การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 3,096

[16.4258401, 99.2157273, การขึ้นตาล]

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนตาล     ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญรัน    ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล

        ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อย ๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์ คือ
       1. ตาลหม้อ เป็นตาลที่มีลำต้นแข็งแรง ดูจากลำต้นไม่สามารถแบ่งแยกได้ สังเกตได้จากผลตาลที่ให้ผลใหญ่ ผิวดำเป็นมันเรียบ แทบไม่มีสีอื่นปน เวลาแก่ผลมีรอยขีดเป็นแนวยาวของผม เปลือกหนา ในผลจะมี 2-4 เมล็ด ในหนึ่งทะลายจะมีประมาณ 10-20 ผม จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น
       2. ตาลไข่ มีลำต้นแข็งแรง ผลค่อนข้างเล็ก ตลาดนิยมตาลหม้อมากกว่า สีผลค่อนข้างเหลืองในหนึ่งทะลายจะมีผล 10-20 ผล จะให้ผลเมื่ออายุ 10 ขึ้นไป
       3. ตาลพันธุ์ลูกผสม เป็นลักษณะสีดำผสมสีน้ำตาล พบที่จังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่จะให้ผลเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป
       อาชีพขึ้นตาลเพื่อนำผลไปจำหน่าย ในตำบลนครชุมมีมาช้านาน ตาลจะนิยมปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา ไม่ทำเป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะโตช้า ให้ผลช้า การเก็บผลค่อนข้างยาก จึงไม่มีการปลูกไว้เพื่อการค้าขาย นักขึ้นตาลที่กำแพงเพชรมีไม่กี่คนที่ยังเหลืออยู่ พากันไปประกอบอาชีพอื่น ๆ จนหมดสิ้น เนื่องจากเมื่อสูงอายุมากขึ้น ก็ไม่สามารถขึ้นตาลได้ เพราะเต็มไปด้วยอันตราย
       การขึ้นตาลในปัจจุบัน ไม่ใช้พะองพาดลำต้นเหมือนในอดีต เขาใช้ทอย คือเหล็กแหลมตอกลงในบนต้นตาล แล้วขึ้นอย่าคล่องแคล่ว คล้ายไต่บันได เมื่อขึ้นยอดตาลเลือกหาตาลที่มีผลกำลังพอดี โรยเชือกลงมาอย่างนุ่มนวล แล้วไต่ลงมาเฉาะผลตาลเพื่อไปขายตามตลาด ในราคาถุงละ 20-25 บาท ประมาณ 10 ลอน ซึ่งเมื่อดูวิธีการขึ้นตาลแล้วนับว่าไม่แพง
       การขึ้นตาลในกำแพงเพชร ไม่มีการจ้างขึ้น ผู้ขึ้นจะตระเวนไปตามบ้านต่าง ๆ ที่มีตาล แล้วขอขึ้นแบ่งผลที่ได้ในอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 1 คือผู้ขึ้นจะได้ไป 3 ส่วน เจ้าของตาลจะได้ 1 ส่วน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีใครเขียนขึ้น การขึ้นตาลจึงเป็นอาชีพที่สำคัญของชาวนครชุมกำแพงเพชรอีกอาชีพหนึ่งที่กำลังจะสาบสูญไปจากกำแพงเพชร

คำสำคัญ : ตาล การขึ้นตาล

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). การขึ้นตาล. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1388&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1388&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 4,647

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,545

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

ที่วัดโขมงหัก หมู่ที่ 13 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อทำยาอมมะขามป้อมเพชร เพื่อใช้รักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ บำรุงกล่องเสียง แก้เสมหะที่ลำคอ แก้เสลดหางวัว ยาอมมะขามป้อมเพชร ประกอบไปด้วย มะขามป้อม มะขามเปียก ดอกดีปลี ดอกช้าพลู เกลือ น้ำตาล ที่ถูกนำไปตากแห้งและอบ จากนั้นนำมาเคี่ยวในกระทะที่ร้อนคลุกเคล้าให้เข้ากันใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,249

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพรเป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยมากมักใช้วิธีการประคบสมุนไพรหลังจากทำการนวดเสร็จเรียบร้อย ผลของการรักษาด้วยการประคบสมุนไพรเกิดจากผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ และผลจากการที่ตัวยาสมุนไพรซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,139

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,430

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของประชาชนที่มีความรู้และทักษะของการทอผ้า ที่สืบทอดกันมาจากครอบครัว เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นได้มีการรวมตัวของประชาชนหลังจากว่างงานเกษตรกร โดยมีหัวหน้ากลุ่ม ได้แก่ นางสาวธโยธร ลายทอง เป็นหัวหน้ากลุ่มกลุ่มผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เริ่มผลิตผ้าจากการปั่นด้าย จนกระทั่งถึงการทอผ้า ตัดเย็บ ขายปลีกและขายส่งอย่างครบวงจร มีระบบและสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทอผ้า ตัดเย็บและเลี้ยงตัวได้ หลังจากการทำไร่ทำนา หรือว่างจากการทำเกษตรกรรมนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการรวมกลุ่มการทำงานอย่างเข้มแข็ง ของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 762

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,391

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,890

บายศรี

บายศรี

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย  ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 31,453

บายศรีเอกลักษณ์งานศิลป์ ถิ่นกำแพงเพชร

บายศรีเอกลักษณ์งานศิลป์ ถิ่นกำแพงเพชร

บายศรี มักจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นสำหรับวันสำคัญของชีวิต เช่น เมื่อเราเกิดจะมีพิธีช่วงขวัญเดือนสำหรับเด็กทารก เป็นพิธีผูกขวัญสำหรับเด็กทารกแรกเกิด บายศรีสู่ขวัญในการรับน้อง เมื่อเข้าสถานศึกษา เพื่อเป็นการเรียกขวัญที่คนไทยเชื่อว่า เมื่อเกิดมา เราจะมีเทพพิทักษ์ประจำตัว จำเป็นจะต้องทำพิธีเรียกหรือบอกกล่าวให้รับรู้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ประสบอุบัติเหตุ คนไทยจะนิยมทำพิธีเรียกขวัญเพื่อเรียกขวัญ(จิตใจ) ของผู้ประสบเหตุให้กับมาอยู่กับตัว เมื่อโตมาในช่วงวัยรุ่นก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ เราจะเห็นบายศรีในงานประเพณีบวชพระ ในช่วงที่ทำพิธีทำขวัญนาค โดยเฉพาะในพิธีการแต่งงานที่เป็นวันที่มีความสำคัญในชีวิตไม่แพ้วันอื่น ๆ ย่อมต้องมีพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตด้วยนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 3,301