ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 783

[16.121008, 99.3294759, ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)]

การทอผ้าของกะเหรี่ยง มี 2 ชนิด
        1. การทอธรรมดาหรือทอลายขัด
คือการสอดด้ายขวางเข้าไประหว่างด้ายยืน ซึ่งแยกสลับกันขึ้น 1 ลง 1 หรือขึ้น 2 ลง 2 ตามจำนวนเส้นด้ายที่เรียงเมื่อขึ้นเครื่องทอ ผ้าที่ได้เนื้อผ้าจะเรียบ สมํ่าเสมอ และเป็นสีเดียวกันตลอดผืน ใช้สำหรับเย็บชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ และเย็บกางเกงผู้ชายเท่านั้น โดยปกติด้ายยืน และด้ายขวางที่ใช้ในการทอแบบธรรมดาจะมีจำนวนเท่ากัน ยกเว้นกรณีที่ใช้ด้ายต่างชนิดกัน เช่น ด้ายยืนเป็นด้ายสำเร็จรูปซึ่งเส้นเล็ก และด้ายขวางพื้นเมือง มีขนาดเส้นใหญ่ ต้องใช้ด้านยืนจำนวนมากกว่าด้ายขวาง
        2. การทอเป็นลวดลาย
ผ้า ที่กะเหรี่ยงทอใช้ส่วนใหญ่จะมีลวดลายประกอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ ประโยชน์และความนิยม เช่น ชุดหญิงสาวสะกอจะมีลายขวางบริเวณเหนืออก ผ้าถุงของหญิงแต่งงานแล้วจะทอลวดลายบริเวณไหล่อย่างสวยงาม เป็นต้น การทอเป็นลวดลายจะเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงโปมากกว่าผู้หญิงสะกอ

การกรอด้ายขวาง
        ด้ายขวาง คือ ด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืนปกติแล้ว การทอผ้าของคนพื้นราบจะกรอใส่หลอดด้าย และติดกระสวย นำสอดผ่านเข้าไประหว่างด้ายยืน แต่การทอของกะเหรี่ยงไม่มีกระสวย จึงต้องใช้ด้ายพันไม้ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร โดยมือซ้ายจับปลายไม้ด้านหนึ่งวางทาบกับหน้าขาขวา ใช้มือขวาปั่นฝ้ายเข้าหาตัวโดยให้ด้ายผ่านเข้ามาระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง ของมือซ้าย ทำเช่นนี้จนด้ายในไม้มีมากพอควรแล้ว จึงกรอใส่ไม้อันใหม่ วิธีกรอด้ายแบบนี้กะเหรี่ยงเรียกว่า " ทูลื่อ"

คำสำคัญ : ผ้าปัก การทอผ้า

ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านแม่ออกผารู

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า). สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=05&nu=pages&page_id=495

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=495&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 909

การบูรฟักทอง

การบูรฟักทอง

เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 930

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 741

จักสานไม้ไผ่

จักสานไม้ไผ่

เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,295

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ  โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,042

น้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

น้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,055

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 826

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,801

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ที่บ้านใหม่ธงชัย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นางปัญญา คมขำ เกษตรกรชาวอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร หันมาปลูกผักกูด ผักพื้นบ้าน ในพื้นที่ 8 ไร่ ผสมผสานไปกับพืชยืนต้นอื่นๆ เช่น มะยงชิด กล้วย มังคุด ปรากฏว่าสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยได้เล่าว่าจุดเริ่มต้นของการปลูกผักกูด เกิดจากว่าจะมีการขุดลอกคลอง บริเวณหลังบ้านซึ่งมีผักกูดอยู่ ตัวเองกับสามีคิดว่าถ้าขุดลอกคลองแล้ว ผักกูดน่าจะสูญหายไป ทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่รู้จักผักพื้นบ้านชนิดนี้ ตัวเองกับสามีเลยไปเก็บต้นผักกูดที่รถขุดทิ้ง มาปลูกไว้พื้นที่หลังบ้าน แล้วปรากฏว่าปัจจุบันกลายเป็นพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวของตัวเองได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,440

สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม

สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม

ก่อนที่จะทำฟาร์มปูนาเคยทำอาชีพรับจ้างมาก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนมีหน่วยงานรัฐบาลมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปูนา จึงทดลองเพาะเลี้ยงปูไว้ในที่ว่างหลังบ้าน จากนั้นก็มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอซื้อไปขายต่อ จึงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงปูนาอย่างเต็มตัว เมื่อเริ่มเพาะเลี้ยงปูนาได้มากขึ้นแต่บางช่วงตลาดตัน ราคาขายไม่สูง เลยได้นำไปแปรรูปเป็นอาหาร ส่งจำหน่ายแทน โดยจะนำไปวางจำหน่ายตามร้านขายของฝากต่างๆ รวมถึงส่งขายไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,261