พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้ชม 6,949

[16.425332, 98.9544425, พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยทราวดี ชื่อเดิมคือชื่อ “เมืองชากังราว” ซึ่งเป็นเมืองที่สมเด็จประเจ้าตามสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาวชิรปราการ” โดยเป็นเมืองหน้าด่านรับสงครามของของสุโขทัย ดังจะพบโบราณสถานที่หลงเหลือในปัจจุบัน ได้แก่ คูเมือง วัด และป้อมปราการ เป็นต้น ตามปะวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงคือ “ เมืองชากังราว ” ซึ่งยุคสมัยสมัยอยุธยา ล่วงเลยมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.2458 มีการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” “เมืองกำแพงเพชร” จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น” จังหวัดกำแพงเพชร”ตั้งแต่นั้นมา (ธนากร โกเมศ, วสวัตติ์ บำรุงสุข และ อิทธิพัทร เกิดศรี, 2561)
         จากประวัติศาสตร์พบว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองสำคัญทางศึกสงคราม จึงมีคำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชร ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” จะเห็นได้ว่า พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร จึงเป็นโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอันจะสื่อได้ถึงเครื่องรางของขลังที่เป็นขวัญและกำลังใจในการรบและป้องกันเมือง สอดคล้องตามประวัติศาสตร์ที่เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของสุโขทัย ปัจจุบันจึงพบเจอพระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีความหลากหลายทั้งพิมพ์ เนื้อและรูปแบบ/ รูปทรง อยู่มาก ตามวัดต่าง ๆ บ้างก็ขุดพบตามสถานที่ที่เคยเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักพอเจอได้ยาก เช่น พระสกุลช่างกำแพงเพชร พระซุ้มกอ พระกำแพงขาโต๊ะ และพระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นต้น เนื่องจากผ่านยุคสมัยอันยาวนาน ทำให้พระที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นแบบองค์จำลองที่ตั้งบูชาและพกติดตัวได้ เพื่อความเป็นศิริมงคล และดำรงไว้ซึ่งพุทธศิลป์ที่งดงามสืบต่อไป ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบพระและข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกําแพงเพชร แต่อาจไม่ได้มีทุกแบบ ทุกพิมพ์ ให้ศึกษาได้ครบตามประวัติการขุดพบเจอ ยังคงมีพระอีกหลายหลายพุทธศิลป์ที่กระจัดกระจายอยู่กับประชาชน กลุ่มคนที่ศรัทธาและต้องการแลกเปลี่ยนเพื่อการศึกษามีมากมาย โดยบทความนี้จะรวบรวมเฉพาะ พระกำแพงสามขา ที่มีประวัติในการขุดพบที่วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีพุทธศิลป์แบบพระสกุลช่างกำแพงเพชร แต่ไม่ได้มีประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกําแพงเพชร ในปัจจุบัน 

พระสกุลช่างกำแพงเพชร
         พระสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร จะเป็นพระที่มีรูปลักษณ์คล้ายพระสุโขทัย แต่จะมีพระพักตร์หน้าที่แตกต่างกัน คือ หน้าผากจะกว้างและคางเสี้ยม (เรียวแหลม) ลงมา แต่พระพักตร์ของพระสุโขทัยใบหน้าจะเป็นรูปทรงไข่ พระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชร แบ่งออกเป็น 4 หมวด (สันติ อภัยราช, 2561) ได้แก่
         1. หมวดหน้านางคางหงิก
         2. หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะคล้ายพระสุโขทัย แต่พิเศษอีก 1 ลักษณะ นิ้วพระหัตถ์จะเรียงยาวเสมอเท่ากันหมด
         3. หมวดวัดตะกวน จะมีรูปร่างอ้วน พระพักตร์กลม และเศียรใหญ่
         4. หมวดสกุลช่างกำแพงเพชร หน้าผากจะกว้างและคางเสี้ยม
         พระสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรที่มีจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
พบจากการขุดแต่งโบราณสถานในจังหวัดกำแพงเพชร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
         พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง เป็นสันพระโอษฐ์ค่อนข้างหนา มุมพระโอษฐ์จีบขึ้นเล็กน้อย พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาบนพระเศียรมีขนาดเล็กมาก พระอุษณีษะนูนใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง มีวงแหวนคั่นระหว่างพระอุษณีษะกับพระรัศมี อันเป็นลักษณะเป็นของพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร พระอังสาผาย บั้นพระองค์คอดเล็ก ส่วนองค์พระพุทธรูปมีรอยชำรุดแตกร้าว พระพุทธรูปครองจีวรแบบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิพาดอยู่บนพระอังสาซ้ายยาวตกลงมาจรดพระนาภี ปลายชายสังฆาฏิเป็นลายแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นดินเพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยาน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐาน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร, 2561)

