ลอดช่อง

ลอดช่อง

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 5,192

[16.4715218, 99.5280957, ลอดช่อง]

       ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

ส่วนผสม
       1. แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
       2. แป้งเท้ายายม่อม 30 กรัม
       3. แป้งซ่าหริ่ม  20 กรัม
       4. น้ำปูนใส 450 กรัม
       5. น้ำใบเตย 250 กรัม
       6. น้ำแข็ง
       7. น้ำกะทิ 250 กรัม
       8. น้ำตาลปึก 150 กรัม
       9. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
       10. เทียนอบ

วิธีทำ
        1. ทำตัวลอดช่องโดยผสมแป้งข้าวเจ้า, แป้งเท้ายายม่อม, แป้งซ่าหริ่ม เข้าด้วยกัน หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำ ปูนใสทีละน้อยขณะเดียวกันก็นวดแป้งให้เข้ากันจนเนียนและเหนียว และค่อยๆใส่น้ำปูนใสจนหมด แล้วจึงใส่น้ำ ใบเตย แล้วนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง     
        2. กวนจนแป้งเหนียวและข้นจึงลดไฟลง กวนต่อจนแป้งสุก (แป้งจะมี ลักษณะข้นเหนียว) จึงปิดไฟ
        3. เตรียมน้ำเย็นโดย นำน้ำแข็งไปละลายในน้ำจนน้ำเย็นจัดจากนั้นนำส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ในขั้นตอน ที่หนึ่งไปใส่ลงในพิมพ์ลอดช่อง ค่อยๆกดให้เป็นเส้นหย่อนลงไปในน้ำเย็นที่เตรียมไว้
        4. ทำน้ำกะทิโดยนำน้ำตาลปึกผสมกับน้ำกะทิและเกลือป่นนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆ คนจนน้ำตาลละลายดี จึงปิดไฟ และนำไปอบควันเทียนให้หอม
        5. ตักเส้นลอดช่องใส่ถ้วย ราดด้วยน้ำกะทิ และน้ำแข็งทุบสามารถใส่เครื่องเพิ่มเติมได้ตามต้องการ (เผือกนึ่ง, ข้าวเหนียวดำ, อื่น) เสริฟได้ทันที

ภาพโดย : https://cooking.kapook.com/view96006.html

คำสำคัญ : ลอดช่อง

ที่มา : https://cooking.kapook.com/view96006.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลอดช่อง. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610008&code_type=01&nu=pages&page_id=588

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=588&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,186

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ 3-5 ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง (1 วัน 1 คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ 4-5 วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 120 องศา นาน 30 นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก 1 คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,830

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,549

แกงพันงู

แกงพันงู

กำแพงเพชรมีอาหารอยู่ชนิดหนึ่ง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวกำแพงเพชรในอดีต คือแกงพันงู พันงูเป็นชื่อพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสถานที่หัวไร่ปลายนา ตามเชิงเขาและป่าโปร่ง จะขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ ลักษณะลำต้นเดี่ยว เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร รูปร่างคล้ายงู ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พันงู จะขึ้นเฉพาะในฤดูร้อน ต่อฤดูฝน ใต้ดินจะมีหัวขนาดใหญ่ ในปีหนึ่งจะขึ้นเพียงครั้งเดียว ชาวบ้านจะนิยมนำพันงูมาทำอาหาร ประเภทผักจิ้ม แกงส้มใส่ชะอม ชาวกำแพงเพชร เอาพันงูมา ลอก เปลือกออกหั่น ยาวประมาณ 2นิ้ว เอาไว้แกงส้ม พันงู เป็นอาหารยอดนิยมที่คนกำแพงเพชรนิยมรับประทานกัน เกือบทุกครัวเรือน อาจกลายเป็นอาหารจานเด็ด ของคนกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,011

ขนมข้าวจี่

ขนมข้าวจี่

ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 6,300

ขนมไข่

ขนมไข่

ขนมไข่ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรนิยมรับประทานกันมายาวนานแต่เดี่ยวนี้หาร้านอร่อยๆ หาทานอยากและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีส่วนผสมของแป้งไข่และน้ำตาลเป็นหลักขนมไข่เป็นขนมโบราณอย่างหนึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รู้จักและเห็นคุณค่าของขนมโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,944

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ เป็นขนมไทยที่เลียนแบบธรรมชาติ อาศัยฝีมือในการปั้น ส่วนใหญ่จะปั้นเป็นผลไม้ พืชผัก เช่น มะม่วงสุก มังคุด พริกชี้ฟ้า ชมพู่แก้มแหม่ม มะยม ฯลฯ สุดแต่ผู้ปั้นจะคิดประดิษฐ์ มักจะเป็นขนมที่มีไว้สำหรับรับแขกบ้านแขกเมือง หรือคนสำคัญ เพราะเป็นขนมที่มีหน้าตาสวยงาม จูงใจให้รู้สึกอยากรับประทานขนมที่มีสีสวยงาม ปั้นแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ที่ได้ชื่อว่าลูกชุบ ก็เพราะวิธีการทำให้ขนมมีส่วนเหมือนผักผลไม้ ก็ต้องชุบวุ้นเพื่อให้เกิดความเงาคล้ายผิวของพืชผลไม้นั้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,804

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 3,196

ผลไม้เชื่่อม

ผลไม้เชื่่อม

เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 9,450

แกงนอกหม้อ

แกงนอกหม้อ

หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 22,408