พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 6,924

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพงขาโต๊ะ]

        เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมืองด้วยเหตุนี้ เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ในจำนวนนี้ก็มี วัดอาวาสน้อย รวมอยู่ด้วย วัดนี้อยู่ภายในตัวเมืองกำแพงเพชร ได้ขุดพบพระสกุลช่างฝีมือกำแพงเพชร อย่างแท้จริง พระกรุนี้มีหลายพิมพ์ มีอยู่พิมพ์หนึ่งที่องค์พระมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าพระเครื่องทั่วๆ ไป คือ พระกำแพงขาโต๊ะ วัดนี้อยู่เยื้องกับ วัดอาวาสใหญ่ ห่างกันประมาณ 500 เมตร โดยมีทางเข้าแยกจากถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย (ทางแยกนี้อยู่ตรงข้ามวัดอาวาสใหญ่) วัดอาวาสน้อย เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง หลักฐานที่พบคือสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัด ล้วนมีขนาดใหญ่โตมาก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของวิหาร และเจดีย์ ฐานวิหารของวัดนี้นับว่ามีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่งของบรรดาสิ่งก่อสร้างในเมืองกำแพงเพชร บนฐานใหญ่นี้เป็นที่ตั้งของวิหาร ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ 1 องค์ เป็นเจดีย์ประธาน ภายในวิหารมีแท่นพระ เข้าใจว่าเป็นแท่นพระประธาน ด้านหลังวิหารใหญ่ ทางทิศตะวันตกมีเจดีย์ 2 องค์อยู่คู่กัน ขนาดไม่ใหญ่นัก ใกล้ๆ กันนั้นมีแนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ตรงกลางอีกองค์หนึ่งที่ด้านหลังวัดมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งก่อสร้างที่เข้าใจว่าน่าจะเป็น "ส้วม” มีลักษณะเป็นบ่อรูปวงกลม ภายในบ่อตรงกลางมีลักษณะคล้ายโพรงกว้าง ความลึกไม่ทราบแน่ชัด เพราะกิ่งไม้ใบไม้ตกลงไปทับถม แต่ประมาณได้ว่า คงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ปากบ่อปูพื้นด้วยศิลาแลง แต่เว้นช่องเล็กๆ ไว้ตรงกลางยาวประมาณ 1 ศอก กว้าง 1 คืบเศษ ช่องตรงกลางนี้ยกพื้นสูงเล็กน้อยบ่อรูปวงกลมนี้มี 3-4 บ่อ เมื่อสันนิษฐานดูแล้ว สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเดียวคือเป็น “ส้วม” ไม่น่าจะเป็นบ่อน้ำ เพราะไม่สามารถใช้สิ่งใดลงไปตักน้ำได้ อีกทั้งลักษณะการสร้างบ่อน้ำโบราณในเมืองกำแพงเพชร ก็มีเป็นแบบอย่างอื่น เช่น ชอบสร้างเป็นบ่อสี่เหลี่ยม ก่อขอบปากบ่อให้สูง เป็นต้น
         โบราณวัตถุที่พบในระหว่างการขุดแต่ง วัดอาวาสน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2512 เจ้าหน้าที่ได้พบเศษทองชิ้นเล็กๆ มีลักษณะเป็นตุ้มหูแบบเสียบกับใบหู และอาจจะมีแผ่นโลหะเล็กๆ คล้องตรงปลายแหลมกันหลุดอีกชั้นหนึ่งก็ได้นอกจากนี้ยังได้พบพลอยสีขาวเม็ดเล็กๆ 1-2 เม็ดรวมอยู่ พลอยเหล่านี้เจียระไนเป็นเม็ดแล้ว และมีรอยของปรอททาไว้ให้สะท้อนแสงข้างหลังแต่ละเม็ดโบราณวัตถุเหล่านี้คงไม่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยา และได้พบรวมกันอยู่ในเจดีย์ศิลาแลงองค์หนึ่งซึ่งหักพังเป็นส่วนมากเมื่อปี 2499 กรมศิลปากรได้ขุดค้นภายในองค์เจดีย์ศิลาแลง บนบานวิหารใหญ่ ปรากฏว่าได้พบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ รวมกันอยู่ เช่น สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา มีจำนวนมาก กรมศิลปากรได้นำพระพุทธรูปดังกล่าวจำนวนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครกล่าวสำหรับ พระกำแพงขาโต๊ะ กรุวัดอาวาสน้อย ที่ขุดพบในวัดนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดค่อนข้างใหญ่ ขอบซุ้มเป็นเส้นนูนหนา เว้าตามองค์พระ องค์พระปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานที่มีลักษณะคล้าย ฐานสิงห์ เหมือนขาโต๊ะ อันเป็นที่มาของชื่อพระพิมพ์นี้ คือ พระกำแพงขาโต๊ะ พุทธศิลป์สมัยสุโขทัยยุคปลาย ฝีมือสกุลช่างกำแพงเพชรอย่างแท้จริง โดยได้ถ่ายทอดพุทธลักษณะมาจาก