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
         พระพุทธเจ้าหลวงฯ รัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2449 ประทับแรมเมืองกำแพงเพชร อยู่ถึง วันที่ 27 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 10 วัน เพื่อทรงรับทราบถึงความเป็นไปของบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร และทอดพระเนตรโบราณสถานในเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร และ ทรงบันทึกว่า
         "วันนี้ ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4 โมงเช้าจึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง…ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ คลองสวนหมากนี้ ตามลัทธิเก่าถือว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปเสียข้างฝั่งตะวันออก เพียงแต่แลดูก็จับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำลงมา แต่ห้วยในป่าไม้แต่เงินไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้ แซงพอกะเหรี่ยงซึ่งเรียกว่า พญาตะก่า พี่พะโป้มาทำป่าไม้ราษฎรที่อยู่ฟากตะวันออกก็พลอยข้ามไปหากินมีบ้านเรือนคนมากขึ้น ความกลัวเกรงก็เสื่อมไป
         กินข้าวแล้วล่องลงมาขึ้นที่วัดพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่องค์หนึ่ง ย่อมสององค์ พญาตะก่าสร้างรวมสามองค์ เป็นองค์เดียว แปลงรูปเป็นพระเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพระยาตะก่าตาย พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาแต่เมืองมะระแหม่งพึ่งแล้ว แต่ฐานชุกชียังถือปูนไม่รอบ พระเจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี
         มีราษฎรมาหาเป็นอันมาก ขากลับลงเรือชะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่ เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลาที่เมืองใหม่นี้มีถนนสองสาย ยาวขึ้นมาตามลำน้ำ เคียงกันขึ้นมา มาแต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ 20 เส้นวันนี้ถ่ายรูปได้มากแต่สนุก ได้ตัดผมตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟลงเรือมา แต่นครสวรรค์ เพราะหาเวลาตัดผมไม่ได้" (ตลาดย้อนยุค นครชุม, 2561)
         ตามประวัติการเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เป็นหลักฐานยืนยันว่ามีวัดเสด็จอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีประวัติการก่อสร้างวัดที่ไม่มีการบันทึกถึง พ.ศ. ที่สร้างได้แน่ชัด จากการสัมภาษณ์พระครูสุทธิวชิรศาสน์ (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2561) ได้ทราบว่าเกิดจากการสันนิษฐานว่า แต่ ณ ขณะที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นได้มีประชาชนมารอรับเสด็จบริเวณหน้าวัดเป็นจำนวนมากขณะที่เสด็จผ่าน จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อวัดว่า “วัดเสด็จ” บางแหล่งก็ให้ข้อมูลว่า (สันติ อภัยราช, 2561) เคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดนี้ (เจดีย์องค์ที่ ปรักหักพังแล้วได้สร้างมณฑปทับได้ ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการสร้างมณฑปอีกครั้งหนึ่ง) ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จ ด้วยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ” หรือ สมเด็จพุฒาจารย์โต หรือหลวงพ่อโต เสด็จมาเยี่ยมญาติที่กําแพงเพชร หลายเพลา ได้ประทับพักแรม ที่วัดเสด็จ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อวัดเสด็จก็เป็นได้
         ปัจจุบันวัดเสด็จตั้งอยู่บริเวณ ถนนเทศา และถนนราชดําเนิน เลขที่ 207 ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัดได้แก่ มณฑป และมณฑปประดิษฐานพระประธานมีเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ  วิหาร  และพระประธานในอุโบสถ
         วัดเสด็จได้พบจารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ หลักที่ 52 แผ่นรูปรอยพระพุทธบาท (ชำรุด) เป็นวัตถุโลหะ ขนาดกว้าง 105.5 เซนติเมตร ยาว 154 เซนติเมตร อักษรขอมสุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานผู้พบ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งวัดได้ทีมีรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปวับเสด็จ
         วัดเสด็จได้มีพระกำแพงสามขา หรือ พระกำแพงขาโต๊ะ เป็นชื่อเรียกที่ทางวัดและคนในชุมชนนิยมเรียก ซึ่งเป็นพระที่มีความเก่าแก่ แต่เนื่องด้วยตามประวัติแล้วไม่สามารถยืนยันได้ถึงปีที่สร้างพระกำแพงสามขา เพราะไม่สามารถระบุที่แน่ชัดในการสร้างวัด ผู้สร้างวัด และผู้สร้างพระได้ มีเพียงข้อสันนิษฐานที่มาขอชื่อวัด จากการสัมภาษณ์พระครูสุทธิวชิรศาสน์ (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2561) ได้สันนิษฐานว่า อาจมีการสร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย เนื่องจากศิลปะของฐานพระที่มีสามขา และบางวัด บางจังหวัดอาจมี 4-5 ขา มีลักษณะคล้ายพระสกุลช่างที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

