ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้ชม 9,072

[16.4264988, 99.2157188, ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร]

        ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ หรือภาษาชนบท เสียง-เหน่อของภาษาถิ่นกำแพงเพชรคือ เสียงวรรณยุกต์ต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน เช่น เสียงเอกเป็นเสียงจัตวา เสียงจัตวาเป็นเสียงเอก อาจจำแนกออกเป็นสามกลุ่มคือ
       ภาษาชาวอำเภอพรานกระต่าย มีสำเนียงคล้ายชาวสุโขทัย คำที่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงเอกจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา และมีคำศัพท์เฉพาะอื่น ๆ แตกต่างออกไปจากกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดกำแพงเพชร
       ภาษาของชุมชนนครชุมและกำแพงเพชร ชาวกำแพงเพชรในเขตตำบลหนองปลิง ออกเสียงเหน่ออยู่บ้าง ส่วนชาวนครชุมมีเสียงเหน่อค่อนข้างชัด และมีศัพท์บางคำผิดแผกจากคำมาตรฐานทั่วไป
       ภาษาของชาวไตรตรึงษ์และคณที กลุ่มชนทั้งสองกลุ่มนี้มีบางส่วนที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่ม-ชนดั้งเดิมครั้งอาณาจักรสุโขทัย แต่ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันส่วนมากอพยพมาจากจังหวัด อื่น ๆ ไม่มีเสียงเหน่อเด่นชัดเหมือนชาวนครชุม แต่มีสำเนียงห้วนสั้นกว่าภาษาไทยมาตรฐานเล็กน้อย และมีสร้อยคำ "ฮิ" ต่อท้ายบ้างเป็นบางคำ
       ภาษาไทยถิ่นอีสาน ใช้ในกลุ่มชนที่อพยพมาจากภาคอีสานหลายจังหวัด มาตั้งกลุ่มชนในอำเภอต่าง ๆ เช่น อำเภอคลองขลุง อำเภอคลองลาน อำเภอทรายทองวัฒนา และอำเภอปางศิลาทอง เป็นต้น
       ภาษาไทยดำหรือโซ่ง ใช้ในกลุ่มชนเชื้อสายชาวโซ่ง มีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเดียนเบียนฟู อพยพผ่านลาวเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือตอนล่างหลายจังหวัด ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรมีอยู่ที่ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง ฯ อำเภอไทรงาม และอำเภอลานกระบือ
       ภาษาไทยยวนหรือภาษาล้านนา ใช้ในกลุ่มชนที่อพยพจากภาคเหนือมาอยู่ในอำเภอเมือง ฯ อำเภอคลองขลุง และอำเภอคลองลาน
       ภาษาชาวเขา เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอคลองลานเป็นส่วน-ใหญ่และส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอปางศิลาทองกับกิ่งอำเภอโกสัมพีนคร แบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้
          - ภาษาม้ง เป็นภาษาที่มีเสียงก้องและเป็นคำโดด มีคำศัพท์ที่ยืมมาจากจีน ไทยและลาว มีพยัญชนะมากกว่าภาษาไทย มีสระคล้ายคลึงกัน แต่ไม่มีเสียงตัวสะกดชัดเจน
          - ภาษาเย้า คล้ายกับภาษาม้ง ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนมาก ลักษณะเป็นคำเดียวโดด ๆ ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง บางคนใช้อักษรจีนเขียนและอ่านเป็นภาษาเย้า บางท้องที่ใช้ภาษาจีนฮ่อ
          - ภาษากะเหรี่ยง มีพยัญชนะต้นควบกล้ำมากกว่าภาษาไทย มีวรรณยุกต์เพียงสามเสียง และตัวสะกดหนึ่งเสียงคือ อ.
          - ภาษาลีซอ ชาวลีซอมีความสามารถทางภาษาสูง สามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาจีนยูนนาน ไทยใหญ่คำเมือง (ไทยยวน) และอีก้อ เป็นต้น ไม่มีเสียงตัวสะกด
          - ภาษามูเซอ มีระดับเสียงวรรณยุกต์ถึงเจ็ดเสียง ไม่มีเสียงพยัญชนะตัวสะกดเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ

