วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้ชม 2,164

[16.4875957, 99.4501181, วัดพระธาตุ]

      วัดพระธาตุ เป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้ว ที่อยู่ภายในกำแพงเมืองเรียงจากวัดพระแก้วไปทางตะวันออกเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงปนอิฐ ฐานสี่เหลี่ยมใหญ่กว้าง 15 เมตร ต่อจากฐานสี่เหลี่ยมเป็นฐานบัทมั แปดเหลี่ยมลดชั้นจนถึงปากระฆังเป็นบัวหลังเบี้ยสลักกลีบ ต่อจากรูประฆังคว่ำเป็นบัลลังก์ เป็นปล้องไฉนและปลียอดหักทางด้านตะวันออกของเจดีย์มีฐานวิหารใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง กว้าง 15 เมตร ยาว 31 เมตร บนฐานเสามีศิลาแลงสี่เหลี่ยม 4 แถว 1 ห้อง มีบันไดขึ้นทางด้านหน้า มีระเบียงเชื่อมกับวิหารใหญ่โดยรอบเจดีย์ประธาน บนระเบียงยังเหลือรูปโกลนศิลาแลงเป็นแกนในพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ระหว่างช่องเสาบางตอนตรงด้านหน้าวิหารด้านเหนือและด้านใต้เจดีย์ เจดีย์ด้านทิศเหนือชำรุดเหลือแต่ฐานมีรูปทรงเหลืออยู่จนถึงยอด โดยรอบเจดีย์และวิหารมีกำแพงศิลาแลงกว้าง 58 เมตร ยาว 97 เมตร มีประตู 4 ด้าน
      วัดนี้ได้ขุดแต่งและบูรณะเจดีย์ใหญ่เจดีย์รายด้านใต้แล้วเสร็จเผยให้เป็นลักษณะการก่อสร้างและแผนผังของวัดพระธาตุ ซึ่งมีลักษณะคล้ายแผนผังของวัดสระศรีที่เมืองสุโขทัยเก่า แต่ลักษณะการก่อสร้างเจดีย์เป็นแบบกำแพงเพชร มีผู้เล่าว่ามีผู้ขุดได้ลานเงินไปจากวัดนี้ มีข้อความในตอนหนึ่งว่า "ต่อมาเมื่อข้าศึกถอยกลับบไปหมดแล้ว เจ้าสร้อยแสงดาวซึ่งมาบวชจำพรรษาอยู่วัดนี้ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่" ข้อความตามจารึกบนลานเงินนี้ไม่ทราบศักราชหรือเห็นลักษณะตัวอักษร จึงไม่ทราบว่าสมัยใด
       
      ตั้งอยู่ที่ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นวัดหลวงโบราณประจำเมืองกำ
แพงเพชร อยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว รูปแบบสถาปัตยกรรมสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร สิ่งปลูกสร้างก่อด้วยอิฐและศิลาแลง แตกต่างจากวัดพระแก้วซึ่งใช้ศิลาแลงเป็นหลัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นภายหลังวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ  1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ โบราณสถานภายในวัดประกอบด้วย
             เจดีย์ประธาน  เป็นเจดีย์ทรงระฆัง บนฐานแปดเหลี่ยม ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร มีระเบียงคดล้อมรอบพระเจดีย์ประธาน ต่อเนื่องมายังด้านหลังพระวิหาร ผังรูปแบบดังกล่าว เป็นรูปแบบที่มักสร้างในกรุงศรีอยุธยา โดยระเบียงคดนี้ นิยมที่จะประดิษฐานแถวพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ เหมือนอย่างเช่นที่ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา ถัดจากด้านหน้าพระวิหาร
             พระเจดีย์ราย  เป็นพระเจดีย์บริวาร ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ประจำด้านซ้าย 1 องค์ และ ด้านขวา 1 องค์ เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยม
             พระวิหาร  เหลือเฉพาะส่วนฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง ข้างบนฐานปรากฏโคนเสาสีเหลี่ยมอยู่หลายต้น ด้านหลังพระวิหารเป็นพระเจดีย์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคด
             ประตูซุ้มยอด เป็นประตูทางเข้าออกวัด ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ก่อด้วยศิลาแลง

 

ภาพโดย : https://travel.thaiza.com/guide/238353/

คำสำคัญ : วัดพระธาตุ

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2011/03/16/entry-2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดพระธาตุ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=273

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=273&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,467

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,857

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,620

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 679

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,321

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,471

วัดเขาลูกรัง

วัดเขาลูกรัง

ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน กำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายกำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,472

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,852

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,136

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 6,210