เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้ชม 4,273

[16.4733496, 99.5203839, เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ]

โดยสรุปพอสังเขปได้ดังนี้
         พระเครื่องเนื้อดิน พระเครื่องฝังตัวเมืองกำแพงเพชรจะสร้างด้วยเนื้อดินผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณทรายละเอียดและแร่
         พระเครื่องเนื้อดินฝัั่งนครชุม (ทุงเศรษฐี) จะสร้างด้วยเนื้อดินละเอียดผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณ แต่บางกรุผสมทรายละเอียดด้วยก็มี
         พระเครื่องโลหะวัสดุการสร้างจะแบ่งออกได้ดังนี้ กล่าวคือ 1. ทองคำ 2. เงิน 3. ดีบุก 4. ทองแดง 5. ตะกั่ว 6. ทองเหลือง 7. แร่ เนื้อพระเครื่องโลหะโบราณ ทั้งฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งทุ่งเศรษฐี การสร้างพระเครื่องโลหะในจำนวน 100 ส่วน จำนวนพระเครื่องจะมี 99 ส่วน สร้างด้วยเนื้อเงินผสมด้วยดีบุกและตะกั่ว เป็นผิว ปรอทเรียกว่าพระชินเงิน 0.2 ส่วนสร้างด้วยเนื้อทองคำผสมดีบุก และทองแดงหรือทองเหลืองเรียกว่าพระเนืื้อสำริด 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อเงินด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าเงิน และอีก 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อทองคำด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าทอง พระชนิดนี้กรุส่วนมากจะมีบางกรุจะมีเพียงคู่เดียวถือเป็นพระประธานของกรุเนื้อว่าน ซึ่งนำมาจากต้นว่านเนื้อจะแกร่งเห็นว่าผุแต่ไม่ยุ่ย
          พระพุทธรูปเนื้อโลหะ การสร้างจะแบ่งออกได้ดังนี้ กล่าวคือในจำนวนพระพุทธรูป 100 ส่วน จะมี 97 ส่วน เนื่อพระพุทธรูปจะสร้างด้วยเนื้อทองคำผสมทองแดงและดีบุกหรือทองเหลือง เรียกว่าพระเนื้อสำริด 1 ส่วน สร้างด้วยเนื้อทองคำ เรียกว่าพระพุทธรูปทองคำสมัยนั้นฯ 1 ส่วนสร้างด้วยเนื้อเงินผสมด้วยดีบุกและตะกั่ว เรียกว่าพระพุทธรูปสำริดเงิน 0.5 ส่วนสร้างด้วยเป็นหินศิลา เรียกว่าพระพุทธรูปศิลาสมัยนั้นฯ และมีอีก 0.5 ส่วนสร้างด้วยเนื้อทองเหลือผสมดีบุกและทองคำเล็กน้อย เรียกว่าพระพุทธรูปทางดอกบวบ เป็นต้น ปริมาณการสร้างพระฯ ของทั้ง 2 ฝั่ง จำนวนพระพุทธรูปปัจจุบันฝั่งตัวเมืองกำแพงเพชร มากวก่าฝั่งนครชุม ส่วนพระเครื่องปัจจุบันฝั่งนครชุมมากกว่าฝั่งตัวเมืองกำแพงเพชร

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1142

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1142&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ  ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 10,639

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

 ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5 ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ 

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 26,303

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 18,500

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 7,163

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,961

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,730

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 7,274

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,811

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,867

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 18,499