แกงนอกหม้อ

แกงนอกหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 21,132

[16.4258401, 99.2157273, แกงนอกหม้อ]

         หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้

เครื่องปรุง
        - เนื้อไก่
        - พริกแห้ง
        - เครื่องเทศ (ดอกจัน, ลูกจัน, กังวาน, พริกไทย, ลูกผักชี)
        - กะทิ
        - น้ำเปล่า
        - น้ำตาล
        - ต้นหอมซอย
        - ผักชีฝอยซอย
        - เลือดไก่สด
        - เกลือ

เตรียมเครื่องปรุง
       1. เนื้อไก่ ใช้เนื้อไก่ล้วนหั่นให้เป็นชิ้นบาง ๆ นำไปผัดให้แห้ง แล้วตักใส่กะละมัง พักๆ ไว้
       2. ตำน้ำพริกแกง ดอกจัน ลูกจัน กังวาน พริกไทย ลูกผักชี พริกแห้ง พริกแจว ให้ละเอียดแล้วแต่ชอบเผ็ดมากเผ็ดน้อย
       3. เลือดไก่ นำไปขยำกับใบตะไคร้แล้วกรองพักไว้  

วิธีทำ
       1. นำกะทิใส่หม้อตั้งไฟใส่พริกแกง พอกะทิแตกใส่เนื้อไก่ที่ผัดไว้แล้ว ใส่น้ำตาล น้ำเปล่าปรุงรสตามชอบ
       2. พักหม้อแกงให้เย็นก่อนถึงใส่กระเทียมดอง หอ ผักชี เลือดไก่ แต่ต้องให้เย็นก่อนสีถึงจะสวย

คำสำคัญ : แกงนอกหม้อ

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แกงนอกหม้อ. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1396&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1396&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ ขนมเบื้อง หอม กรอบ อร่อย

 

เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 2,141

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,540

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารท ขนมไทยโบราณที่มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ที่คนไทยมักจะนิยมทำขึ้นในเทศกาลสารทไทย เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ กระยาสารทจึงกลายเป็นเครื่องบ่งชี้หรือแสดงออกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่คนไทยมีต่อพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันกระยาสารทกลายเป็นขนมไทยหายาก เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก รวมกับความร้อนที่เกิดจากท่อนฟืน ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อรับประทานแทนที่จะทำกินเองภายในครอบครัว ดังเช่นครั้งในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 791

ขนมดอกดิน

ขนมดอกดิน

ขนมดอกดิน ขนมพื้นบ้านของคนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร วิธีทำล้างดอกดินให้สะอาด และปั่นกับกะทิเล็กน้อยจะละเอียด ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ เกลือ แป้งข้าวเหนียว ละลายให้เข้ากัน และใส่ดอกดิน คนให้เข้ากัน ตั้งลังถึงบนไฟแรงวางกระทงลงในลังถึง รอน้ำเดือด หยดส่วนผสมลงในกระทงจนเกือบเต็ม ใช้เวลาการนึ่ง 15 นาที หยอดกะทินึ่งต่ออีก 5 นาที จนสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 9,096

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,027

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 2,814

กลีบลำดวน

กลีบลำดวน

กลีบลำดวน หรือ ดอกลำดวนเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีนวดเคล้ากับน้ำตาลและน้ำมัน ปั้นเป็นดอก 3 กลีบ มีเกสรกลมตรงกลาง (อย่างดอกลำดวน) แล้วอบหรือผิง เป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานแต่งงาน ขนมกลีบลำดวนเป็นขนมไทยอีกหนึ่งอย่างที่หาทานยากมาก

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,037

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ

ขนมลูกชุบ เป็นขนมไทยที่เลียนแบบธรรมชาติ อาศัยฝีมือในการปั้น ส่วนใหญ่จะปั้นเป็นผลไม้ พืชผัก เช่น มะม่วงสุก มังคุด พริกชี้ฟ้า ชมพู่แก้มแหม่ม มะยม ฯลฯ สุดแต่ผู้ปั้นจะคิดประดิษฐ์ มักจะเป็นขนมที่มีไว้สำหรับรับแขกบ้านแขกเมือง หรือคนสำคัญ เพราะเป็นขนมที่มีหน้าตาสวยงาม จูงใจให้รู้สึกอยากรับประทานขนมที่มีสีสวยงาม ปั้นแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ที่ได้ชื่อว่าลูกชุบ ก็เพราะวิธีการทำให้ขนมมีส่วนเหมือนผักผลไม้ ก็ต้องชุบวุ้นเพื่อให้เกิดความเงาคล้ายผิวของพืชผลไม้นั้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,638

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 4,768

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน 2 ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 13,217