ประวัติอำเภออุ้งผาง

ประวัติอำเภออุ้งผาง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 2,509

[15.7861371, 98.2836831, ประวัติอำเภออุ้งผาง]

คำขวัญจังหวัด            บ้านเมืองน่าอยู่ ประตูการค้าชายแดน ชุมชนเข้นแข็ง ขจัดความยากไร้ ใผ่ใจทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการทองเที่ยว

คำขวัญอำเภอ  แมกไม้เขียวสด ดอยหัวหมดชี่นชู ทีลอซูงามล้ำ ตระหง่านง้ำลอยฟ้า ล่องธาราชมไพร ชายแดนไทยอุ้มผาง

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ      หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวัฒนะ 3 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

หมายเลขโทรศัพท์       055-561082, 055-561536

หมายเลขโทรสาร         055-561082

ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา 

ในอดีต อุ้มผางเดิมทีเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ต่อมาก็มีคนไทยจากภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ ได้อพยพหาที่ทำกินใหม่มาบุกเบิกป่าอุ้มผาง เป็นที่อยู่อาศัย และเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๒ ได้ถูกกำหนดให้เป็นเมืองหน้าด่านชายแดนตะวันตก ขึ้นตรงกับจังหวัดอุทัยธานีและเป็นจุดตรวจตราชาวพม่าที่เดินทาง เข้ามาค้าขายในประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจเอกสารเดินทาง เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขารกทึบ การเดินทางค่อนข้างลำบากและเอกสารฉีกขาดได้ง่าย ดังนั้นการเก็บเอกสารจึงม้วนเก็บในกระบอกไม้ไผ่และมีฝาจุกปิดมิดชิด เมื่อเดินทางมาถึงด่านตรวจก็จะเปิดกระบอกไม้ไผ่เพื่อแสดงเอกสาร ชาวกะเหรี่ยงจะเรียกเอกสารนี้ว่า “อุ้มผะ” ซึ่งต่อมาได้ออกเสียงเพี้ยนมาเป็น “อุ้มผาง” จึงได้กลายมาเป็นชื่ออำเภอในปัจจุบันนี้  พ.ศ.๒๔๖๙ ทางการได้ยุบอำเภอแม่กลองเป็น กิ่งอำเภอแม่กลองและโอนการปกครองจากจังหวัดอุทัยธานีให้ไปขึ้นกับจังหวัดกำแพงเพชร และในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บ้านอุ้มผาง พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภออุ้มผาง ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๐๒ ทางการได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภออุ้มผางและให้ขึ้นกับจังหวัดตาก

พ.ศ.๒๕๑๔ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้มีการสู้รบกันบ้างระหว่าง เจ้าหน้าที่ของรัฐคือตำรวจตระเวนชายแดน น.ป.พ. และ อ.ส. ด้วยการใช้นโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ จึงนำความสงบสุขมาสู่ชาวอุ้มผางและมวลชนที่เข้ามามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยประมาณสองพันกว่าคนในช่วง พ.ศ.๒๕๒๗

จากการที่อุ้มผางเป็นเมืองปิดมาช้านาน ทางการได้ทำการตัดถนนจาก อำเภอแม่สอดสู่อำเภออุ้มผาง ลัดเลาะตาม ไหล่เขาและสันเขา ๑๖๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่มาของ ถนนสายลอยฟ้า ระยะทางก่อสร้างกว่า ๑๐ ปี เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ เรื่องราวในอดีตก็ปิดตัวเองลง ประตูแห่งเมืองท่องเที่ยวก็ได้เปิดออกเมื่อนายแพทย์บรรลือ  กองไชย ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง ท่านได้ชักชวนให้นิตยสาร การท่องเที่ยวเข้ามาและการค้นพบของน้ำตกอันยิ่งใหญ่ กลางผืนป่าและธรรมชาติอันสวยงามของต้นน้ำแม่กลอง ในปัจจุบันคนอุ้มผางไม่น้อยที่หันมาทำธุรกิจท่องเที่ยว เริ่มจากการใช้แพไม้ไผ่ล่องแก่งและพัฒนามาเป็นเรือยาง โดยได้รับคำแนะนำในการท่องเที่ยวจากภาครัฐ ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ECO TOURISM คนอุ้มผางแท้ๆ ในปัจจุบันจึงเป็นคนรุ่นที่ ๓ และ ๔ ตามลำดับ

ส่วนที่มาของชื่อได้รับการอภิปรายเพิ่มเติมจาก ประชา แม่จัน ในหนังสือ “อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ” ว่าที่มาของชื่อ “อุ้มผาง” ของทางราชการกล่าวว่ามาจากคำว่า “อุ้มผะ” ที่เป็นคำเรียกกระบอก ไม้ไผ่สำหรับเก็บเอกสารเดินทางในภาษาปกากะญอ แล้วกร่อนมาเป็นคำว่า “อุ้มผาง” ในขณะที่ชาวปกากะญอและโพล่วบอกว่าพวกเขาได้อาศัยอยู่ที่นี่มาช้านาน มีตำนานเล่าว่าบ้านลั่งคุที่เป็นศูนย์กลางของผู้นับถือ “เพอะเจะ” หรือฤาษีในภาษาไทย ตั้งขึ้นในวันเดียวกับวันตั้งเมืองกรุงเทพฯ ดังนั้นพวกเขาต้องอาศัยมานานกว่า ๒๐๐ ปี

