ผาสามเงา

ผาสามเงา

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้ชม 1,129

[-, -, ผาสามเงา]

ผาสามเงา

              จุดเด่นของผาสามเงาแห่งนี้คือการเป็นขุนเขาใหญ่ที่บริเวณเชิงเขาริมหน้าผานั้น จะมีการเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในตัวภูเขาเรียงต่อกัน 3 ช่อง อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองไว้ช่องละองค์ ที่สามารถมองเห็นได้แต่ไกลจากอำเภอสามเงา จนชาวบ้านพากันเรียกติดปากว่าผาสามเงา โดยคุณสามารถเดินขึ้นบันไดไม้เพื่อไปนมัสการพระพุทธรูปเหล่านี้ได้

ตำนานผาสามเงา

               มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ฤาษีวาสุเทพ และฤาษีสุกกทันต์ ได้สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เสร็จแล้ว ได้แต่งตั้งทูตไปทูลขอพระนางจามเทวี ราชธิดาของพระเจ้านพรัตน์ กษัตริย์แห่งกรุงละโว้ (ลพบุรี) ให้ขึ้นไปครองนครหริภุญชัย เมื่อพระเจ้านพรัตน์ทรงอนุญาต พระนางจามเทวี จึงเสด็จทางชลมารค พร้อมเหล่าเสวกามาตย์และข้าทาสบริวารมาตามแม่น้ำปิง กระทั่งถึงบริเวณผาสามเงาในปัจจุบัน ก็ได้เกิดอาเพศขึ้นอย่างฉับพลัน พายุโหมกระหน่ำอย่างแรง จนขบวนเรือไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ พระนางทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงทรงยกพระหัตถ์ขึ้นเสี่ยงสัตยาธิษฐานว่า หากมีบุญญาธิการที่จะได้ครองนครหริภุญชัยแล้ว ขอให้เหตุอาเพศต่างๆ จงอันตรธานในบัดดล สิ้นคำสัตยาธิษฐานก็พลันอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ดังสนั่น เหตุอาเพศทั้งปวงก็สงบอากาศค่อยๆ สว่างขึ้น พร้อมปรากฏเงาพระพุทธรูปตรงหน้าผาแห่งนี้จำนวน 3 เงา เมื่อพระนางได้ประจักษ์ดังนั้น จึงทรงโสมนัสปิติยินดียิ่งนัก และได้มีพระเสาวนีย์รับสั่งให้สร้างพระตามที่ได้ทอดพระเนตรศุภนิมิตมงคล ณ หน้าผาแห่งนี้ พร้อมทั้งทำการสมโภชเฉลิมฉลองถึง 3 คืน จากนั้นจึงเคลื่อนขบวนเสด็จมุ่งสู่นครหริภุญชัย

คำสำคัญ : ผาสามเงา

ที่มา : https://www.touronthai.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ผาสามเงา. สืบค้น 9 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=771&code_db=610002&code_type=TK003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=771&code_db=610002&code_type=TK003

Google search

Mic

ไร่ปฐมเพชร

ไร่ปฐมเพชร

กุหลาบ” ไม้ดอกสัญลักษณ์แห่งความรัก ซึ่งความนิยมในดอกไม้ชนิดนี้นับวันมีแต่จะมากขึ้น ทำให้บางช่วงเวลาดอกกุหลาบถึงกับขาดตลาด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลวาเลนไทน์  ในเมืองไทยแหล่งปลูกกุหลาบที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ อ.พบพระ จ.ตาก ซึ่งเริ่มปลูกกันมาตั้งแต่ปี 2536 ไร่กุหลาบที่นี่เป็นการย้ายฐานการเพาะปลูกจากพื้นที่ภาคกลาง อาทิ นครปฐม ราชบุรี ไปปลูกบนเขาที่ อ.พบพระ เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เย็นทำให้วงรอบของการปลูกกุหลาบที่จะออกช่อดอกสั้นลง เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น และยังให้ช่อดอกที่สมบูรณ์อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,121

สวนเทพพิทักษ์

สวนเทพพิทักษ์

อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สอด เส้นทางตาก-พบพระประมาณ 28 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการโดย คุณไพรัตน์ คุณบุปผา ไชยนอก เจ้าของสวนเริ่มปลูกและพัฒนาพันธุ์ทับทิมขึ้นมาใหม่

