ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้ชม 3,556

[16.4258401, 99.2157273, ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร]

      อำเภอเมืองกำแพงเพชร จะเป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนนักสันนิษฐานว่าอาจเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโซทัย เพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่า "พระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ. 1464 พอพระชนมได้ 16 พรรษา ก็ยกทัพขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญ มาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ" ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปะโบราณวัดถุที่เป็นศิลปะเชียงแสนยุคต้นให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ คือ สถูปทางด้านทิศใต้ของวัดพระแก้ว เป็นสถูปที่มีช้างล้อมมีช้างครึ่งตัวโผล่ออกมาเป็นช้างที่ไม่ทรงเครื่อง มีลักษณะเก่าแก่กว่าที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารวัดพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาก่อนตั้งอาณาจักรสุโขทัย
      ในสมัยสุโขทัย เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอกหรือเมืองหน้าด่าน ซึ่งในสมัยนั้นเรียกเมืองชากังราว ยังมีเมืองนครชุมและเมืองซากังราว เป็นเมืองหลักหรือเป็นศูนย์กลาง มีเมืองบริวารโดยรอบทั้งสี่ทิศ คือ ทิศเหนือมีเมืองสุพรรณการะ (เชียงทอง) ปัจจุบันคือ ต.ลานดอกไม้ ทิศใต้มีเมืองเทพนครและคณที ปัจจุบันคือ ต.เทพนคร และ ต.คณที ทิศตะวันออกมีเมืองพาน (อยู่ในเขต ต.เขาคีริส อ.พร้านกระต่าย) ทิศตะวันตก เมืองโนนม่วง ปัจจุบันคือ บ้านโนนม่วง หมู่ที่ 10 ต.นครชุม นอกจากนี้ยังมีเมืองบริวารอันประกอบไปด้วย เมืองแปป ตั้งอยู่เขต ตำบลนครชุม เมืองพังคา ตั้งอยู่เขตตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล เมืองโกสัมพี ตั้งอยู่เขตตำบลโกสัมพี และเมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่เขตตำบลไตรตรึงษ์ ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า เดิมที่ตั้งของเมืองนี้ก็คือ "เมืองนครชุม" และ "เมืองชากังราว" จากศิลาจารึกนครชุมหลักที่ 4 และจารึกเขาสุมนกูฎ หลักที่ 8 กล่าวไว้ว่า "เมืองกำแพงเพชร" มี ปรากฏเป็นครั้งแรกในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าอู่ทอง และคงใช้ชื่อ "กำแพงเพชร" เรียกชื่อบ้านเมืองนี้ตลอดมา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสมัยนั้นยังมีพระยศเป็นพระยาตากได้รับการแด่งตั้งให้เป็นพระยาวชิรปราการให้มาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของจังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้งและอาณาเขต :
     
อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
             ทิศเหนือ        ติดต่อกับ อำเภอโกสัมพีนคร และ อำเภอพรานกระต่าย
             ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ อำเภอไทรงาม
             ทิศใต้           ติดต่อกับ อำเภอคลองขลุง และ อำเภอขาณุวรลักษบุรี
             ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ อำเภอคลองลาน
      พื้นที่ :  1,348.536 ตารางกิโลเมตร
      ประชากร :  213,181 คน (พ.ศ.2557)
      ความหนาแน่น :  158.08 คน / ตารางกิโลเมตร
      การปกครองส่วนภูมิภาค : อำเภอเมืองกำแพงเพชร แบ่งพื้นที่การปกครองตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ออกเป็น 16 ตำบล 215 หมู่บ้าน

