เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้ชม 1,988

[16.4571068, 99.3907176, เรือนส่างหม่อง]

        ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน ดังนั้นจึงขอนางเถาและนายหุ่นมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมต่อมานางเถาได้สมรสกับนายบุญคง ไตรสุภา มีบุตรธิดา 5 คน ส่วนนายหุ่นได้สมรสกับนางบน แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน และต่อมานางเถาได้เสียชีวิตลง นายบุญคง ไตรสุภา จึงได้สมรสใหม่กับนางบนและได้ช่วยกันเลี้ยงดูบุตรของนายบุญคง และนางเถา นางกฤษณา เหลี่ยมเคลือบ (บุตรสาวนาย บุญคง ไตรสุภาเป็นผู้ให้ข้อมูล ปัจจุบันอายุ 78 ปี (2559) บ้านหลังนี้สันนิษฐานว่าควรสร้าง เมือง 120 ปีมาแล้ว คือสร้างราวปี พ.ศ. 2439 ส่างหม่องเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการร่วมบูรณะพระบรมธาตุร่วมกับพะโป้ โดยเป็นผู้อัญเชิญยอดฉัตรวัดพระบรมธาตุมาจากมะระแหม่ง ประเทศพม่าส่างหม่องเสียชีวิตก่อนนางเฮียง แต่ไม่มีใครสามารถระบุปีที่เสียชีวิตได้ เพราะไม่มี หลักฐานสนับสนุน ดูจากรูปถ่าย อายุราว 50 ปี แสดงว่าส่างหม่อง น่าจะมีอายุกว่า 50 ปี และสันนิฐานว่าเสียชีวิต ราว ปี 2480
        ลักษณะสถาปัตยกรรมบ้านส่างหม่อง เป็นเรือนทรงปั้นหยา (สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง 4 ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ทำเป็นหัตถ์ ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะหลังคา เช่นนั้น) เรือนปั้นหยา เป็นเรือนไม้อิทธิพลยุโรป ในยุคล่าเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศส พระราชวังและบ้านเรือนขุนนางนิยมสร้างแบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิดไม่มีหน้าจั่ว ถ้ามีหน้าจั่วจะกลายเป็นทรงมะนิลา ผสมกับปั้นหยา มีทั้งแบบใต้ถุนสูง และสองชั้น) ยกใต้ถุนสูง ใต้ถุนโล่งใช้เป็นพื้นที่เก็บของ หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์แบบยุโรป บ้านมีขนาดหน้ากว้าง 12 เมตร ลึก 8.50 เมตร มีสองระดับ คือนอกชานขนาดใหญ่ มีระเบียงภายนอกขนาดกว้าง ประมาณ 3 เมตร
        บริเวณทางเข้าสู่ตัวบ้านเป็นบันไดราว 7 ขั้น เข้าสู่ชานบ้าน ภายในพื้นที่โล่งส่วนกลางมีการยกพื้นราว 0.50 เมตร และยาวตลอดไปถึงพื้นที่ครัว ภายในบ้านมีห้องนอนใหญ่อยู่ด้านหน้า เป็นห้องนอนมีประตูบานเฟี้ยมส่วนด้านหลังมีห้องเก็บของ 1 ห้อง ปัจจุบันใช้เป็นที่อาศัยเพียงด้านเรือนชานด้านหน้า เนื่องจากในห้องจะใช้เก็บข้าวของเครื่องใช้ เช่น เตียงโบราณ ตู้เก็บถ้วยจาน โบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง ซึ่งของใช้อยู่ในสภาพที่ดีทุกชิ้น หน้าถังบานเฟี้ยมขนาดใหญ่ มีลวดลายที่งดงาม ช่องลมมีลายที่งดงาม หน้าต่างเปิดออกต่างกับแบบเรือนไทย บ้านส่างหม่องเป็นบ้านที่มีสภาพสมบูรณ์มากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายในบ้านมีเครื่องใช้ของส่างหม่องในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทันสมัยมากมาย อาทิ เครื่องกรองน้ำ ตู้เซพขนาดใหญ่ 2 ตู้ โต๊ะทำงาน เพียงเหล็กขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่ โต๊ะเครื่องแป้งขนาดใหญ่สวยมาก เครื่องมือใช้สอยครบถ้วน
        บ้านส่างหม่องปัจจุบันเป็นของนายบุญคง ไตรสุภา ตกมาเป็นของนางกฤษณา เหลี่ยมเคลือบ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร อยู่เลยโรงเรียนบ้านนครชุม มาทางตลาดนครชุมนิดเดียว น่าเที่ยวชมที่สุด บ้านส่างหม่องหลังนี้สมควรที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านประจำจังหวัดกำแพงเพชรอย่างยิ่ง เพราะเหมาะสมทุกอย่างทุกประการ

