จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้ชม 848

[16.2321042, 99.3558166, จักสานยางพารา]

ชื่อเรื่อง : จักสานยางพารา

วันที่จัดทำ : วันที่ 10 มิถุนายน 2563

ประวัติ
       เริ่มต้นจาก ตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่ เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม จักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอน ให้คนในชุมชนมีอาชีพ

ข้อมูลทั่วไป
        จุดเด่น : เป็นสินค้าทำมือจากชาวบ้าน
        รายละเอียด : ปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มที่ยังจักสานยางพาราอยู่ ประมาณ 7-8 คนจะมีลวดลายออกมาใหม่อยู่เรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากการศึกษาผ่านช่องทาง YouTube ส่วนใหญ่จะจักสานตามลูกค้าสั่ง หรือจะสั่งเก็บไว้เพื่อนำมาออกขายตามงานแสดงสินค้า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็น หน่วยงานราชการ ที่ต้องการนำ กระเช้าไปมอบให้ที่ต่างๆ
        ผลผลิตภัณฑ์และการแปรรูป : กระเป๋า กระเช้า ตะกร้า
        ผู้ให้ข้อมูล : นางวาสนา เพชรไทย (ป้าดำ)
        ที่อยู่ : 52 หมู่ 7 บ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
        เบอร์ติดต่อ : 087-205-5841
        เว็บไซต์ : https://www.khlongnamlai.go.th/home
        Facebook : วาสนา เพชรไทย

ปัญหา
        ปัญหาที่พบในตอนนี้ ขาดบุคลากรที่จะสืบต่อความรู้

คำสำคัญ : จักสาน ยางพารา

ที่มา : วาสนา เพชรไทย

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จักสานยางพารา. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1818&code_db=610007&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1818&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,045

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ผักกูด ผักพื้นบ้าน สร้างรายได้ในครัวเรือน

ที่บ้านใหม่ธงชัย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นางปัญญา คมขำ เกษตรกรชาวอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร หันมาปลูกผักกูด ผักพื้นบ้าน ในพื้นที่ 8 ไร่ ผสมผสานไปกับพืชยืนต้นอื่นๆ เช่น มะยงชิด กล้วย มังคุด ปรากฏว่าสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยได้เล่าว่าจุดเริ่มต้นของการปลูกผักกูด เกิดจากว่าจะมีการขุดลอกคลอง บริเวณหลังบ้านซึ่งมีผักกูดอยู่ ตัวเองกับสามีคิดว่าถ้าขุดลอกคลองแล้ว ผักกูดน่าจะสูญหายไป ทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานไม่รู้จักผักพื้นบ้านชนิดนี้ ตัวเองกับสามีเลยไปเก็บต้นผักกูดที่รถขุดทิ้ง มาปลูกไว้พื้นที่หลังบ้าน แล้วปรากฏว่าปัจจุบันกลายเป็นพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวของตัวเองได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,358

ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว

ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว

เครื่องประดับเงินเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมั่นคง สำหรับผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายย่อยทั้งหลายที่มองเห็นข้อดีของโลหะประเภทนี้ และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เครื่องประดับเงินมีจุดเด่นตรงที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องประดับระดับบน (High-end jewellery) และเครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery) การนำโลหะเงินมาใช้จึงสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ผลิตเครื่องประดับได้ดีทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 799

ห้อยกระดิ่งเงิน

ห้อยกระดิ่งเงิน

ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 843

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ  โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 978

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,096

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,299

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาอเนกประสงค์

เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของรัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 772

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 777

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,390