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 387

ผาสามเงา

ผาสามเงา

จุดเด่นของผาสามเงาแห่งนี้คือการเป็นขุนเขาใหญ่ที่บริเวณเชิงเขาริมหน้าผานั้น จะมีการเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในตัวภูเขาเรียงต่อกัน 3 ช่อง อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองไว้ช่องละองค์ ที่สามารถมองเห็นได้แต่ไกลจากอำเภอสามเงา จนชาวบ้านพากันเรียกติดปากว่าผาสามเงา โดยคุณสามารถเดินขึ้นบันไดไม้เพื่อไปนมัสการพระพุทธรูปเหล่านี้ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,129

ทะเลหมอก บ้านป่าหวาย

ทะเลหมอก บ้านป่าหวาย

สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับล่าสายหมอกแห่งใหม่ จุดชมวิว เลหมอก บ้านป่าหวาย หรือ ม่อนหมอกตะวัน สถานที่ท่องเที่ยว ที่เพิ่งมีความโด่งดังและเพิ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวกัน ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ที่ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ที่นี่สามารถตั้งแคมป์ปิ้ง กางเต็นท์นอน ทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อรอชมทะเลหมอกสวยยามเช้า ท่ามกลางธรรมชาติและบรรยากาศดีๆ ได้อีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 545

น้ำตกป่าหวาย

น้ำตกป่าหวาย

น้ำตกป่าหวาย มีลักษณะเป็นน้ำตกหินปูนที่อยู่ระหว่างธารน้ำลำห้วยหวาย มีจำนวนชั้นมากกว่า 100 ชั้น โดยมีน้ำไหลตลอดทั้งปี บริเวณน้ำตกเป็นสภาพป่าสมบูรณ์ มีไม้หลากหลายตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ รวมถึงมีไม้หวายขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก น้ำตกแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 ช่วงกิโลเมตรที่ 40 เข้าถึงหมู่บ้านป่าหวายเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร จะมีทางเข้าน้ำตกไปอีก 3 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 641

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ

ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนวางตัวไปตามแนวเหนือใต้ โดยมีพื้นที่ราบเล็กน้อยตามลำน้ำ พื้นที่ของอุทยานฯ ยังตั้งอยู่ในเขตลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี อากาศเย็นสบาย เกิดเป็นลำน้ำมากมาย เช่น ห้วยแม่ละเมา ห้วยอุ้มเปี้ยม ห้วยแม่สอด ห้วยแม่ดาว เป็นต้น สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในเขตอุทยานฯ จึงมีน้ำตกมากมายหลายแห่งนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,093

น้ำตกนางครวญ

น้ำตกนางครวญ

น้ำตกนางครวญเป็นน้ำตกขนาดกลางที่งดงามด้วยลักษณะของน้ำตกซึ่งไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กๆ ท่ามกลางป่าเขาอันร่มรื่น โดยมีต้นนำมาจากลำคลองริมท้องนาข้างทางนั่นเอง สำหรับการเล่นน้ำตกนั้น ส่วนใหญ่นิยมเล่นกันในชั้นที่ 1 ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า ส่วนน้ำตกชั้นที่ 2 ต้องปีนป่ายไปตามหินลาดชันลงไปยังเบื้องล่าง อย่างไรก็ตาม การไปชมน้ำตกสายนี้แตกต่างจากที่อื่น คือต้องเดินลงมาจากที่สูงตามทาง ที่อำเภอพบพระได้สร้างไว้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม เดิมน้ำตกแห่งนี้ชื่อว่าน้ำตกเพอะพะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นน้ำตกพบพระ และได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็นน้ำตกนางครวญในท้ายที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,456

น้ําตกธารารักษ์

น้ําตกธารารักษ์

น้ำตกธารารักษ์ (หรือน้ำตกผาชัน) อยู่ในเขตบ้านเจดีย์โคะ จากอำเภอแม่สอด ใช้ทางหลวงหมายเลข 1,090 ถึงกิโลเมตรที่ 26 มีทางลูกลังเข้า ไปถึงตัวน้ำตกประมาณ 700 เมตรบริเวณน้ำตกมีลานจอดรถ รถขนาดใหญ่สามารถเข้าจอดได้

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 3,272

บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก

บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก

“บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก” นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนน่าสนใจแห่งใหม่ของจังหวัดตาก บ่อน้ำร้อนแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยน้ำนัก ต.พบพระ อ.พบพระ ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 1,201