ตำนานที่น่าสนใจ ของพื้นที่คือ เคยเป็นเส้นทางถอยทัพของกษัตริย์มอญลงมาทางใต้      โดยการเดินผ่านบ้านเปิ่งเคลิ่ง มาตามห้วยเกริงเปอตีจนบรรจบแม่น้ำแม่จัน แล้วตามแม่น้ำไปถึงสบแม่น้ำแม่จัน (ปัจจุบันคือบ้านแม่จันทะ) จึงเดินตัดข้ามเขาก่องก๊องข้ามไปยังสังขละบุรี ในช่วงนี้พระอุปราชมอญ ได้สิ้นพระชนม์บนยอดเขานี้ บนเขามีต้นชงโคขนาดใหญ่หลายต้นและเป็นจุดชมวิวที่มองเห็นบริเวณสบแม่จันกับแม่กลอง  “แม่จัน” มาจากภาษามอญ “แม๋จัน” เมะ แปลว่า วังน้ำ จัน แปลว่า แปด และ “แม่กลอง” มาจากภาษามอญเช่นกัน “แม๋กอง” กอง แปลว่า ร้อย ดังนั้นคำว่า “กองจัน” แปลว่า ร้อยแปด และ “รูตกองจัน” หมายถึงพระพุทธรูป ๑๐๘ องค์ ในตำบลแม่จันมีชื่อภาษามอญอยู่หลายแห่ง เช่น เปิ่งเคลิ่งมาจาก เปิงเกลิง กรูโบมาจากกลึงโบ (เป็นชื่อหวายชนิดหนึ่ง)

ในอดีตก่อนที่ถนนสายแม่สอด – อุ้มผาง สร้างเสร็จประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ ชาวปกากะญอและพื้นที่แถบนี้อาจจะนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า ถ้าหากพิจารณาถึงความสัมพันธ์กับศูนย์อำนาจชาว ปกากะญอ ติดต่อค้าขายกับชาวปกากะญอในพม่า พวกเขาไปซื้อเกลือ ข้าวของเครื่องใช้ และนำวัวควายไปขายที่ “เจด่ง”  ในเขตพม่าด้วยเส้นทางผ่านบ้านเปิ่งเคลิ่ง พวกเขารู้จักหมู่บ้านในเขตพม่ามากกว่าหมู่บ้านเขตไทยของพื้นที่อื่น เช่น พบพระ หรือแม่สอด  ตามความสัมพันธ์นี้ทำให้ที่มาของชื่ออุ้มผางตามคำอธิบายของทางการไทยน่าจะมีข้อจำกัดเนื่องจากพวกเขาแถบนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงเขตไทย การจัดหาสิ่งของเครื่องใช้มาจากแหล่งในพม่าที่เดินไปง่ายและปลอดภัยมากกว่า

 

2.เนื้อที่/พื้นที่   ประมาณ 4325.383 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป    ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว

 ข้อมูลการปกครอง     

1.ตำบล.......6.... แห่ง   3.เทศบาล..3.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....36.... แห่ง 4.อบต........2 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

1.อาชีพหลัก ได้แก่      เกษตรกรรม

2.อาชีพเสริม ได้แก่     การท่องเที่ยว,ค้าขาย

3.จำนวนธนาคาร  มี 2 แห่ง ได้แก่

ธกส.

ออมสิน

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า        มี 1 แห่ง

  ด้านสังคม

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่            รร.อุ้มผางวิทยาคม  โทร. 055-561005

รร.บ้านกล้อทอ,บ้านปรอผาโด้และบ้านหนองหลวง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ

1.น้ำตกทีลอซู

2.น้ำตกที่ลอเล

3.ดอยหัวหมด 

ด้านประชากร

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น        รวม 29,156  คน

2.จำนวนประชากรชาย            รวม 15,251  คน

3.จำนวนประชากรหญิง          รวม 13,905 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร           - คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม        

1.ทางบก        

- รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1090

- สถานีขนส่ง

2.ทางน้ำ         

- ท่าเรือขนส่งโดยสาร 

- ท่าแพขนานยนต์        

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่

1.ข้าวโพด

2.ถั่วลิสง

3.พริก

4.ถัวเขียว

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

(แม่น้ำ/บึง/คลอง)         แม่น้ำแม่กลอง

คำสำคัญ : ประวัติอำเภออุ้งผาง

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภออุ้งผาง. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=686&code_db=DB0010&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=686&code_db=610001&code_type=TK002

Google search

Mic

ประวัติอำเภออุ้งผาง

ประวัติอำเภออุ้งผาง

อำเภออุ้มผาง สันนิษฐานว่าเดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวกะเหรี่ยง เมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว ต่อมาได้มีชาวไทยภาคเหนืออพยพลงมาหาที่ทำกินทางใต้เขตอำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด ในปัจจุบันบางส่วนก็ล่วงเลยลงมาทางใต้จนถึงอำเภออุ้มผาง เมื่อมามากเข้าก็กลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเป็นเมืองชายแดน มีฐานะเป็นบ้านแม่กลองเก่า หมู่ที่ 4 ตำบลอุ้มผาง

               ได้มีสภาพเป็นอำเภอตามการปกครองในรูปของเทศาภิบาลเมื่อปี พ.ศ. 2441 เรียกว่า “อำเภอแม่กลอง” ขึ้นอยู่กับจังหวัดอุทัยธานี ครั้นปี พ.ศ. 2449 ได้โอนไปขึ้นอยู่กับจังหวัดกำแพงเพชร และเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภออุ้มผาง” จนถึงปี พ.ศ. 2469 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบอำเภอลงเป็น กิ่งอำเภออุ้มผาง และให้ไปขึ้นกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งให้ย้ายที่ว่าการอำเภอ ไปสร้างใหม่เป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอที่บ้านอุ้มผาง หมู่ที่ 1 ตำบลอุ้มผาง ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,509