พระกำแพงสามขา
         พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มรการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ในปัจจุบัน
         นอกจากนี้ พระสกุลช่าง กำแพงเพชร ซึ่งมีรูปลักษณ์แบบพระกำแพงสามขา วัดเสด็จ กำแพงเพชร ยังได้ขุดพบเจอที่วัดอื่นอีก เช่น วัดอาวาสน้อย และอาจพบเจอในวัดอื่นๆในจังหวัดกำแพงเพชรอีกแต่ไม่ได้มีการบันทึก หรือพูดปากต่อปากของคนในชุมชน เนื่องจากมีการซื้อขายวัตถุมงคลโบราณในตลาดนักสะสมพระกรุ และหากสืบทราบว่าใคร หรือวัดใด มีวัตถุมงคล จะมักเกิดเหตุการณ์ลักขโมย เพื่อนำไปขายให้กับกลุ่มนักสะสมในราคาที่สูงได้ แม้หากชาวบ้านในชุมชนขุดพบ ก็มักจะไม่เปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป อาจสะสมไว้กราบไว้บูชาเองหรือนำไปขายเพื่อให้ได้ราคาสูง เป็นต้น

บทสรุป
         จากการศึกษาข้อมูล ผู้เขียนบทความสรุปได้ว่า พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร มีพุทธศิลป์คล้าย พระสกุลช่าง กำแพงเพชร เกือบทุกประการ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น พบเจอก่อนสมัยรัชการที่ 5 เสด็จประพาสต้น นั่นหมายถึงวัดได้มีการสร้างมาแล้วอย่างยาวนาน แม้ไม่มีการบันทึกปี และชื่อผู้สร้าง จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดอาจมีชื่อเดิมที่ไม่ใช่ชื่อ “วัดเสด็จ” มาก่อน อาจเป็นวัดที่เป็นตำแหน่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้มีพระพุทธรูปที่มีศิลปะคล้ายพระสกุลช่าง บรรจุใต้ฐานเอาไว้ เป็นเวลายาวนาน เมื่อกาลเวลาผ่านไป จึงได้พบโดยบังเอิญและยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร เพียงแห่งเดียวในจังหวัด

คำสำคัญ : พระกำแพงสามขา, วัดพระสกุลช่างกำแพงเพชร, วัดเสด็จ

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=พระกำแพงสามขา_วัดเสด็จ_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=2122

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2122&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวังพระธาตุ

กรุวังพระธาตุ

ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋  พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ  

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,839

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 7,161

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,803

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,653

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,483

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปโบราณใน 100 ส่วนจะเป็นเนื้อสำริดเสีย 99.5 ส่วน ดังนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป พระพุทธรูปส่วนมากจะถูกสร้างด้วยเนื้อสำริดเท่านั้น ส่วนเนื้อศิลาไม่นำมาเขียนในที่นี้ ศิลปะการสร้าง จะสร้างอย่างประณีตฝีมือเป็นเลิศ เพราะสร้างเสร็จจะไม่มีร่องรอยในการตบแต่งหรือเพิ่มเติมใดๆ พระที่ถูกนำมาบรรจุตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่านานหลายร้อยปี ฉะนั้นพระกรุใน 100 ส่วน ประมาณ 80 ส่วนจะมีรอยเดาะหรือชำรุดผุกร่อนตามองค์พระจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นโดยเป็นธรรมชาติ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,464

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว

พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 17,131

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,959

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,426

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพง  หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,865