วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้ชม 1,017

[16.1642792, 99.1331969, วัดอุทุมพร]

ชื่อวัด : 
 
      วัดอุทุมพร

สถานที่ตั้ง :
       
ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 

ประวัติความเป็นมา : 
        วัดอุทุมพร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2420 ชาวบ้านเรียก วัดท่าเดื่อ ตามชื่อบ้าน มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา 5 รูป สามเณร 1 รูป มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการทางตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย ซึ่งทางวัดได้ให้การอนุเคราะห์ด้วยดีตลอดมา เจ้าอาวาสมี 7 รูป คือ รูปที่ 1 พระอาจารย์ยุทธ รูปที่ 2 พระอาจารย์ปุ่น รูปที่ 3 พระอาจารย์จำรอง รูปที่ 4 พระอาจารย์สนิท รูปที่ 5 พระอาจารย์เชื้อ รูปที่ 6 พระอาจารย์วอ รูปที่ 7 พระอธิการวงษ์ ภูริปญฺโญ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.2511 เป็นต้นมา
        วัดมีเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์) 
     

 

 

 

คำสำคัญ : วัด

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดอุทุมพร_(จังหวัดกำแพงเพชร)#cite_note-1

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). วัดอุทุมพร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=2156

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2156&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,532

วัดกำแพงงาม

วัดกำแพงงาม

เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม  วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,897

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,943

วัดหม่องกาเล

วัดหม่องกาเล

เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,945

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,092

 วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,005

วัดหนองลังกา

วัดหนองลังกา

กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,046

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,806

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,397

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,558