คำสำคัญ : ภาษาถิ่น ภาษาพื้นบ้าน

ที่มา : http://www.kpp-local.go.th/index.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1364

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1364&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

วันหนึ่งลูกเขยชวนพ่อตาไปโค่นต้นตาล ฝ่ายลูกเขยก็พูดว่า “เอ้าพ่อ ! พ่อฟันข้างนอกก่อนเลยฟันเปลือกมันก่อนนะพ่อนะ เดี๋ยวแก่นมันผมฟันเอง” ฝ่ายพ่อตาก็ฟันใหญ่เลยแล้วก็บ่นอีก “โอ๊ยขนาดเปลือกมันยังแข็งขนาดนี้นะเนี่ยไอ้หนู แล้วแก่นมันเอ็งจะฟันไหวรึ มันจะขาดให้เอ็งรึ” พอพ่อตาฟันเสร็จแล้วไอ้ลูกเขยก็ฟันบ้าง แต่มันฟันฉวบๆ เลย ก็ต้นตาลนะมันจะมีอะไรล่ะ ข้างในนะ ไอ้ที่ว่าแก่นแข็งๆ นะมันอยู่ข้างนอกรอบต้นมันนี่ ฝ่ายพ่อตาเห็นลูกเขยตัวก็ยังชมมันอีกว่า “เอ่อไอ้หนูเอ็งนี่แรงดีว่ะ ขนาดพ่อฟันแค่เปลือกมันยังหมดแรงเลยวะ”

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,930

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,578

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,403

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง แม่เป็นคนชอบทำบุญ จะใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน อยู่มาวันหนึ่ง แมํไม่ว่างออกมาใส่บาตร จึงบอกให้ลูกสาวไปใส่บาตรแทนลูกสาวยังเด็กตื่นมาไมํทันล้างหน้าล้างตาก็รีบไปใสํบาตร ขี้มูกขี้ตาเกรอะกรัง พอพระเห็นเข้าก็รังเกียจเอาฝาบาตรเคาะหัวจนเป็นรอยแผลเป็นที่หน้าผาก ผ่านมาหลายปีพระก็สึก สํวนเด็กคนนั้นก็โตเป็นสาวสวย เลยมาชอบกันอดีตพระเห็นแฟนสาวมีแผลเป็น ที่หน้าผากก็ถามวำหน้าผาก น้องเป็นอะไร แฟนสาวบอกวำไมํรู้ไอ้พระบ้าที่ไหนเอาฝาบาตรมาเคาะหัว อดีตพระก็เลยจำได้ ขำกันทั้งคูํ อยำงนี้แหละเขาเรียกวำจุดไต้ตำตอ

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 1,300

นิทานพื้นบ้าน เรื่องเหตุที่งูเหลือมไม่มีพิษ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องเหตุที่งูเหลือมไม่มีพิษ

เดิมทีงูเหลือมเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่มีพิษมาก อาศัยอยูํใกล้กอไผ่ วางไข่เป็นจำนวนมาก และก็หวงไข่ของตนเองเป็นที่สุด ใครเดินผำนจะต้องฉกตายทุกคน มีชายคนหนึ่งคิดจะลองดีกับงูเหลือม จึงเอากระทะครอบหัวเป็นหมวก แล้วเดินผำนบริเวณที่งูเหลือมอาศัย อยู่ งูเหลือมเห็นคนเดิ่นผ่านมาก็ฉกอย่างแรงไปโดนกระทะ ชายคนนั้นก็วิ่งหนีไป งูเหลือมเคยกัดคนตาย เห็นตาคนนี้ไม่ตายก็เลยนึกว่าตนเองไม่มีพิษสงอีกต่อไป โมโหตัวเองคายพิษออกมากองไว้สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ได้ข่าวว่างูเหลือม คายพิษทิ้ง ก็อยากจะมีพิษกับเขาบ้างรีบเดินทางมาเอาพิษกันแน่นขนัด ใครมาเร็วก็ได้ไปมาก อย่างเช่น งูเห่าไฟเอาตัวคลุกพิษจนแดงไปทั้งตัว งูจงอาง งูแมวเซา งูที่ปัจจุบันมีพิษทั้งหลายมาเร็วก็ได้ไปมาก เจ้าแมงป่องมาช้าเบียดเข้าไปไม่ถึง หันหลังเข้าไป ได้แค่หางจุ่มก็เลยมีพิษที่หาง ส่วนเจ้ามดตะนอยอยากได้กะเขาบ้าง เบียดเข้าไปเลยถูกหนีบจนเอวคอด เหตุการณ์ครั้งนี้เลยทำให้สัตว์ต่างๆ มีพิษ และงูเหลือมไม่มีพิษ ตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 6,419