พระบูชาของเมืองกำแพงเพชรทุกอย่าง สังเกตจากฐานขององค์พระที่เรียกว่า “ขาโต๊ะ” เป็นการถอดแบบมาจากพระบูชาที่เรียกว่า พระกำแพงสามขานั่นเอง มิติองค์พระมีลักษณะนูนสูงกว่าพระทั่วไป องค์พระจึงมีความหนาพอสมควร ทำให้เห็นพระพักตร์และทรวดทรงชัดเจน ปรากฏไรพระศกเป็นเส้นนูนเห็นเด่นชัด พระขนง (คิ้ว) ทั้ง 2 ข้างเป็นเส้นหนา และไม่ได้จรดกัน พระขนงด้านขวาสูงกว่าด้านซ้ายอย่างเห็นได้ชัด พระเนตร (ตา) ทั้ง 2 ข้างไม่เป็นเม็ดกลม แต่มีลักษณะเป็นแบบเส้นนูนยาวรี ในส่วนของพระกรรณ (หู) ด้านขวาปรากฏชัดเจน และยาวกว่าด้านซ้าย พระโอษฐ์ (ปาก) เป็นเส้น 2 เส้นโค้งมนลงคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ บริเวณพระอุระ (อก) ปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน จากพระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายยาวลงมาจรดถึงบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ไม่ปรากฏพระนาภี (สะดือ) ให้เห็น มีเส้นประคดเอวอยู่เหนือพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างที่ประสานกันพระกำแพงขาโต๊ะ ยังมีการขุดพบจากวัดอื่นๆ อีกด้วย อาทิ วัดบรมธาตุ วัดช้างล้อม วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด ฯลฯ สมัยก่อนนักสะสมพระเครื่อง ต่างพยายามหาพระพิมพ์นี้มาครอบครอง เพราะเป็นพระสวยงามคมชัดพิมพ์หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักดิ์ศรีของ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ยอมรับของนักพระเครื่องทั่วประเทศอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พระกำแพงขาโต๊ะ มีค่านิยมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมีราคาสูงในสมัยนั้น แต่พอมาถึงปัจจุบันความนิยมได้ลดน้อยลงไปบ้างด้วยเหตุที่พระมีจำนวนน้อย และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ (สูงประมาณ 5.0 ซม. กว้างประมาณ 3.5 ซม.) ทำให้คล้องคอไม่ค่อยสะดวก สนนราคาจึงไม่แพงมากนัก (สำหรับค่าของเงินในสมัยนี้ เมื่อเทียบกับคุณค่าของพระพิมพ์นี้ ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี) คืออยู่ที่หลักหมื่นต้นถึงหมื่นกลางส่วนด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า พระกำแพงขาโต๊ะ ยอดเยี่ยมทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ และเมตตามหานิยม เป็นอย่างยิ่ง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=159&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพงขาโต๊ะ. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,143

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,480

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,980

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ  ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 10,199

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,431

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

การพิจารณาพระเนื้อดินก็พอๆ กับพระเนื้อชิน กล่าวคือต้องจดจำพุทธลักษณะรูปพิมพ์ของพระแต่ละกรุให้มากเป็นหลัก ให้พิจารณาว่าพระกรุนี้เป็นอย่างนี้ และพระกรุนั่นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น ผิวของพระเครื่องเนื้อดิน พระส่วนมากเมื่อขึ้นจากกรุจะจับเกือบติดแน่นกับองค์พระหนามาก ขนาดนำมาล้างและขัดปัดแล้วก็ยังไม่เป็นเนื้อพระ และส่วนมากคราบกรุจะเคลือบติดแน่นอยู่ตามซอกขององค์พระเครื่องโดยธรรมชาติ จะแตกต่างกับคราบที่เลียนแบบใช้ดินใหม่ป้ายติดเฉพาะบนผิวจะไม่แน่นเหมือนคราบธรรมชาติ บางกรุองค์พระจะไม่มีคราบกรุก็มี

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 9,140

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,241

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,028

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 32,440

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,649