สถานที่ที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร
     
วัดสว่างอารมณ์ (Sawang Arom Temple)
      ตั้งอยู่ 126 บ้านนครชุม หมู่ที่ 6 ถนนทางหลวงชนบท กพ.1015 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพง เพชร จากตัวอำเภอเมืองไปยังเส้นทางสู่ ต.นครชุม ขับเลยสถานีขนส่งไปเล็กน้อย จะมีทางแยกขวาเข้าวัดสว่างอารมณ์ บริเวณปากคลองสวนหมาก ห่างจากบ้านห้าง ร.5 (บ้านพะโป้) ประมาณ 500เมตร   วัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบพม่าผสมไทย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยพ่อค้าชาวพม่า มีพื้นที่ 26 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับที่ดินของเอกชน ทำไร่ ทิศใต้ ติดต่อกับคลองสวนหมาก ทิศตะวันออก ติดต่อกับคลองแยกมาจากแม่น้ำปิง ทิศตะวันตก ติดต่อกับคลองแม่ค้อ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 4 ไร่  พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มทีคลองล้อมรอบบริเวณวัด อาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถ กว้าง 8.40 เมตร ยาว 14.64 เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน มีกำแพงวัดโดยรอบ ศาลาการเปรียญกว้าง 20.50 เมตร ยาว 48 เมตร สร้าง พ.ศ. 2526 สร้างด้วยคอนกรีต 2 ชั้น กุฎิสงฆ์ จำนวน 21 หลัง และอาคารเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับปูชนียวัตถุ พระประธานในอุโบสถ นอกจากนี้มีพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปหลวงพ่ออุโมงค์ และพระพุทธรูปหลายขนาดและปางต่างๆ ในวิหาร  ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร นามว่า “หลวงพ่ออุโมงค์” เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ จากการบอกเล่า พบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพง เพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นทางวัดยังมีเจดีย์ และวิหารที่ได้รับอิทธิพลจากทางเหนือตั้งอยู่ภายในวัด รวมถึงส่วนอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น ศาลาเก่าของวัดท่าหมัน ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อมหามงคลนิมิต พระพุทธรูปศิลปะพม่า และมณฑปแบบพม่าภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ
       บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป)(Phra Ruang Hot Spring (Bungsab ))
       ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร สามารถเดินทางไปได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก ถนนสายกำแพงเพชร - สุโขทัย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101) ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร (ช่วงระยะกม.ที่ 375-376) และแยกซ้ายมือไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือถนนสายบ้านหนองปลิงบ้านท่าไม้แดง โดยทางแยกเข้าบ่อน้ำพุห่าง จากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร และแยกขวามือไปอีก 5 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยประมาณ 15 ไร่เศษ ลักษณะทั่วไป เป็นน้ำพุร้อนผุดขึ้นมาจากใต้ดินจำนวน 5 จุด มีความร้อนประมาณ 40 - 65 องศาเซลเซียส เป็นที่โจษขานว่าสามารถนำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล จากการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุขปรากฏว่า ไม่มีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคอันตรายเกินมาตรฐานแต่อย่างใด   
       ในวโรกาส รัฐพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ในมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ได้มีการนำน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงไปร่วมพิธี ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ ถือเป็นการยืนยันความสำคัญของน้ำพุร้อนพระร่วงได้เป็นอย่างดี             
       การดำเนินการโครงการ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อแผนงานพัฒนาปรับปรุงบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ได้พิจารณาเห็นว่าบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงมีศักยภาพพอที่จะพัฒนา และปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดได้ กล่าวคือเป็นบ่อน้ำพุร้อนจากใต้ดินที่เชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ปวดเมื่อยโรคผิวหนัง ฯลฯ ได้ ลักษณะเป็นบ่อโคลนสีดำขนาดรัศมี 50 เซนติเมตร อยู่ด้วยกัน 3 จุด ในบริเวณที่ไม่ ห่างไกลกันนัก ซึ่งจากคุณสมบัติและความเชื่อดังกล่าวสามารถจะดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และ ก่อสร้างสิ่งอำนวยความ สะดวก เช่น สร้างบ่อน้ำห้องอาบน้ำ ห้องอบไอน้ำ ห้องน้ำ - ห้องสุขา ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้แก่ประชาชน และ นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ตลอดจนยังเป็นการเพิ่มรายได้ ให้แก่ประชาชน และท้องถิ่นบริเวณโดยรอบในการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกอาหาร และบริเวณต่างๆ แก่นักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรจึงได้อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินการโครงการปรับปรุงพัฒนาบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็น 2 ระยะ รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 14,477,177,70 บาท
       หอไตรวัดคูยาง (Ho Trai Wat Khu Yang)
       ตั้งอยู่ที่ถนนวิจิตร เขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หอไตรนี้สร้างไว้กลางน้ำและมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันปลวกแมลงสาบและหนู เข้าไปกัดทำลายพระไตรปิฎก หนังสือ และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
       บ้านห้าง ร.5 (Papo House)หรือ บ้านพะโป้ ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 1078 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร ใกล้วัดสว่างอารมณ์ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก บริเวณเชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เสารับชายคาและลูกกรงกันตก กลึงให้ดูอ่อนช้อย เป็นบ้านของพะโป้ คหบดีชาวพม่าผู้ศรัทธาพระศาสนา ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5  ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงปี พ.ศ.2418 ได้ถึงแก่กรรม ต่อมา ปี พ.ศ.2429 พะโป้ได้เริ่มทำการค้าไม้ โดยตั้งบ้านเรือนที่บริเวณปากคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นทำเลในการชักลากลำเลียงซุงไม้จากป่า ส่งลงไปยังเมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ ที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือตอนล่าง ด้วยความมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา พะโป้ และ พระยาตะก่า (พี่ชาย) ได้ร่วมกัน บูรณะองค์พระเจดีย์และยกยอดฉัตร วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ที่นครชุมแห่งนี้
       สิริจิตอุทยาน (Sirichit Park)
       เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย
       ตลาดกล้วยไข่ (Banana Market or Talat Kluai Khai)
       ตั้งอยู่ริมทางสายกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ตรงกิโลเมตรที่ 343 มีเพิงขายกล้วยไข่ทั้งดิบและสุก กล้วยฉาบ+สินค้าพื้นเมืองอื่น ๆ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=10

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=10&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,444

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 935

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,366

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,000

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 704

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,411

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,843

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 931

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,411

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,675