ลายฉุ่ยข่อล่อ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 304
[16.121008, 99.3294759, ลายฉุ่ยข่อล่อ]
ชาวปากอเญอ มีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ลักษณะลายผ้าที่ผลิตกันจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ลายผ้าเป็นไปตามความอำเภอใจของผู้ทอ ไม่มีเอกลักษณ์ มาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้น หญิงสาวชาวกะเหรี่ยงจะใส่ชุดยาวสีขาว ส่วนชายหนุ่มจะใส่สีแดงสด ส่วนหญิงชาวปากอเญอที่แต่งงานแล้วจะสวมใส่เสื้อสีดำและมีลวดลายปักที่หลากหลายผสมผสานกันในส่วนชายเสื้อตั้งแต่ใต้อกคลุมถึงสะโพก ผ้าถุงสีแดง ผ้าทอกะเหรี่ยง จะทอด้วยกี่เอว ลวดลายดั้งเดิมจะมีสีสันที่สดใสมีทั้งการทอลายในตัวผืนผ้า และการปักผ้า ผ้าบางผืนจะมีการเย็บลูกเดือยเป็นลวดลายต่าง ๆ ปัจจุบันการให้สีสันลายผ้าจะมีการทอหรือปักสีอื่น ๆเพิ่มขึ้นอาทิเช่น สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง และสีชมพู
แหล่งที่มา http://usaza-diiza.exteen.com/page-6
คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า
ที่มา : ตลาดม้ง หมู่ 16
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวจารุภา เฟื่องดี
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=479&code_db=DB0009&code_type=J004
ลายปักชุดชาวเขา
ลายดาว
ลายดาวเป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 211
ลายขิด
ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 249
เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์
ปัจจุบัน กลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยาและตองูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกาย ไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 497
ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)
ฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิเป็นภาษาชนเผ่าลีซอ ในภาษาไทยอาจหมายถึง หน้าท้องงูเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รูปร่างของลวดลายหน้าท้องงูเขียวนี้มีลักษณะดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยม เย็บปะติดซ้อนต่อกันสองชั้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 220
ชุดม้ง
ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 609
ลายนิ่แมะ (มัดย้อม)
นิ่แมะ (มัดย้อม) มีความสำคัญในอดีตพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้สั่งไว้ว่า ลายนิ่แมะอย่าทำหาย เพราะจะต้องใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงานของกะเหรี่ยง
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 136
ลายตะต่อกิ๊
ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 273
ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)
ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 178
ลายทูต๊ะ
"ในอดีตการปักผ้าม้งบริเวณต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทำเป็นทุกคน และต้องทำใส่เอง ถ้าใครทำไม่เป็นก็จะไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทุกปีผู้หญิงม้งจะปักเสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ชุดไว้ใส่ครั้งแรกในงานสำคัญหรือในช่วงปีใหม่ก็จะใส่ชุดใหม่กัน บางปีก็จะได้แค่ชุดเดียว และปักกับสามี ลูกชาย ด้วยเพราะผู้ชายจะไม่ปักผ้า แต่ถ้าเป็นชาวม้งภาคกลางหรือบางกลุ่มจะปักทั้งผู้ชายและผู้หญิง"
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 363
เสื้อลวดลายสลับสี
เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 214