ผ้าทอสีธรรมชาติลายสก็อต

ผ้าทอสีธรรมชาติลายสก็อต

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้ชม 1,046

[16.4902641, 99.0829502, ผ้าทอสีธรรมชาติลายสก็อต]

        ภูมิปัญญาการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของชาวอีสานยาวนานมาแล้ว เดิมทีครัวเรือนในบ้านทุ่งกงซึ่งส่วนใหญ่จะอพยพมาจากภาคอีสานจะมีการทอผ้าเพื่อใช้เองในครอบครัว โดยจะใช้วัสดุและวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2543 มีหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังเจ้าก็ได้เข้ามาส่งเสริม ตลอดจนการสนับสนุนด้านวิชาการ การศึกษาดูงาน งบประมาณ การผลิตรวมทั้งการตลาด มีสมาชิกก่อตั้งครั้งแรก 8 คน ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 7 คน ใช้ชื่อกลุ่มตั้งแต่เริ่มแรกว่า กลุ่มรวมใจไทยตาก ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ หมอน ผ้าผืน (ลายสก็อต) โดยมีประธานคนแรกจนถึงปัจจุบัน คือ นางบุญเลื่อน เหมกุล

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
       1. ผลิตภัณฑ์ OTOP 4 ดาว
       2. มาตรฐาน มชช จากสำนักงานอุตสาหกรรม

ความสัมพันธ์กับชุมชน
       1. แรงงานที่ทอผ้าเป็นสมาชิกในกลุ่มซึ่งอยู่ในชุมชน
       2. ใช้วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ ในท้องถิ่น
       3. ทำให้ชุมชนมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น
       4. เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในชุมชน

กระบวนการผลิต
       วัตถุดิบและส่วนประกอบ
       ฝ้าย / เปลือกไม้ (ย้อมสี) / ใบไม้ (ย้อมสี) / ผลไม้ที่เป็นสมุนไพร (ย้อมสี)

ขั้นตอนการผลิต
       การย้อมสี : สีที่ใช้ย้อมได้มาจากเปลือกไม้ ใบไม้ ลูกผล แก่นไม้ ตลอดจนเมล็ดพืช 
       สัดส่วนการย้อม : การทำสีจาก เปลือกไม้ และแก่นไม้ ลูกผล ใช้จำนวน 3 กิโลกรัม ต่อฝ้าย 1 กิโลกรัม
       สี: การทำสีจากใบไม้ ใช้จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อฝ้าย 1 กิโลกรัม

วัตถุดิบในการย้อมสี
       1. สีเขียว ได้แก่ เปลือกเพกา เปลือกมะม่วง เปลือกต้นหัวแมลงวัน หัวแมลงวัน ใบสมอ ใบหูกวาง ใบตะไคร้
       2. สีเหลือง ได้แก่ ขมิ้น แก่นขนุน ใบขี้เหล็ก ใบกระถิน
       3. สีเทา ได้แก่ ลูกกระบก ลูกมะเหลื่อม ลูกโกทา ลูกคนพา
       4. สีแดง ได้แก่ เปลือกมะม่วง เปลือกประดู่ รากย่านางแดง ไม้ฝาง
       5. สีดำได้แก่ ลูกมะเกลือ รวมขี้โคลน

ขั้นตอนการย้อมสี
       1. นำวัตถุดิบของแต่ละสีตามจำนวนที่ต้องการ ล้างให้สะอาดแล้วใส่หม้อต้ม ใช้เวลา 2 ชั่วโมงโดยประมาณ
       2. เมื่อได้สีที่ต้มแล้ว ให้ตักวัตถุดิบที่ใช้ต้มออกให้หมด
       3. กรองน้ำสีที่ต้มแล้วด้วยผ้าขาวบาง ไม่ให้เหลือกากของวัตถุดิบ ต้มต่ออีก แต่ไม่ต้องให้เดือด ให้พอมีควันขาวเล็กน้อย
       4. นำฝ้ายที่เตรียมไว้เพื่อย้อมสี ลงต้ม พอประมาณไม่ให้ฝ้ายแน่นเกินไป ต้มประมาณ 10 นาที แล้วกลับด้าน ต้มต่ออีก 10 นาที หรือจนสีติดดี
       5. นำฝ้ายที่ต้มออกจากหม้อ พักเสด็ดน้ำ ใส่ถุงหมักไว้ 1 คืน นำมาล้างด้วยผงซักฟอก 3

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
       การย้อม : น้ำสีที่จะย้อมต้องตั้งไว้ให้พออุ่นๆ (ในขั้นตอนการจุ่มฝ้าย) 
       จุ่มฝ้ายลงไปประมาณ 10 นาที แล้วให้กลับด้าน ทุกๆ 10 นาที เพื่อให้สีเสมอกัน ประมาณ 4 ครั้ง

ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ กลุ่มร่วมใจไทยตาก ติดต่อ นางบุญเลื่อน เหมกุลนางบุญเลื่อน เหมกุล
ที่อยู่ 513 บ้านทุ่งกง หมู่ที่ 1 ตำบลประดาง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก 

 

คำสำคัญ : ผ้าทอธรรมชาติ

ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/8082/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%95

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ผ้าทอสีธรรมชาติลายสก็อต. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=765&code_db=DB0010&code_type=0032

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=765&code_db=610007&code_type=TK004

Google search

Mic

ผ้าทอสีธรรมชาติลายสก็อต

ผ้าทอสีธรรมชาติลายสก็อต

ภูมิปัญญาการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของชาวอีสานยาวนานมาแล้ว เดิมทีครัวเรือนในบ้านทุ่งกงซึ่งส่วนใหญ่จะอพยพมาจากภาคอีสานจะมีการทอผ้าเพื่อใช้เองในครอบครัว โดยจะใช้วัสดุและวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2543 มีหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่ม ต่อมาสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังเจ้าก็ได้เข้ามาส่งเสริม ตลอดจนการสนับสนุนด้านวิชาการ การศึกษาดูงาน งบประมาณ การผลิตรวมทั้งการตลาด มีสมาชิกก่อตั้งครั้งแรก 8 คน ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 7 คน ใช้ชื่อกลุ่มตั้งแต่เริ่มแรกว่า กลุ่มรวมใจไทยตาก ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ หมอน ผ้าผืน (ลายสก็อต) โดยมีประธานคนแรกจนถึงปัจจุบัน คือ นางบุญเลื่อน เหมกุล

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,046