ดินสอพองกำแพงเพชร

ดินสอพองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้ชม 1,717

[16.5680198, 99.4659328, ดินสอพองกำแพงเพชร]

       จะมีคนกำแพงเพชรสักกี่คนที่ทราบว่า ใต้แผ่นดินอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่เต็มไปด้วยศิลาแลง อันทรงคุณค่า ต่อเมืองมรดกโลก มีดินขาว ที่เรียกกันว่าดินสอพอง จำนวนมาก ดินสอพอง หมายถึง ดินขาว เราเองก็ไม่เคยทราบเช่นกัน ว่ามีดินสอพองใต้แผ่นดินกำแพงเพชร และได้ถูกนำมาผลิตดินสอพอง มานับร้อยปี นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมาอย่างควรบันทึกไว้ในรายการโทรทัศน์วัฒนธรรมของเรา
       เราได้รับแจ้งจากคุณนิมิตร บัลลังก์นาค รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ว่าที่หนองปลิง มีการผลิตดินสอพอง ต่อเนื่องมากว่าร้อยปี และวัตถุดิบ คือดินสอพอง อยู่ที่หนองปลิงนี่เอง ท่านพาเรา ไปพบกับแม่ขี้เหร่ ภู่สวัสดิ์ อายุ 70 ปี ธิดาของคุณแม่บุญเลื่อน ศรีอินทร์ ซึ่งทำอาชีพผลิตดินสอพองมาตั้งแต่รุ่นยาย คือประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา แม่ขี้เหร่นำไปชมบ่อดินสอพอง บริเวณวัดริมทางในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งได้มาสำรวจพบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 น่าสนใจมากบริเวณบ่อดินสอพอง มีเนื้อที่หลายไร่ และเป็นภูมิปัญญาที่น่าศึกษาและภาคภูมิใจ ร่องรอยการขุดดินสอพอง ดินเก่าทับถมดินใหม่ ท่ามกลางซากปรักหักพังของโบราณสถานที่ถูกขุดค้นครั้งแล้วครั้งเล่า
        ดินสอพองตามตำนานเล่าขานกันว่า พระรามจากมหากาพย์รามายณะ ได้แผลงศรไปตกที่ใด ที่ดินบริเวณนั้นจะสุกและกลายเป็นสีขาว กลายเป็นดินสอพองในที่สุดดินสอพองมีแหล่งใหญ่อยู่ที่จังหวัดลพบุรี…ตำนานจึงมีเค้าเรื่องจริง
        ประโยชน์ของดินสอพองมีมากมาย ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากดินสอพองในเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น แต่คนสมัยโบราณใช้ดินสอพองตั้งแต่ตื่นเช้าใช้ทาหน้าและทาตัวแทนแป้ง ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ใช้เป็นยาทาแก้ผดผื่นคัน ผสมน้ำมะนาวทาเมื่อหัวโน ใช้ตบประตูหน้าต่างก่อนที่จะวาดลายลงเนื้อไม้ ใช้ลงเนื้อไม้ที่เป็นรูเป็นร่องให้เรียบเนียน
        อาชีพการทำดินสอพอง ในอำเภอเมืองกำแพงเพชร เหลือเพียงที่บ้านหนองปลิงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แม่เฒ่าขี้เหร่ ภู่สวัสดิ์ ยังมีความสุขที่ได้ทำดินสอพองเข้าสู่ตลาดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง ท่านมีความสุขมากเมื่อมีใครมาเรียนรู้การผลิตดินสอพอง จะมีใครสืบต่อลมหายใจแห่งภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ดินขาวให้เป็นดินสอพองต่อไปอีกหรือไม่ เป็นคำถามที่รอคำตอบทั้งๆที่การทำดินสอพอง มีรายได้ดี โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ตกเดือนละสี่ถึงห้าพันบาท ซึ่งสามารถเลี้ยงตนเองได้ นับเป็นรายได้เสริมที่น่าสนใจมากถ้าสนับสนุนภูมิปัญญาไทย คงต้องหันมาใช้ดินสอพองกันประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าแผ่นดินอันอุดมที่กำแพงเพชรมีดินขาวหรือดินสอพองที่มีคุณภาพไม่แพ้แหล่งใดในประเทศไทย

คำสำคัญ : ดินสอพอง

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2548). หนองปลิง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ดินสอพองกำแพงเพชร. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=1430

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1430&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,685

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,792

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,536

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,723

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 6,268

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,433

เรือนปานะ

เรือนปานะ

เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 952

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,483

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

บ้านที่มีอายุกว่า 120 ปี และยังรักษาสภาพเดิมๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ 80 คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,290

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

ตั้งอยู่ในอำเภอนครชุม ไม่ไกลจากแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นบ้านไม้เก่าแก่ของครูมาลัย นักประพันธ์ชื่อดังแห่งเมืองกำแพงเพชรซึ่งตกทอดมาสู่รุ่นหลาน ที่นี่คือแหล่งผลิตขนมโบราณหาชิมได้ยากอย่าง ขนมข้าวตอก ขนมโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว ดูคล้ายก้อนเกล็ดหิมะสีขาว ทำมาจากน้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับกะทิ คลุกเคล้ากับข้าวตอกบดละเอียดที่ทำมาจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่คั่วไฟจนพอง ก่อนจะอัดพิมพ์แล้วอบด้วยเทียนหอม เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน นิยมนำไปใช้ในงานบุญ งานแต่ง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,000