เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,494

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา]

        มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน ท้าวไชยศิริจึงสร้างราชธานีใหม่ เรียกนามว่านครไตรตรึงษ์ ท้าวไชยศิริครอง นครไตรตรึงษ์จนทิวงคตเชื้อพระวงศ์ได้ครองราชสมบัติสืบมาอีก 4 ชั่วคนท้าวไตรตรึงษ์ชั่วที่ 4 มีราชธิดาอยู่องค์หนึ่ง มีรูปโฉมงดงามมาก กิตติศัพท์เล่าลือระบือไปในเมืองต่าง ๆ ทราบถึงพระเจ้านครศรีวิชัย จึงใช้ทูตไปทาบทามเพื่อขอนางนั้นเป็นมเหสีแห่งพระชินเสนราชโอรสผู้เป็นยุพราช แต่ท้าวไตรตรึงษ์ไม่มีราชโอรสก็ปรารถนาจะได้เขยมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสืบไป จึงตอบว่าถ้าท้าวศรีวิชัยยอมเป็นเมืองขึ้นจึงจะยกพระธิดาให้ท้าวศรีวิชัยก็ไม่ยอมจึงงดกันไป ครั้นเมื่อราวปีฉลู จุลศักราช 675 พ.ศ.1857 พระชินเสนมีความปรารถนาจะใคร่เห็นตัวนางธิดาไตรตรึงษ์ จึงลาพระราชบิดาไปยังเมืองไตรตรึงษ์ แต่ครั้นจะตรงเข้าไปก็เห็นไม่สะดวกด้วย พระบิดากับท้าวไตรตรึงษ์ผิดใจกันอยู่ จึงใช้อุบายแปลงตัวเป็นยาจกเอาฝุ่นและเขม่าทาให้เปื้อนเปรอะ เอารงค์แต้มตัวให้ดู ประหนึ่งว่าเป็นปมปุ่มทั่วไปทั้งตัว นุ่งห่มให้ปอนแล้วก็เข้าไปในเมืองไตรตรึงษ์ ไปอาสารับใช้ผู้เฝ้าสวนหลวงอยู่ เพื่อหาช่องดูตัวนาง อยู่มาวันหนึ่งนางธิดาไตรตรึงษ์ออกไปประพาสสวนหลวง พระชินเสนไปเที่ยวเดินเก็บผลหมาก รากไม้และผักหญ้าอยู่ ได้เห็นตัวนางก็มีความรัก จึงเข้าไปหาและนำผักไปถวาย นางสังเกตดูพระชินเสนเห็นได้ ว่าไม่ใช่คนไพร่จริงจึงให้นางข้าหลวงซักดู พระชินเสนก็ให้การแต่เพียงว่าชื่อนายแสนปม นางสั่งว่าให้หมั่นเก็บผัก ส่งเข้าไปในวัง แล้วก็กลับเข้าวัง  ฝ่ายพระชินเสนกลับไปถึงที่พักแล้ว ไตร่ตรองดูเห็นว่าท่าทางนางจะมีความรักใคร่บ้างแต่ยังไม่แน่ใจ จึง ใช้อุบายเอาเหล็กแหลมจารเป็นหนังสือบนมะเขือเป็นถ้อยค้าเกี้ยวเลียบเคียงเป็นนัย ๆ แล้วน้ามะเขือกับผักอื่น ๆ ส่งไปให้นางฝ่ายนางได้เห็นหนังสือนั้นแล้วก็เขียนตอบใส่ห่อหมากฝากไปให้นายแสนปม พระชินเสนได้รับหนังสือตอบ เข้าใจได้ว่านางสมัครรักใคร่ในตนเป็นแน่แล้ว จึงเข้าไปหานางที่ในวัง และพบปะกันหลายครั้ง จนนางตั้งครรภ์ต่อมาพระบิดาของพระชินเสนประชวร พระชินเสนต้องรีบกลับไปนครศรีวิไชย เมื่อไปถึงพระบิดาโปรดให้เป็นผู้ช่วยว่าราชการ จึงไม่มีโอกาสที่จะไปรับนาง ครั้น ณ วันที่ 2 เดือน 8 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 676 พ.