เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้ชม 1,462

[16.4264988, 99.2157188, เรือนสาวห้อม ]

         ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว
         บ้านที่กล่าวถึงนี้คือ บ้านสาวห้อม แต่เดิมอยู่เรียงกันตามถนนเทศา เป็นเรือนค้าขายของแม่สาวห้อม หรือคนกำแพงเพชร สมัยนั้นเรียกขานกันว่า ยายสายห้อม ปัจจุบันเจ้าของบ้านคืออาจารย์ผ่องศรี มั่นเขตวิทย์ ได้เลื่อนบ้านไปเรียงไว้ใหม่จากขนานแนวถนนกลายเป็นตอนลึก ทำให้น่าสนใจไปอีกแนวทางหนึ่ง
         แม่สาวห้อม เจ้าของบ้าน เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2458 เคยเป็นเรือนร้านค้า (ขายของชำ)และเรือนอยู่อาศัย แม่สาวห้อม ดำเนินการค้าขายด้วยตนเอง แม่สาวห้อมเสียชีวิตในวันที่ 15 ตุลาคม 2521 รวมอายุ 63 ปี เรือนหลังนี้สร้างมาก่อนแม่สาวห้อมเกิด ดูจากสถาปัตยกรรมแล้ว อายุไม่ต่ำ กว่า 120 ปี ยังคงสภาพที่สมบูรณ์มาก
         สถาปัตยกรรม มีสามหลงัต่อเนื่องกันเป็นตอนลึก หลังแรกจะเป็นเรือนไทยโบราณของกำแพงเพชร หลังที่ต่อออกไปเป็นเรือนไทยมนิลา หลังที่ 3 เป็นเรือนไทยปั้นหยา ทั้งสามหลังเชื่อมเป็นหลังเดียวกัน นับเป็นสิ่งที่น่าค้นหาที่สุดในกำแพงเพชร
         หลังแรกเรือนไทย หลังคามีอ่อนช้อย มีความลาดชันมาก เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้เร็ว แต่น้ำฝนที่ไหลมาตามความลาดชั้นที่มากนั้น ย่อมททำให้น้ำฝนมีโอกาสถูกลมพัดเข้าไปในบ้านได้ง่าย ไทยจึงออกแบบกัน สาดให้มีความลาดชันน้อยกว่าหลงัคารองรับน้ำฝนอกีชั้นหนึ่ง เพื่อให้น้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคากระเด็นออกไปให้ห้างจากตัวบ้านมากที่สุดนั่นเอง และในด้านความสวยงามแล้วหลังนี้น่าสนใจที่สุด เรือนไทยหลังนี้ เหมือนเรือนไทยทั่วไปคือมีโครงสร้างแบบเสาและคาน ซึ่งถ่ายน้ำหนักมาจากหลังคาลงพื้น โดยผ่านเสาลงสู่ฐานราก เสาบ้านมีลักษณะสอบเข้าและเป็นเสากลม โคนโต ปลายสอบ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของเรือนไทยไม่ให้ทรุดตัวได้ง่าย เนื่องจากฤดูน้ำหลากพื้นดินจะเป็นโคลนตม และตัวเรือนอาจเกิดการทรุดตัวได้ง่ายหากไม่มี การลม้สอบของเสาเรือน ประตหูน้าต่างออกแบบเปิดเข้าภายใน มีบานเฟี้ยมที่ใหญ่และงดงาม ฝาเป็นไม้ขนาดใหญ่ที่ตีแบบตั้งขึ้น เข้าลิ้น ไม่ให้ฝนสาดเข้าในตัวเรือน ยังรักษาสภาพไว้ดีเยี่ยม
        หลังที่ 2 เป็นทรงมะนิลา หลงัคาทรงมนิลา หรือหลังคาหน้าจั่ว เป็นหลังคาที่มีสันตรงกลาง และลาดลงทั้ง 2 ข้าง เป็นรปูทรงที่สืบทอดกันมาเคยทรงไทยแต่ไม่อ่อนช้อยและประณีตเท่า มีมาแต่สมัยกอ่นกรงุศรีอยุธยาเป็นราชธานี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อนอย่างบ้านเรา เนื่องจากมีฝนตกชุกหลังคาจั่วสามารถระบายน้ำฝนออกไปได้เร็ว และป้องกันแดดได้ดีเนื่องจากชายคายื่นยาวสองด้านส่วนด้านสกัดหรือด้านแคบ ยังรักษาสภาพได้ดี เป็นที่พำนักของเจ้าของบ้าน  
        หลังที่ 3 หลงัคาทรงปั้นหยา ได้แพร่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้ทุกด้าน เป็นหลังคารูปทรงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้พราะหลังคาทรงนี้สามารถยื่นชายคาเพื่อบังแดดและฝนได้ทั้งสี่ด้าน การระบายน้ำฝนและการป้องกันการรั่วซึมค่อนข้างจะเสียเปรียบ หลังคาจั่วเนื่องจากมีรอยต่อมากกว่าแต่ถ้ามุงได้ถูกวิธีและดูแลรักษาตามสภาพก็จะไม่รั่วซมึ เดิมหลังนี้ไว้เก็บของ แต่ปัจจุบันเจ้าของบ้านปรับเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอีกหลังหนึ่ง มาชมเรือนสาวห้อมหลังเดียว ก็เหมือนได้ชมเรือนไทยในกำแพงเพชรทุกหลังผ่านไปมาลองแวะชม เจ้าของอัธยาศัยไมตรีเยี่ยมจริง ๆ

คำสำคัญ : เรือนโบราณ

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2558). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนสาวห้อม . สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=1360

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1360&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือ ตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,462

ดินสอพองกำแพงเพชร

ดินสอพองกำแพงเพชร

จะมีคนกำแพงเพชรสักกี่คนที่ทราบว่า ใต้แผ่นดินอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่เต็มไปด้วยศิลาแลง อันทรงคุณค่าต่อเมืองมรดกโลก มีดินขาว ที่เรียกกันว่าดินสอพองจำนวนมาก ดินสอพอง หมายถึง ดินขาว เราเองก็ไม่เคยทราบเช่นกัน ว่ามีดินสอพองใต้แผ่นดินกำแพงเพชร และได้ถูกนำมาผลิตดินสอพองมานับร้อยปี นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมาอย่างควรบันทึกไว้ในรายการโทรทัศน์วัฒนธรรมของเรา

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,716

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,987

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,429

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,482

เรือนปานะ

เรือนปานะ

เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 951

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,789

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,240

บายศรี

บายศรี

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย  ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 31,971

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

ตั้งอยู่ในอำเภอนครชุม ไม่ไกลจากแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นบ้านไม้เก่าแก่ของครูมาลัย นักประพันธ์ชื่อดังแห่งเมืองกำแพงเพชรซึ่งตกทอดมาสู่รุ่นหลาน ที่นี่คือแหล่งผลิตขนมโบราณหาชิมได้ยากอย่าง ขนมข้าวตอก ขนมโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว ดูคล้ายก้อนเกล็ดหิมะสีขาว ทำมาจากน้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับกะทิ คลุกเคล้ากับข้าวตอกบดละเอียดที่ทำมาจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่คั่วไฟจนพอง ก่อนจะอัดพิมพ์แล้วอบด้วยเทียนหอม เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน นิยมนำไปใช้ในงานบุญ งานแต่ง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,000