พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปกรุ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้ชม 7,062

[16.4733496, 99.5203839, พระพุทธรูปกรุ]

พระพุทธรูปโบราณใน 100 ส่วนจะเป็นเนื้อสำริดเสีย 99.5 ส่วน ดังนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป พระพุทธรูปส่วนมากจะถูกสร้างด้วยเนื้อสำริดเท่านั้น ส่วนเนื้อศิลาไม่นำมาเขียนในที่นี้ ศิลปะการสร้าง จะสร้างอย่างประณีตฝีมือเป็นเลิศ เพราะสร้างเสร็จจะไม่มีร่องรอยในการตบแต่งหรือเพิ่มเติมใดๆ พระที่ถูกนำมาบรรจุตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่านานหลายร้อยปี ฉะนั้นพระกรุใน 100 ส่วน ประมาณ 80 ส่วนจะมีรอยเดาะหรือชำรุดผุกร่อนตามองค์พระจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นโดยเป็นธรรมชาติ และมีอีกประมาณ 20 ส่วนที่เป็นของสมบูรณ์ สนิมจะมีสนิมเขียว เรียกว่า สนิมคล้ำ สนิมที่กล่าวจะเกิดจากพระเนื้อสำริดที่แก่ทองแดงหรือทองเหลือง ถ้าแก่เนื้อทองคำสนิมเขียวจะเกิดจับแน่นเรียบตามองค์พระเป็นเงางาม พระสำริดบางองค์มีส่วนผสมเนื้อดีบุกก็จะเกิดเป็นสนิมดำ เรียกว่า สนิมตีนกา ถ้าเป็นเนื้อเงินผสมดีบุกและตะกั่วจะไม่เกิดสนิมใดๆ เรียกว่าพระสำริดเงิน ทั้งองค์พระถ้าไม่นำมาถูหรือขัด ก็จะมีลักษณะเห็นเป็นสีเนื้อตะกั่วเก่าๆ ถ้าเราใช้หัวแม่มือถูขัดจะเห็นผิวเนื้อเพราะเป็นเป็นสีขาวของเงิน ทิ้งไว้สักครู่ก็จะะคือเป็นสีเดิม ส่วนพระที่ลงรักสีดำ ทาชาดก็จะเป็นสีแดง ทั้ง 2 ชนิด จะถูกปิดทองตั้งแต่สมัยสร้าง สนิมที่เกิดกับพระที่ถูกลงรักทาชาดนั้นก็ใกล้เคียงกับที่เขียนบรรยายมาแล้วเช่นกัน

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระพุทธรูปกรุ. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1146&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1146&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,788

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อพระกำแพงเปรียบเทียบ ได้แก่ เนื้อทองคำ พระกำแพงสวยๆราคาแพงมาก สวยปานกลางแพงน้อยหน่อย ไม่สวยก็ยังแพงอยู่ดี พระกำแพงจึงได้ชื่อว่า กำ-แพง ไม่ว่าพระจะอยู่ในสภาพใด ราคาจะสูงกว่าจังหวัดอื่นในสภาพเดียวกันเสมอเพราะอะไร การสร้างพระเนื้อดิน วัสดุที่ผสมส่วนใหญ่คือดิน ดินของแต่ละแห่งก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน แร่ธาตุที่อยู่ในดินเมื่อเผาแล้วจะเกิดเนื้อพระสวยงามแตกต่างกัน เนื้อดินกำแพงเพชรได้เปรียบหรือเผาแล้วมีสีสันสวยงามน่าใช้วงการนิยมว่าดูง่ายแยกง่าย การผสมเนื้อพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพืชว่าน การผสมพืชว่านมากหรือน้อยอาจจะเกิดจากสัดส่วนที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้หรือขึ้นอยู่กับการหาพืชว่านยากหรือง่าย การผสมว่านเข้ากับดินทำให้เกิดสภาพเนื้อแตกต่างกับการเผาดินธรรมดา เนื้อพระกำแพงจึงนุ่มตามากกว่าเนื้อพระแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเผาเนื้อพระบางแห่งอาจจะมีสูตรผสมใกล้เคียง หรือเอาตำราไปเรียนแบบความแตกต่างอาจจะน้อย ถึงอย่างไรก็ดีถ้าได้ติดตามพระกำแพงบ่อยๆ เนื้อดินของแต่ละแห่งอาจจะใช้เป็นข้อแยกพระแต่ละจังหวัดได้  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 21,314

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,333

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,885

พระอู่ทองวังพาน

พระอู่ทองวังพาน

พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,582

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,662

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

ที่ตั้งกรุพระผู้ใหญ่เชื้อ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุพระหนองพิกุลประมาณ 1.5 กม. ปัจจุบันถูกสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรค์ ซึ่งอยู๋ทางทิศเหนือของกรุคลองไพร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระเปิดโลกปีกกว้าง พระเปิดโลกพิมพ์คู พระเปิดโลกสามพระองค์ พระลีลากล้วยปิ้ง พระซุ้มเรือนแก้ว พระนางพญากำแพงพระนางพญาหัวเรือเม พระเชตุพนหูช้าง พระลูกแป้งเดี่ยว พระลูกแป้งคู่ พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ พระเจ้าสิบชาติ และพระเจ้าสิบชาตินารายณ์แปรง

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,322

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,949

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,189

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 6,171