นิทานเรื่อง พระรังกับพระคง

นิทานเรื่อง พระรังกับพระคง

พระรังกับพระคงเป็นเพื่อนรักกัน พระรังบวชมานานแล้วแต่พระคงเพิ่งบวชยังไม่สามารถสวดมนต์ได้มากนัก วันหนึ่งเป็นวันพระ ญาติโยมมาทำบุญตามปกติ หลังฉันเสร็จเหลือส้มอยู่ 2 ลูก ลูกเล็กกับลูกใหญ่ พระรังให้พระคงหยิบก่อน พระคงหยิบลูกใหญ่ พระรังจึงต่อว่าว่า “แหม!! ไม่มีมารยาทเลย เอาลูกใหญ่ไปก่อน” พระคงถามว่า แล้วถ้าเป็นพระรังจะหยิบลูกไหน พระรังบอกว่า “ก็หยิบลูกเล็กซิ” พระคงตอบว่า “เห็นไหมละจะก่อนหลัง ฉันก็ได้ลูกใหญ่อยู่ดี” พอถึงตอนสวดให้พร พระรังนำสวดก่อนลงท้ายว่า “อายุ วรรโณ สุขัง พลัง” พระคงได้ยินดังนั้นก็สวดบ้าง “อายุ วรรโณ สุขัง พระคง” พระคงฟังไม่ถนัด ได้ยินคำว่าพลัง นึกว่าต้องเอาชื่อต่อท้าย (พระรัง) ก็เลยเอาชื่อตัวเองต่อท้ายบ้าง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,111

ตำนานพระซุ้มกอ

ตำนานพระซุ้มกอ

มีกูไว้แล้วจะไม่จน คือ ถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง เบญจภาคี คือ การนำเอาพระเครื่องที่เป็นพระเครื่องชั้นยอดมารวมกัน 5 องค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในวงการพระเครื่องยุคแรก ที่วงการพระรู้จักท่านในนามปากกา " ตรียัมปวาย " เป็นผู้บัญญัติจัดตั้งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พระเบญจภาคี 5 องค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 8,948

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีกระต่ายตัวหนึ่งหากินอยู่ริมบึง และมีจระเข้อยู่ในบึงอีก 1 ตัว คอยจ้องกินเหยื่อ จระเข้มองเห็นเจ้ากระต่ายมาใกล้ๆ จึงรีบคลานขึ้นจากน้ำ อ้าปากงับกระต่ายอย่างรวดเร็ว กระต่ายตกใจมาก คิดเพียงว่าต้องหาทางออกจากปากจระเข้ให้ได้ จึงออกอุบายถามจระเข้ว่า “ไหนๆ ข้าจะตายแล้ว บอกหน่อยทีเถอะว่าหวยงวดนี้ออกอะไร” จระเข้ไม่ทันคิดจึงอ้าปากบอกว่า “55” กระต่ายได้โอกาสกระโจนออกจากปากเอาขาหลังถีบลิ้นจระเข้ขาด ส่วนจระเข้รีบงับไว้ได้เพียงหางกระต่าย จระเข้จึงไม่มีลิ้นและกระต่ายมีหางสั้นกุดจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 11,902

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,867

ตำนานพระร่วง

ตำนานพระร่วง

คำว่าตำนาน หมายถึง เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 15,197