ศ. 1857 พระราชธิดาท้าวไตรตรึงษ์ประสูติพระโอรสโหรท้านายว่าจะได้เป็นพระยามหากษัตริย์ทรงเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ท้าวไตรตรึงษ์ผู้เป็นตา อยากทราบว่าใครเป็นบิดาแห่งหลาน ถามพระธิดาก็ไม่ให้การอย่างไรทั้งสิ้น ถามพวกข้าหลวงก็ไม่มีใครรู้เรื่องอะไร คงเป็นแต่โจษกันว่าตั้งแต่ได้เสวยมะเขือซึ่งนายแสนปม ถวายแล้วก็ทรงครรภ์ ท้าวไตรตรึงษ์ทรงไตร่ตรองดูก็คิดว่าผู้ชายถ้าไม่เป็นคนดี ที่ไหนจะบังอาจลอบลักสมัครสังวาสกับพระธิดาเช่นนั้นได้ จึงคิดหาวิธีที่จะหาบิดาแห่งกุมาร โดยปรึกษากับมหาราชครูเป็นที่ตกลงพร้อมกันว่าให้ป่าวประกาศให้บรรดาทวยลูกเจ้าลูกขุน และทวยราษฎรมาพร้อมกันยังหน้าพระลานให้ถือขนมนมเนย ติดมือมาแล้วอธิษฐานว่าถ้าผู้ใดเป็นบิดาพระกุมาร ขอให้พระกุมารรับของจากมือผู้นั้น กิตติศัพท์คำประกาศทราบไปถึงพระชินเสน จึงให้เตรียมรี้พลสกลโยธาเป็นทัพใหญ่ ตั้งพระทัยว่าอย่างไร ๆ ก็ต้องรับพระธิดามาให้ได้
        พอใกล้ถึงนครไตรตรึงษ์ก็สั่งให้ทัพหยุดพักอยู่แล้ว สั่งอุบายแก่ขุนพลไว้เสร็จแล้วพระชินเสนจึงแปลงเป็นนายแสนปมถือข้าวเย็นก้อนหนึ่งเข้าไปยังพระลาน ครั้นถึงเวลากำหนด ท้าวไตรตรึงษ์ก็ออกยังหน้าพระลานให้เชิญพระนัดดาออกมาและพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้วก็ให้อุ้มพระนัดดาไปเที่ยวดูคน พระกุมารก็ไม่รับของ ๆ ใครสักคนเดียว จนกระทั่งนายแสนปมชูก้อนข้าวเย็นให้จึงได้รับ ท้าวไตรตรึงษ์เห็นหลานรับก้อนข้าวเย็นของนายแสนปมเป็นการผิดคาดคะเนทั้งรู้สึกอับอายแก่ธารกำนัลว่าพระธิดาเล่นชู้กับคนเลวเช่นนั้น ขับพระธิดาออกจากพระนครโดยทันที และด่าว่านายแสนปมต่าง ๆ นายแสนปมจึงกล่าวว่าถึงขับไล่ก็ไม่วิตกเมืองจะสร้างอยู่เองใหม่ สักเท่านี้ก็ได้ ทั้งไม่มีความเกรงกลัวใครเลยเพราะพอตีอินทเภรีขึ้นรี้พลก็จะมีมาเหมือนน้ำมหาสมุทร ท้าวไตรตรึงษ์สำคัญว่านายแสนปมพูดอวดดีจึงท้าให้ตีกลอง แสนปมก็ตีกลองอินทเภรีขึ้น 3 ลำ ขณะนั้นขุนพลแห่งนครศรีวิไชยได้ยินเสียงกลองก็ให้พลโห่ร้องขึ้นตามที่พระชินเสนได้ตรัสสั่งไว้ ไตรตรึงษ์ตกใจตะลึงหมดท่ามิรู้ที่จะท้าประการใดต่อไป แลเห็นถนัดว่าเสียท่าเขาแล้วก็ได้แต่จ้ายอมท้าวเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะวิงวอนงอนง้อพระชินเสนให้เขาอยู่เขาก็คงไม่อยู่ พระชินเสนก็คงเป็นอันได้รับนางและบุตรกลับไปนครศรีวิไชย 
        นิทานเรื่องนายแสนปม ถือเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ท้าให้ผู้คนทั้งหลายเชื่อกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งเป็นราชบุตรของนายแสนปมและเป็นรัชทายาทครองเมืองเทพนคร ต่อมาได้ 6 ปี พระเจ้าอู่ทองทรงย้ายราชธานี ใหม่ซึ่งมีความบริบูรณ์พูนสุขกว่าเมืองเทพนคร โดยทรงเห็นว่าตำบลหนองโสน มีชัยภูมิเหมาะสมดี พระเจ้าอู่ทองจงสั่งเคลื่อนย้ายไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

