัดเชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, แพร่, เลย, ขอนแก่น, นครราชสีมา, กาญจนบุรี, ราชบุรี, กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และปัตตานี ส่วนในต่างประเทศมีเขตการกระจายพันธุ์ในจีนตอนใต้ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และในมาเลเซีย
        ใบกำจาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 8-12 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวสด ก้านใบย่อยมีขนาดสั้นมาก ใบอ่อนมีขนนุ่ม แต่พอใบแก่จะร่วงหมด หูใบเรียวแคบ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ร่วงได้ง่าย
        ดอกกำจาย ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีเหลืองสด มีขนาดไม่เท่ากัน แต่ละกลีบค่อนข้างกลม ปลายหยักเว้า เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบชั้นอื่น โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูมีขนเป็นปุย รังไข่เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย มีออวุล 3-4 เม็ด สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เมื่อออกดอกดกเต็มต้นจะมีความสวยงามอร่ามน่าชมยิ่งนัก
        ผลกำจาย ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ลักษณะของฝักเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ตรงกลางป่องเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย ขอบเป็นสัน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ก้านสั้น ฝักดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ และไม่แตกอ้า เมล็ดมีประมาณ 2-3 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดกว้างประมาณ 9 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 12 มิลลิเมตร ออกผลในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

สรรพคุณของกำจาย
1. ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (ราก)
2. ผลหรือฝักใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วงได้ดีมาก (ผล)
3. รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ราก)
4. ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสานจะใช้รากกำจายผสมกับรากมะขามป้อม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กามโรค (ราก)
5. ทั้งต้นใช้ต้มให้สัตว์เลี้ยงกินเป็นยาแก้พิษงู (ทั้งต้น)
6. รากใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ขับพิษงู ช่วยดับพิษ แก้ปวดฝีทุกชนิด และช่วยดับพิษฝี (ราก)
7. รากใช้ตำพอกเป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง และแผลเปื่อยได้เด็ดขาดนัก (ราก)
8. ผลหรือฝักสดของต้นกำจายมีรสฝาด นำมาตำให้ละเอียดห่อด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาน้ำมาใช้ชะล้างแผลสด ห้ามเลือด สมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว และรอยแผลเป็นไม่มี (ผลสด)

ประโยชน์ของกำจาย
1. ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย และปลูกไว้ตาม
    หัวไร่ปลายนาในชนบททั่วไป ซึ่งในสมัยก่อนจะถือว่า "กําจาย" นั้น เป็นสุดยอดยาสมุนไพรชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
2. น้ำฝาดที่ได้จากผลหรือฝักสามารถนำมาใช้ในการย้อมผ้า แห และอวนได้

คำสำคัญ : กำจาย

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำจาย. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1567

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1567&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,306

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,934

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม

สันพร้าหอม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีอายุได้หลายปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ประมาณ 70-120 เวนติเมตร โคนต้นเรียบเป็นมัน เกลี้ยง ตามลำต้นเป็นร่อง แต่จะค่อนข้างเกลี้ยงเล็กน้อย รากแก้วใต้ดินแตกแขนงมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและชุ่มชื้น ความชื้นปานกลาง มีแสงแดดส่องปานกลาง พบขึ้นบริเวณตามหุบเขาหรือลำธาร และพบปลูกมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,830

มะเขือยาว

มะเขือยาว

มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่างๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,111

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,360

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,932

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,919

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,367

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,896

ซ้อ

ซ้อ

ซ้อเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ และอีกหนึ่งสรรพคุณนิยมนำมาบำรุงผม ทั้งยังรักษารังแค และป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,802