พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 18,737

[16.5001512, 99.4940454, พระท่ามะปราง]

         "เงี้ยว" ต้องกรำศึกสงครามมาตลอดไม่ว่างเว้น แย่งชิงอำนาจกันเอง รวมทั้งศึกภายนอก ทั้งคะฉิ่น กะเหรี่ยง ฯลฯ จนเมื่อสถานการณ์เริ่มสงบ หลังอังกฤษเข้ายึดครองพม่า และรวมเอาดินแดนเงี้ยวไว้กับอินเดีย ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เงี้ยวจึงถูกควบคุมโดยชาติมหาอำนาจใหญ่ เช่น จีน พม่า และอังกฤษ ต่อมาเงี้ยวเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทยผ่านพม่า เข้ามาทางภาคเหนือออกเส้นทางหลวงพระบาง และยูนนาน จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีเงี้ยวบางส่วนตกค้าง และทำมาหากินอยู่ในดินแดนไทยถึงยุคกลางรัตนโกสินทร์ ช่วงนั้นภาคเหนือของไทยยังสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด บริษัทต่างชาติจากอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ จ้างเงี้ยวเป็นแรงงานแผ้วถางป่า ต่อมาผู้ครองแคว้นต่างๆ ได้ยุยงให้เงี้ยวแข็งข้อกับไทยมาจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2445 พะกาหม่อง และสะลาโปไชย เป็นหัวหน้าเงี้ยว ได้นำกำลังสมุนกว่า 50 คน บุกสถานีตำรวจเมืองแพร่ ด้านประตูชัยที่มีกำลังพลอยู่เพียง 10 คน ตำรวจไม่สามารถต้านทานได้ เงี้ยวจึงบุกสังหาร ปล้นทรัพย์สิน ทำลายคลังหลวง และไปจับพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ แต่ท่านและครอบครัว หลบหนีออกไปได้ หนีไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชย เพื่อขอกำลังเข้าต่อสู้ปราบปราม แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะไม่มีทั้งกำลังคนและอาวุธ ท่านจึงหนีออกจากเมืองแพร่ หวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นต่อไป ต่อมาเงี้ยวปล่อยนักโทษในเรือนจำให้ออกมาร่วมด้วย จึงมีกำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้น เป็นกองกำลังกล้าแข็งกว่า 300 คน จนกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้สำเร็จพะกาหม่อง และสะลาโปไชย ได้เชิญเจ้าเมืองแพร่ ร่วมด้วย เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม และเจ้านายบุตรหลานคนอื่นๆ ตกลงร่วมกันต่อต้านกองทัพรัฐบาลไทย กองโจรเงี้ยวออกตามล่าข้าราชการฝ่ายไทย และคนไทยภาคกลางที่หนีแตกพ่ายไป นำกำลังไปล้อมจับได้ และนำตัวกลับเมืองแพร่ ตลอดการเดินทางกลับมีการบังคับทรมานขู่เข็ญสารพัดให้ยอมจำนน และเข้าร่วมกับกองโจรเงี้ยวด้วยแต่พระยาไชยบูรณ์ไม่เกรงกลัว จนถูกโจรเงี้ยวฆ่าตาย พร้อมด้วยเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วยขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง ผู้พิพากษา อัยการ และข้าราชการผู้น้อยต่างๆ อีกมาก ถือเป็นการสูญเสียข้าราชการไทยครั้งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกทัพหลวงขึ้นไปปราบปราม และส่งกำลังจากกองทัพเมืองใกล้เคียง ทั้งเมืองพิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย โดยให้ถือว่าผู้ปฏิบัติการทั้งหมดเป็นกบฏก่อการร้าย เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่กองโจรเงี้ยว ออกมาต่อสู้โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ไปยันทัพรัฐบาลที่ด้านใต้ อีกส่วนหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกไปทางด้านตะวันตก หวังบุกตีนครลำปาง เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นแต่ทางนครลำปาง ได้เตรียมกำลังไว้ป้องกันเต็มที่ เป็นเหตุให้พะกาหม่อง ถูกยิงเสียชีวิต กองโจรจึงแตกพ่ายสลาย
         ขณะเดียวกัน ช่วงที่พระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพหลวงผ่านมาถึงเมืองพิษณุโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการขุดพบพระกรุที่วัดท่ามะปราง มาก่อนแล้ว 5 ปี โดยฝีมือคนร้ายขโมยขุดกรุ พระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงได้ทำพิธีเปิดกรุพระวัดท่ามะปราง และได้นำพระจากกรุนี้จำนวนมาก ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แจกจ่ายแก่ทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับเงี้ยวปรากฏว่า ทหารไทยที่ห้อยพระกรุวัดท่ามะปราง ถูกกระสุนปืนยิงล้มคว่ำล้มหงาย แต่ไม่เป็นไร กระสุนไม่ระคายผิวหนัง สามารถลุกขึ้นมายิงต่อสู้กับพวกเงี้ยวได้อีก จนโจรเงี้ยวเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ถึงกับใจเสีย จึงพากันหนีแตกกระเจิงไปทันที
        พระท่ามะปรางกรุนี้ จึงมีชื่อว่า พระท่ามะปราง กรุเงี้ยวทิ้งปืน พระท่ามะปราง เป็นพระที่ขุดพบจากหลายกรุ หลายเมือง แต่ต้นกำเนิดแห่งแรก คือ กรุวัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระที่มีอายุความเก่าสูงกว่าทุกๆ เมือง มีทั้งเนื้อดิน (ค่อนข้างละเอียด) และเนื้อชินเงิน มักปรากฏสนิมตีนกา ผิวสีดำพุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางแนบหัวเข่าด้านขวา หัวเข่าอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ ที่เรียกว่า นั่งแบบเข่าใน พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกศแบบปิ่นยาวเล็กน้อย เม็ดพระศกแบบตาข่ายสี่เหลี่ยม พระกรรณยาวประบ่า พระกรอวบล่ำ ซอกพระกรแคบ พระนาภี (สะดือ) เป็นแอ่งบุ๋มเล็กๆ  พระวรกายชะลูดกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2.3 ซม.สูงประมาณ 3.8 ซม. โดยมีขนาดสูงใหญ่กว่าพระท่ามะปราง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกเล็กน้อยพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) ส่วนมากจะไม่ค่อยสวย ผิวดำ และผุกร่อน ขาดความสมบูรณ์ แต่ราคาเช่าหาร่วมแสน ถ้าเป็นพระสภาพดี มีคราบปรอทขาว สวยสมบูรณ์คมชัด ซึ่งมีน้อยมาก สนนราคาต้องหลักแสน ถึงสองแสนขึ้นไป พุทธคุณ พระท่ามะปรางทุกพิมพ์ ทุกกรุ ถือว่ายอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมทั้งเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ กรุเงี้ยวทิ้งปืนด้วยแล้ว ด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าเป็นเลิศสุดๆ ปัจจุบันชาวเมืองแพร่ ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ สดุดีวีรกรรมของท่าน ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และทุกวันที่ 25 กรกฎาคม ชาวเมืองแพร่จะมีพิธีวางพวงมาลาสดุดีวีรกรรมพระยาไชยบูรณ์ เป็นประจำทุกปี

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=129&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระท่ามะปราง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=192

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพง  หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,865

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,673

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,000

กรุ สปจ.

กรุ สปจ.

ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,492

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช

พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,099

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 18,490

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,873

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,753

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 39,042

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเป็นเอกของเมืองกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ พระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชินก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระเป็นประติมากรรมในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิมีลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ นั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”
         

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,405