คำสำคัญ : นิยายปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ปงป กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1319

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1319&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,589

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,602

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 11,024

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,723

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดาวลูกไก่

ณ เชิงเขาแหํงหนึ่ง มีกระท่อมอยูํหลังหนึ่ง ซึ่งมีตากับยายอาศัยอยูํ 2 คน มีอาชีพทำไรํทำนาอยูํบนเชิงเขา อยูํมาวันหนึ่งมีพระธุดงค์ได้มาปักกลดอยูํใกล้บ้านตากับยาย ตากับยายเลยคิดวำจะทำอะไรให้พระฉันดี ยายก็คิดวำผลไม้บนเชิงเขาก็ไมํคํอยมี กลัวพระจะฉันไมํอิ่ม ก็เลยคิดวำที่บ้านมีไกํอยูํ 1 ตัว และแมํไกํตัวนี้ได้มีลูกอีก 7 ตัว ยายจึงคิดจะทำแกงไกํถวายพระ แมํไกํได้ยินเข้าจึงร้องไห้ แล้วเอาปีกโอบลูกไกํทั้ง 7 ตัวไว้ แล้วบอกกับลูกวำ ลูกเอยพรุํงนี้เช้าแมํต้องตายแล้ว แล้วแมํไกํได้สอนลูกไกํทั้ง 7 ตัว วำให้รักกันให้มากๆ พอรุํงเช้ามาตาก็ก่อไฟไว้เพื่อที่เตรียมจะแกงไก่ พอลูกไกํเห็นตากำลังเชือดคอแมํไกํ ลูกไกํเห็นดังนั้นจึงเสียใจกระโดดเข้ากองไฟตายตามแมํไกํทั้ง 7 ตัว ตาจึงได้ทำแกงไก่ถวายพระด้วยความที่ลูกไกํมีใจประเสริฐนึกถึงแม่ตัวเองตลอดเวลา จึงไปเกิดเป็นดาวลูกไกํ ทั้ง 7 จนถึงปัจจุบันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 35,989

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,796

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

ตาจุ้ยกับตาจันทร์เป็นชาวบ้านหนองปรือ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนรักกันมากเป็นคนขี้ยาและติดฝิ่นด้วยกัน สมัยนั้นเป็นป่าดิบดงดำ วันหนึ่งตาจุ้ยกับตาจันทร์ชวนกันมาตัดหวายที่ชายดง ตาจุ้ยตัดหวายได้เส้นหนึ่ง ยาวสวยมาก ขากลับบ้านตาจุ้ยเดินลากหวายตามทางมา ตาจันทร์กะหยอกเพื่อนเลํน จึงแกล้งใช้มีดฟันหวายผิดๆ ตาจุ้ยบอกวำ “ถ้ามึงฟันหวายกูขาด กูฟันหัวมึงขาด” เผอิญตาจันทร์ฟันโดนหวายขาดจริงๆ เกิดการทะเลาะกัน ตาจุ้ยฟันตาจันทร์ ตาจันทร์ก็ฟันตาจุ้ย ต่อสู้กันอยำงดุเดือด ปรากฏวำฟันกันตายทั้งคูํ ชาวบ๎านเลยตั้งชื่อบริเวณนี้วำบ้านดงตาจุ้ยดงตาจันทร์ แตํทุกวันนี้เรียกวำ “บ้านดงตาจันทร์” ่อย่างเดียว

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,275

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

เมืองกำแพงเพชร มีบ้านโบราณ จำนวนมาก เนื่องจากกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี บ้านหลังหนึ่ง เป็นห้างทำไม้ของพะโป้ ในอดีต ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ ให้เห็น เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอดีต จากตัวเมืองกำแพงเพชรเดินทางไปยังฝั่งนครชุมแล้วข้ามคลองสวนหมากผ่านวัดสว่างอารมณ์ ขึ้นไปชมบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนสูงหลังใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านห้าง หรือ บ้านห้าง ร.5 หรือบ้านพะโป้ ตั้งตระหง่านอยู่ริมคลองด้วยสภาพที่ทรุดโทรม พื้นบ้านผุพัง เรือนไม้หลังนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าของชาวนครชุม และเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,764

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,164

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

เรื่อง “ท้าวแสนปม” เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อเนื่องกันมาช้านาน กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ในระยะแรก ผู้เขียนรู้สึกแปลกใจที่พยายามจะศึกษาเรื่องราวของท้าวแสนปม แต่ละคนที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน จึงได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต่าง ๆ จึงรู้ได้ว่าสาเหตุที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากต้นเรื่องหรือข้อมูลของเรื่องมาจากหลายแหล่ง ซึ่งพอที่จะกล่าวถึงที่มาและเนื้อเรื่องดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,493