สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,305

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”]

        หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี
        ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พม่าไม่ได้เผาเฉพาะเมือง แต่ได้ทำลายวัฒนธรรมไทยทั้งหมดด้วย เพื่อไม่ให้เหลือเชื้อไว้สำหรับการสร้างชาติขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย
        ช่างฝีมือทุกสาขาถูกต้อนกลับไปพม่าหมด แม้แต่พระภิกษุยังถูกไล่สังหารยกวัด มีบันทึกจากมิชชันนารีที่ยังอาศัยอยู่ในกรุงศรีฯ เขียนไว้ว่า เช้าวันหนึ่งทหารพม่านำพระภิกษุมารวมกลุ่มกันแล้วสังหารไปนับสิบรูป ในคราเดียว
        กรุงธนบุรีจึงต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่ง เพื่อสร้างวัฒนธรรมกันใหม่
        การสร้างชาติมิใช่เพียงการขยายราชอาณาเขต แต่ประชาชนคนในชาติต้องมีเอกลักษณ์ วัฒนธรรม อันเป็นคุณสมบัติทางนามธรรมของชาตินั้นด้วย
        สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงพยายามเสาะหาพระเถระต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อมาเผยแผ่พระศาสนาในกรุงธนบุรี และพบว่าพระอาจารย์ศรีวัดพนัญเชิงได้หลบภัยพม่าไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช จึงนิมนต์กลับสู่กรุงธนบุรี
        ทุกครั้งที่ตีหัวเมืองใหญ่ของไทย เช่น นครศรีธรรมราช ราชสีมา พิมาย พิษณุโลก และเชียงใหม่ได้ พระองค์จะโปรดเกล้าฯ ให้นำผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของแต่ละภาคมาถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นแก่ชาวกรุงธนบุรี
        สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้รวบรวมความรู้ทุกสาขาที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก มาแยกเป็นหมวดหมู่ และตั้งโรงสอนอย่างเป็นระบบ เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง วิชาเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน ฯลฯ
        สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระปรีชาสามารถทางด้านการประพันธ์ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ถึง 4 ตอน และตำราการฝึกกรรมฐานอีก 1 เล่ม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านโขน ละคร รำไทย ปี่พาทย์ ฯลฯ ตั้งโรงฝึกสอนได้อย่างไม่จำกัด ทรงส่งเสริม ตั้งรางวัลให้มีการประกวด ประขัน ประชันกัน อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้นาฏศิลป์ นาฏดุริยางค์ และศิลปะการละครในสมัยกรุงธนบุรีรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
        ในสมัยกรุงธนบุรี การค้าระหว่างไทย–จีน เจริญสุดขีด เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีเชื้อสายจีน และทรงเชี่ยวชาญภาษาจีนถึงสามสำเนียง คือ จีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน พระองค์จึงทรงติดต่อสื่อสารกับพระเจ้ากรุงจีนได้โดยตรง โดยใช้พระนาม “เสียมล่อก๊กแต้เจียว”
        เรือสำเภาของไทยที่ส่งสินค้าไปขายยังเมืองจีนทำกำไรได้อย่างมหาศาล โดยที่จีนไม่เก็บภาษีขาเข้าเลย ได้ดุลการค้า จนสามารถนำมาใช้จ่ายเป็นเงินเดือนของข้าราชการทั้งหมดได้โดยที่ไม่ต้องเก็บภาษีจากประชาชน บางวันมีเรือสำเภาขนสินค้าออกจากท่าธนบุรีไปยังเมืองจีนถึง 12 ลำ พร้อมๆ กัน
        เนื่องจากเรือสินค้าในสมัยนั้นยังไม่ใช้เครื่องยนต์ และขนาดไม่ใหญ่นัก ต้องแล่นลัดเลาะชายฝั่งเพื่อความปลอดภัย เรือจากยุโรปเลาะมาทางนครศรีธรรมราช สุดที่กรุงธนบุรี ในขณะที่เรือจากจีนก็เลาะมาทางเวียดนาม กัมพูชา จังหวัดตราด สุดที่กรุงธนบุรีเช่นกัน เราจึงเป็นศูนย์กลางของการค้าโลก (ในปัจจุบันเรือใช้เครื่องยนต์ จึงพักที่สิงคโปร์ แล้ววิ่งฝ่ามหาสมุทรไปจีน ญี่ปุ่นได้เลย) นอกจากนั้น กรุงธนบุรียังเป็นศูนย์กลางการต่อเรือของโลกอีกด้วย
        พระองค์ทรงเลือกสถานที่สร้างกรุงแห่งใหม่ที่ “ธนบุรี” ซึ่งแปลความหมายตรงตัวได้ว่า “เมืองแห่งเงิน” หรือ “เมืองแห่งความมั่งคั่ง” เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าและการเดินเรือ เมื่อเทียบแล้ว กรุงธนบุรีจึงมีความสำคัญมากกว่าเกาะสิงคโปร์ในเวลานั้นเสียอีก
        กรุงธนบุรีเริ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาต้องใช้เวลาถึงกว่าสามร้อยปีจึงจะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าของเอเชียอาคเนย์ แต่พระองค์กลับทรงสร้างกรุงธนบุรีให้เจริญมั่งคั่งเกินหน้าสมัยอยุธยาได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น
        .......และแล้ว พม่าก็เริ่มผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการแย่งชิงอำนาจ ผู้ชนะคือ พระอนุชาของพระเจ้ามังระ นามว่า “พระเจ้าปดุง” ซึ่งมีความหมายมั่นจะยกทัพมายึดแผ่นดินไทยอีกครั้งอย่างแรงกล้ายิ่ง เมฆฝนแห่งสงครามครั้งใหญ่ กำลังก่อตัวขึ้น.......คราวนี้หนักกว่าเมื่อครั้งศึกอะแซหวุ่นกี้เสียอีก...... (ส่วนอะแซหวุ่นกี้ยอดขุนศึกคู่บัลลังค์กษัตริย์องค์ก่อน ถูกพระเจ้าปดุงยัดข้อหาว่าเป็นกบฏ รับโทษถูกประหารชีวิตไปตามระเบียบ)
       ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง ไทยต้องทำสงครามครั้งใหญ่กับพม่า ถึง 7 ครั้ง

คำสำคัญ : พระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2137

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2137&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,158

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,135

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 606

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,004

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 608

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,046

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 773

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 702

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,111

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,253