วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,048

[16.497984, 99.514126, วัดป่ามืด]

             ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก มีวัดจำนวนมากมาย เรียงรายติดกัน กว่า 50 วัด มีทั้งวัดขนาดเล็ก วัดขนาดกลาง และวัดขนาดใหญ่ มีผู้คนพากันถามว่า ทำไมเมืองกำแพงเพชรมีวัดต่างๆ มากมายถึงขนาดนี้ คำตอบที่ชัดเจน คือเมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองพระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองสูงสุดทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร สืบต่อกันมาหลายร้อยปี วัดป่ามืด อยู่ติดกับรั้วของอุทยานประวัติศาสตร์ ด้านหน้า เป็นวัดขนาดกลาง ที่น่าสนใจ วัดหนึ่งหน้าวัดมีบ่อศิลาแลง ที่ขุดไปสร้างวัดยาวติดต่อกัน ด้านซ้ายของวัดป่ามืด คือวัด พระนอน ทำให้วัดป่ามืดมิมีใครมาแวะชม พากันเลยไป ที่วัดพระนอนกันหมด ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ ในอุทยานประวัติศาสตร์ เมืองมรดกโลก เหตุที่เรียกว่าวัดป่ามืด เพราะในบริเวณวัด เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา เคยเข้าไปขุดไม้ไผ่ที่มาทำเป็นไม้ตะพด หรือไม้เท้า เพื่อมาส่งครู ราว พ.ศ. 2501 มีลักษณะมืดครึ้มมีเถาวัลย์ และไม้ขนาดใหญ่มากมาย ปกคลุมวัด พื้นดินเต็มไปด้วยใบไม้ ที่ร่วงหล่น เกลื่อน กล่นไปหมด จึงอาจเรียกกันว่าวัดป่ามืดด้านหน้ามีวิหารขนาดใหญ่ ฐานพระประธาน มีพระพุทธรูป ก่อด้วยศิลาแลง และมีร่องรอย ของพระพุทธรูปโกลน ศิลาแลง หลายองค์ องค์พระประธานเหลือเพียงแค่ฐาน ส่วนองค์พระและพระอุระ ตกอยู่ ใต้ต้นไม้ ที่ในกำแพงแก้ว วางกองไว้ถ้าไม่สังเกตจะไม่ทราบเลย ว่าเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ด้านหลังพระประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกา ขนาดย่อม ที่เหลือเพียงฐาน มีลักษณะที่ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์ มาเรียบร้อยแล้ว ด้านข้างเจดีย์ประธานมีเจดีย์ราย อยู่ทุกด้าน วางอยู่อย่างมีระเบียบด้านข้างวัด บริเวณใกล้กับพระวิหาร มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งขุดแลงขึ้นมาสร้างวัด มีลักษณะของบ่อน้ำที่งดงาม และตั้งใจ ที่จะขุดเพื่อเป็นบ่อน้ำ ติดกับบ่อน้ำ มีห้องน้ำอยู่สองห้องมีขนาดย่อม เป็นที่ชำระร่างกายและล้างเท้า ก่อนที่เข้า ไปสู่วัดป่ามืดซึ่งเหมือนกับวัดพระสี่อิริยาบถเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมของกำแพงเพชรด้านหลังวัดบริเวณ สังฆาวาส ไม่ปรากฏหลักฐานของ กุฏิ เหลืออยู่ คงจะทำด้วยไม้ และ ผุพังไปตามกาลเวลาด้านหลังสุดบริเวณป่าไผ่ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่อีกบ่อหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นน้ำเพื่อใช้ของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อศึกษา แต่ละวัดอย่างละเอียดแล้วทุกวัดมีจุดที่น่าสนใจน่าศึกษาทั้งสิ้นนักท่องเที่ยวที่มาชมอุทยาน ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะมีโอกาสได้ชมเพียง 3 วัดเท่านั้น คือวัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบส่วนวัดที่น่าสนใจ อีก 40 วัด มิได้มีโอกาส ให้นักท่องเที่ยวและนักประวัติศาสตร์ได้ชื่นชม
             ที่ตั้ง :  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
             รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ :อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
             
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
             
อัตราค่ายานพาหนะ
                          
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
                          รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
                          รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
                          รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
                          รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=279&code_db=DB0011&code_type=F001

คำสำคัญ : วัดป่ามืด

ที่มา : http://sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดป่ามืด. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=312

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=312&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,525

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,097

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,048

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวันริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,484

วัดสิงห์

วัดสิงห์

อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,240

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,524

 วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,006

วัดพระบรมธาตุ

วัดพระบรมธาตุ

เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกาพญาลิไททรงประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ประชาชนชาวกำแพงเพชรมีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุและมีความเชื่อดังจารึกที่ว่า "ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า" เป็นตำนานที่มาของงานประเพณี "นบพระเล่นเพลง" ในวันมาฆบูชาของจังหวัดกำแพงเพชร พระบรมธาตุนครชุม มหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ จวบจนปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,975

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,403

วัดหนองลังกา

วัดหนองลังกา

กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,057