คำสำคัญ : เรือนโบราณ

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2558). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนส่างหม่อง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=1359

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1359&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพรเป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยมากมักใช้วิธีการประคบสมุนไพรหลังจากทำการนวดเสร็จเรียบร้อย ผลของการรักษาด้วยการประคบสมุนไพรเกิดจากผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ และผลจากการที่ตัวยาสมุนไพรซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,379

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,430

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของประชาชนที่มีความรู้และทักษะของการทอผ้า ที่สืบทอดกันมาจากครอบครัว เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นได้มีการรวมตัวของประชาชนหลังจากว่างงานเกษตรกร โดยมีหัวหน้ากลุ่ม ได้แก่ นางสาวธโยธร ลายทอง เป็นหัวหน้ากลุ่มกลุ่มผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เริ่มผลิตผ้าจากการปั่นด้าย จนกระทั่งถึงการทอผ้า ตัดเย็บ ขายปลีกและขายส่งอย่างครบวงจร มีระบบและสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทอผ้า ตัดเย็บและเลี้ยงตัวได้ หลังจากการทำไร่ทำนา หรือว่างจากการทำเกษตรกรรมนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการรวมกลุ่มการทำงานอย่างเข้มแข็ง ของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 836

เรือนพระโป้

เรือนพระโป้

ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง 20.50 เมตร ลึก 11.50 เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง 10 เมตร ยาวเกือบ 20 เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และ ห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว 7 เมตร โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,376

เรือนปานะ

เรือนปานะ

เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 951

เสื้อลายดอก

เสื้อลายดอก

การสวมเสื้อลายดอกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของภาคกลาง ในเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชร มีเอกลักษณ์การสวมเสื้อผ้าลายดอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเทศกาลสำคัญประจำเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ด้วยเหตุดังกล่าว เสื้อลายดอกและผ้าไทย จึงเป็นที่น่าสนใจของทุกสถาบันพากันสวมเสื้อลายดอกกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งระบบสถาบันและชาวกำแพงเพชร นิยมที่จะสวมใส่เสื้อลายดอกและผ้าไทยกันทุกรุ่นทุกวัย ทำให้กิจกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าลายดอกที่กำแพงเพชรจึงมีหลายร้าน ที่น่านิยมและสนใจ

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,701

เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือ ตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,462

เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)

เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)

บนถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วัดเสด็จขึ้นมาจนถึงการประปากำแพงเพชร มีบ้านเรือนไทยเก่าแก่อายุนับร้อยปีจำนวนมาก เป็นโชคดีของกำแพงเพชรที่บ้านเหล่านี้เหลือจากไฟไหม้ใหญ่ที่กำแพงเพชร เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10 น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือน 

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,207

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,482

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

ตั้งอยู่ในอำเภอนครชุม ไม่ไกลจากแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นบ้านไม้เก่าแก่ของครูมาลัย นักประพันธ์ชื่อดังแห่งเมืองกำแพงเพชรซึ่งตกทอดมาสู่รุ่นหลาน ที่นี่คือแหล่งผลิตขนมโบราณหาชิมได้ยากอย่าง ขนมข้าวตอก ขนมโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว ดูคล้ายก้อนเกล็ดหิมะสีขาว ทำมาจากน้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับกะทิ คลุกเคล้ากับข้าวตอกบดละเอียดที่ทำมาจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่คั่วไฟจนพอง ก่อนจะอัดพิมพ์แล้วอบด้วยเทียนหอม เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน นิยมนำไปใช้ในงานบุญ งานแต่ง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,000