ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 24,768

[16.4821705, 99.5081905, ตำหนิพระซุ้มกอ]

ผ่าตำหนิ พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่
          ส่วนเมืองนครชุมมีปรากฏในศิลาจารึก ของ พระมหาธรรมราชาลิไทย มาก่อน พ.ศ. 1900 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ฝักใฝ่ ในพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงและสร้างสรรค์พุทธสถาน พระบูชา พระเครื่อง ไว้อย่างมากมาย จนตกทอดถึงปัจจุบัน พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยมีบันทึกใน พระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประภาสเมืองกำแพงเพชร ปรากฏเรื่องราว ของเมืองกำแพงเพชร และพระเครื่องว่า
          ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ ซึ่งประกอบด้วย
          - พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก
          - พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ซุ้มกอดำ)
          - พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
          - พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก
          - พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปียะ (ไม่ตัดปีก)
          - พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พัดใบลาน
          พระซุ้มกอ ที่นิยมมากสุด คือ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก ซึ่งเริ่ม มีการพบจากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และบรมธาตุ นครชุม เป็นพระดินเผา ที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามปรากฏทั่วองค์พระ ความที่มีความละเอียดและเนื้อนิ่มมาก จึงให้พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มักจะหักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่เหลือเป็นแบบที่สมบูรณ์ มีน้อยมากๆ ที่พบเห็นอยู่ในวงการจึงทำให้ความนิยม และ ราคาการเช่าหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เทียบได้กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยทีเดียว
           พุทธลักษณะพระกำแพงซุมกอ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร เป็นศิลปะเชียงแสนผสม กับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งนูนดูเด่นสง่างามมาก แบบเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้ง พระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้าย รูปตัว ก.ไก่ บางท่านว่า ซุ้มที่องค์พระเหมือนรูป ก.ไก่มาก จึงเรียกว่า พระซุ้มกอ   
           พระกำแพงซุ้มกอ แบบไม่มีลายกนก แบบนี้เป็นพระชนิด เนื้อสีดำและสีเขียว ส่วนสีแดงก็มีบ้าง พระกำแพงซุ้มกอสีแดงที่ไม่มีลายกนกนี้ พิมพ์ใหญ่มีน้อยมาก พระซุ้มกอดำ เป็นแบบที่มีประภามณฑล คล้ายรูปทรงของตัว ก. แบบอื่นๆ คือยังมีรูปทรง ตลอดจนประภามณฑ ลคล้ายพระพุทธรูป คันธารราฐมากที่สุดนั่นเอง
           พระกำแพงซุ้มกอ แบบที่มีลายกนก แบบนี้เข้าใจว่าจะพัฒนา มาจาก แบบแรก คือมีลายบัว ที่ฐาน และการเปล่งรังสี ออกจาก พระวรกาย โดยทำเป็น รูปลายกนก อย่างงดงาม โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ ช่องพระพาหาลึก ทำให้พระอุระ และองค์พระ ซึ่งแลดูเด่นนูน อยู่แล้วดูสง่างามยิ่งขึ้น นอกจาก ชนิดพิมพ์ บางพิมพ์ เท่านั้นที่ช่องพระพาหาตื้น แบบนี้มีบางพิมพ์ ที่ทำเป็น สมาธิเพชร แต่ส่วนมากทำเป็นสมาธิราบทั้งนั้น
            พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดทางเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และความเป็น สิริมงคล บางท่านว่ามีพระซุ้มกอ แล้วไม่มีวันจน เมื่อมี ความนิยมสูง ของปลอมย่อมมีปรากฏมากมาย หลายรุ่น หลายแบบ มีทั้งแบบปลอมแบบหยาบๆ และ ปลอมแบบ เหมือนมาก แต่ก็ยังมีจุดที่ไม่เหมือนอยู่หลายจุด ซึ่งเกิดจาก แม่พิมพ์ของพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีความงดงามและซับซ้อนในรายละเอียดสูง
            หลักการพิจารณาพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก มีตำหนิสำคัญ ดังนี้
            1. ขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ จะมีขนาดเล็กกว่าด้านขวาขององค์พระ
            2. ขอบกนกด้านข้างทางขวามือองค์พระเป็นขดวงกลม ๓ ขด
            3. ขอบกนกด้านบนขวามือองค์พระและซ้ายองค์พระจะเป็นเส้นโค้งงอนขึ้น และโค้งเข้าหากัน
            4. ขอบกนกด้านซ้ายมือขององค์พระเป็นรูปพญานาค หรือตัว “S” ในภาษาอังกฤษ
            5. ที่บริเวณกระจังหน้าบนเศียรพระมีรอยบุบของขอบกระจัง (มักเห็นในพระที่สมบูรณ์)
            6. หูทั้งสองข้างขององค์พระยาวจรดบ่า
            7. ซอกแขนทั้งสองข้างขององค์พระมีความลึกมาก
            8. เส้นอังสะ (ข้างเส้นสังฆาฏิ) จะตวัดซ้อนลึกเข้าไปในซอกรักแร้
            9. ประทับนั่งแบบมือขวาทับซ้าย ชัดเจน
            10. ฐานบัวเล็บช้างกลีบแรก (จากทางขวาขององค์พระ) โค้งจากด้านข้าง มาด้านหน้า
            นี่คือตำหนิในแม่พิมพ์พระแท้ของพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ที่สำคัญมาก และสามารถนำมาใช้เป็นจุดวิเคราะห์ พระแท้ พระปลอม ได้ จึงนำเสนอไว้เป็นข้อมูลสำหรับท่านผู้สนใจในพระพิมพ์นี้ ไว้ศึกษาเทียบเคียงกับพระที่ท่านมีโอกาสพบเจอในภายหน้าต่อไป

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : http://www.dopratae.com/บทความ/ตำหนิพระซุ้มกอ/82/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ตำหนิพระซุ้มกอ. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1152&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1152&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,098

กรุวังพระธาตุ

กรุวังพระธาตุ

ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋  พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ  

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,645

กรุวัดกระโลทัย

กรุวัดกระโลทัย

ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 3,689

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,153

พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

พระเครื่องกำแพงเพชร ที่นำมาพูดถึงในวันนี้เป็น พระนางกำแพงเพชร และพระนางกำแพงกลีบบัว ของกรุทุ่งเศรษฐีครับ พระตระกูลนางกำแพงฯ นั้นมีอยู่หลายอย่างหลายกรุซึ่งสนนราคาก็แตกต่างกันไป และเป็นพระเครื่องที่พบมากที่สุดในพระตระกูลกำแพงเพชร เรียกได้ว่าแทบจะทุกกรุก็จะพบพระนางกำแพงปะปนอยู่แทบทุกกรุ แสดงว่าในสมัยที่สร้างพระเครื่องนั้นคงมีความนิยมพระพิมพ์นี้กันมากจึงได้สร้างกันไว้แทบทุกกรุ ศิลปะพระนางกำแพงเป็นศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 13,520

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 9,766

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 39,111

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,563

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,866

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,518